สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 2 เม.ย. 66
ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.พังงา (68 มม.) จ.นครพนม (46 มม.) และจ.เพชรบูรณ์ (43 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 26,628 ล้าน ลบ.ม. (46%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 21,964 ล้าน ลบ.ม. (46%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. ติดตามหน่วยงานดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ประจวบ-เพชรบุรี
ตามที่พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และจ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 66 กอนช. ได้ติดตามกรมชลประทานดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ ดังนี้
โครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี (2567-2571) ระบายน้ำได้สูงสุด 350 ลบ.ม./วินาที และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายเขื่อนแก่งกระจานในอัตรา 103 ลบ.ม./วินาที
โครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชบุรี (2565-2568) สามารถเก็บกักน้ำเพิ่มขึ้นจากเดิม 53.06 ล้าน ลบ.ม. /ปี
โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสาลิกา จ.เพชรบุรี (2567) ความจุ 8.82 ล้าน ลบ.ม. เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับการอุปโภค-บริโภคให้แก่ประชาชน 1,131 คน และน้ำเพื่อการเกษตรช่วงฤดูฝน 1,800 ไร่ และฤดูแล้ง 1,200 ไร่
โครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำเขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ (2566-2568) หากดำเนินการแล้วเสร็จสามารถระบายน้ำจากเดิมในอัตรา 3 ลบ.ม./วินาที เป็น 59.34 ลบ.ม./วินาที
โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอบางสะพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ประจวบคีรีขันธ์ (2560-2572)
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 2 เมษายน 2566 ดังนี้
- ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กองบัญชาการกองทัพไทย จัดกำลังพลจิตอาสาบรรเทาสาธารณภัย พร้อมด้วยรถบรรทุกน้ำขนาด 6,000 ลิตร ให้กับบ้านเรือนประชาชน ในพื้นที่ตำบลทรัพย์อนันต์ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนในพื้นที่ ได้มีน้ำอุปโภค บริโภค เพียงพอในฤดูแล้ง - สภาพอากาศ
ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมภาคเหนือและภาคกลางตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดบางแห่งในภาคเหนือ และภาคกลาง ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง - แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 26,628 ล้าน ลบ.ม. (46%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่
38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 21,908 ล้าน ลบ.ม. (46%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,967 ล้าน ลบ.ม. (58%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,753 ล้าน ลบ.ม. (35%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ)
ปริมาณน้ำใช้การ 8,218 ล้าน ลบ.ม. (45%) - การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 66 กรุงเทพมหานคร จัดพิธีลงนามในบันทึก(MOU)ว่าด้วยความร่วมมือการเพิ่มประสิทธิภาพของการลดความเสี่ยงในการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ ระหว่างกรุงเทพมหานครและเวเธอร์นิวส์ อิงค์ ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า โดยมีประเด็นในเรื่องปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น ปัญหาน้ำท่วมขัง ทั้งนี้ได้ดำเนินการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาขีดความสามารถ
โดยการเข้าร่วมการวิจัยและพัฒนาร่วมกันในการดำเนินการระบบการคาดการณ์ เพิ่มประสิทธิภาพในการสังเกตการณ์ทางอุตุนิยมวิทยาผ่านการติดตั้งเครือข่ายการสังเกตการณ์ที่มีความหนาแน่นสูง การแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่สังเกตได้และจัดทำขึ้นโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ข้อมูลทั้งสองส่วนสามารถเชื่อมโยงและเกิดการประมวลผลที่มีความแม่นยำ มีประสิทธิภาพ โดยจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการแจ้งเตือนสถานการณ์ฝนให้ประชาชนทราบล่วงหน้า และสามารถสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถเตรียมพร้อมภารกิจในการดูแลพื้นที่เสี่ยงภัยได้อย่างทันท่วงที เพื่อลดผลกระทบและความเดือดร้อนที่อาจเกิดขึ้นต่อประชาชนชาวกรุงเทพฯ