สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 20 สค. 66
ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.ตราด (94) จ.สตูล (90) จ.นครราชสีมา (46) จ.กาญจนบุรี (43) จ.เชียงราย (40) และ จ.สุพรรณบุรี (22)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 44,022 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,315 ล้าน ลบ.ม. (55%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 15/2566 ในช่วงวันที่ 20-25 ส.ค. 66 ดังนี้ ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ น่าน และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคายบึงกาฬ นครพนม สกลนคร อุดรธานี อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล ตรัง และสุราษฎร์ธานี
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการน้ำบาดาลเพื่อประชาชน โดยประชาชนมีส่วนร่วม (CSR) ในพื้นที่ ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน มีแหล่งน้ำที่มีความมั่นคง สามารถใช้ประโยชน์จากน้ำบาดาลได้อย่างคุ้มค่า
สทนช. ลงพื้นที่ติดตามการจัดทำผังน้ำลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน แก้ปัญหาท่วม-แล้งอย่างเป็นระบบนายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ติดตามการก่อสร้างประตูระบายน้ำโพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร โดยกรมชลประทานได้จัดทำแผนพัฒนาลุ่มน้ำยมตอนล่างในพื้นที่ จ.พิษณุโลก และ จ.พิจิตร โดยการก่อสร้างประตูระบายน้ำในลำน้ำยม 4 แห่ง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ในลำน้ำ เพื่อใช้ในการเพาะปลูก อุปโภคบริโภค บรรเทาความเสียหายจากอุทกภัย ได้แก่ ประตูระบายน้ำท่านางงาม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
ประตูระบายน้ำท่าแห อ.สามง่าม จ.พิจิตร ประตูระบายน้ำบ้านวังจิก และประตูระบายน้ำโพธิ์ประทับช้าง อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตรนอกจากนี้ ได้ติดตามความก้าวหน้าแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด 6 ด้าน เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนได้ประมาณ 67 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) มีพื้นที่รับประโยชน์ 85,000 ไร่ ช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่ได้ โดยการรับน้ำหลากจากแม่น้ำน่าน ลดความเสียหายจากน้ำท่วมได้มากถึง 21,000 ไร่ทั้งนี้ สทนช. ได้เสนอแนะให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่เกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ป้องกันการพัฒนาที่อาจก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนทางน้ำหรือกระแสน้ำ หรือกีดขวางการไหลของน้ำ เว้นแต่การใช้ประโยชน์ที่ดินที่กำหนดไว้เป็นเขตชุมชน เขตอุตสาหกรรม และเขตพื้นที่ป้องกันน้ำท่วมตามผังเมืองรวม
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 20 สิงหาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 15/2566 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2566 แจ้งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ด้วย กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ในช่วงวันที่ 20 – 25 สิงหาคม 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย (อำเภอเมืองเชียงราย
ขุนตาล และแม่สรวย) จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอฝาง และแม่อาย) จังหวัดน่าน (อำเภอนาหมื่น และเวียงสา) จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอเขาค้อ) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย เฝ้าไร่ โพนพิสัย และรัตนวาปี) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอบุ่งคล้า) จังหวัดนครพนม (อำเภอ ท่าอุเทน และศรีสงคราม) จังหวัดสกลนคร (อำเภอพรรณานิคม สว่างแดนดิน และอากาศอำนวย) จังหวัดอุดรธานี (อำเภอบ้านดุง) จังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอเมืองอำนาจเจริญ และหัวตะพาน) จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอเมืองสุรินทร์) จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอเมืองศรีสะเกษ) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอเขื่องใน) ภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี แก่งหางแมว และขลุง) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด เขาสมิง บ่อไร่ คลองใหญ่ และเกาะช้าง) ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง และกะเปอร์) จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง ทับปุด และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตูล และละงู) จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง ปะเหลียน และวังวิเศษ) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอพนม และบ้านตาขุน)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบและบำรุงรักษาสถานีเตือนภัยน้ำท่วม-ดินถล่ม
(Early Warning) จำนวน 6 สถานี ได้แก่ 1.สถานีบ้านเกษนาค้อ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ 2.สถานีบ้านสันติสุข อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ 3.สถานีบ้านกลาง อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ 4.สถานีบ้านไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ 5.สถานีบ้านศรีเมืองใหม่ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี 6.สถานีบ้านคำแสนสุข อ.บุณฑริก จ.อุบลนราชธานี เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติบรรยายเทคนิคการเขียนแผนงานโครงการด้าน การบริหารจัดการน้ำและการใช้งานระบบ Thai Water Plan (TWP) ให้ได้รับการพิจารณา จัดโดยองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดน่าน ในโครงการอบรมบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านข้อมูลทรัพยากรน้ำจังหวัดน่าน ณ น่านกรีนเลควิว รีสอร์ท จังหวัดน่าน เพื่อรวบรวมข้อมูล ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ ในระดับพื้นที่ มาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นต่าง ๆ มาให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการขออนุญาตการใช้พื้นที่อีกด้วย