เช็กหัวแถวปาร์ตี้ลิสต์พรรคใหญ่ ชิงเก้าอี้ ส.ส.100 ที่นั่ง
ปี่กลองการเมืองดังกระหึ่ม โหมโรงการเลือกตั้ง 66 นับถอยหลังระเบิดศึกในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566
พรรคการเมืองขนาดใหญ่-กลาง ทยอยเปิดรายชื่อแม่ทัพ-ขุนพล นักการเมืองขาใหญ่-บ้านใหญ่-นายทุนพรรค พาเหรดติดโผเป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. 400 เขต – ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 100 คน
กติกาเลือกตั้ง 66 เปลี่ยนไปจากบัตรเลือกตั้งใบเดียวเป็น “บัตรสองใบ” หารด้วย 100 ทุกคะแนนเสียงใน “บัตรใบที่สอง” จึงมีความหมาย เพราะทุก 3.5 แสนคะแนน จะแปลเป็นจำนวน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ได้ 1 คน
ทุกพรรคการเมืองจึงพิถีพิถันในการจัดวางลำดับ 100 คนในระบบปาร์ตี้ลิสต์ให้น่าดึงดึง โดยเฉพาะ 10 อันดับแรก-พื้นที่เซฟโซน ที่คัดหัวกะทิระดับบิ๊กเนม-บ้านใหญ่-นายทุน รวมถึง “มือเศรษฐกิจ” มาประดับกิ่งก้านพรรค
พรรคพลังประชารัฐ หัวแถว ไม่มีไม่รู้ คือ-ลำดับ 1 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค ลำดับ 2 นายสันติ พร้อมพัฒน์ เลขาธิการพรรค ลำดับ 3 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ท่อทุนกลุ่มพลังงานของพรรค
ลำดับ 4 นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ ทายาทบ้านใหญ่รัตนเศรษฐ ลำดับ 5 นายอุตตม สาวนายน อดีตหัวหน้าพรรค ลำดับ 6 นายไพบูลย์ นิติตะวัน มือกฎหมายประจำบ้านป่ารอยต่อ
ลำดับ 7 นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ แกนเศรษฐกิจ ลำดับ 8 น.ส.พิม อัศวเหม โควตากลุ่มปากน้ำ-สมุทรปราการก้าวหน้า แห่งตระกูลอัศวเหม ลำดับ 9 นายวิรัช รัตนเศรษฐ บ้านใหญ่ตัวพ่อ และลำดับ 10 นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตเลขาธิการพรรค
การเลือกตั้ง 62 พรรคพลังประชารัฐได้คะแนนทั้งหมด 8 ล้านคะแนน หากอ้างอิงฐานคะแนนเดิมจะได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิตส์ประมาณ 20 ที่นั่ง
พรรครวมไทยสร้างชาติ ลำดับ 1 และลำดับ 2 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรค และนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรค
ส่วนลำดับอื่นที่เบียดกันมา-จัดเป็นดี 1 ประเภท 1 องครักษ์พิทักษ์-ลูกน้องพล.อ.ประยุทธ์ นายธนกร วังบุญคงชนะ แรมโบ้อีสาน เสกสกล อัตถาวงศ์ อนุชา บูรพชัยศรี พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อดีตผู้ว่ากทม.
กลุ่มรัฐมนตรีสายตรงทำเนียบ-กลุ่มทุนใหญ่ นายสุชาติ ชมกลิ่น นายชัชวาลล์ คงอุดม นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ม.ล.ชโยทิต กฤดากร นางพิชชารัตน์ เลาหพงษ์ชนะ คนที่สนับสนุนพรรคในทุกมิติ
กลุ่มอดีตพรรคประชาธิปัตย์-เพื่อนพีระพันธุ์ นายจุติ ไกรฤกษ์และ แม่เลี้ยงติ๊ก-นางศิริวรรณ ปราศจากศรัตรู นายชุมพล กาญจนะ นายวิทธยา แก้วภราดัย นายสามารถ มะลูลีม นายดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง นายเกรียงยศ สุดลาภา อดีตรองผู้ว่ากทม. นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ อดีต ส.ว.ราชบุรี นายปรากรมศักดิ์ ชุณหะวัณ พ.อ.เฟื่องวิชชุ์ อนิรุธเทวา นายสมหวัง อัสราษี นายสมัย เจริญช่าง
พรรครวมไทยสร้างชาติ แม้เป็นพรรคน้องใหม่ ลงเลือกตั้ง 66 ครั้งแรก แต่ได้คะแนนความนิยมจาก “แฟนคลับลุงตู่” คาดว่าประมาณ 3 ล้านคะแนน คาดว่าจะได้ประมาณ 8-10 ที่นั่ง
พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเก่าแก่ 76 ปี ย่าง 77 ปี แม้จะมีแรงกระเพื่อมจาก “ส.ส.หญิง” แต่ลำดับในพื้นที่เซฟโซนไม่ขยับ ลำดับ 1 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรค ลำดับ 2 นายชวน หลีกภัยและลำดับ 3 นายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรค
ลำดับ 4 นายนิพนธ์ บุญญามณี ผู้อำนวยการเลือกตั้งของพรรค ลำดับ 5 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช นายทุนของพรรค ลำดับ 6นายนราพัฒน์ แก้วทอง รองหัวหน้าพรรค รับผิดชอบภาคเหนือ ลำดับ 7 นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค รับผิดชอบ กทม.
ส่วนลำดับอื่นที่ยังมีแรงเหวี่ยง-แรงวิ่งอยู่ เช่น “ดร.เอ้” สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อดีตผู้สมัครผู้ว่ากทม. และ “มาดามเดียร์” น.ส.วทันยา บุนนาค หัวหน้าทีม กทม. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ประธานคณะกรรมการนโยบายพรรค นายเกียรติ สิทธิอมร และนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ทีมเศรษฐกิจ
การเลือกตั้ง 62 พรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนน 3.9 ล้านคะแนน จะได้ประมาณ 10-12 ที่นั่ง
พรรคภูมิใจไทย เป็นใครไปไม่ได้ ลำดับ 1 เสี่ยหนู-นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค และ ลำดับ 2 เสี่ยโอ๋-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เลขาธิการพรรค น้องชายครูใหญ่-เนวิน ชิดชอบ
ลำดับ 3 นายชลัฐ รัชกิจประการ ลูกชายนางนาทีและนายพัฒน์ รัชกิจประการและ ลำดับ 4 นายทรงศักดิ์ ทองศรี นายทุนพรรค และลำดับ 5 น.ส.ชนม์ทิดา อัศวเหม “น้องเพลง” ลูกสาวสุดที่รักของ 2 ตระกูลการเมืองอัศวเหมและชาญวีรกูล
ขณะที่ “ตัวตึง” ที่คาดว่าจะติดลำดับ 1- ลำดับ 20 อาทิ บี-พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ นายศุภชัย ใจสมุทร นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายสุพล ฟองงาม นายองอาจ ปัญญาชาติรักษ์-ลูกชาย “ไอ้ก้านยาว” และนายสามารถ แก้วมีชัย
การเลือกตั้ง 62 พรรคภูมิใจไทยได้ 3.7 ล้านคะแนน คาดว่าจะได้ประมาณ 10-12 ที่นั่ง
พรรคเพื่อไทย แน่นอนว่า ปาร์ตี้ลิสต์ลำดับต้น ๆ คือ ส.ส.สายคนแดนไกล-บ้านใหญ่จันทร์ส่องหล้า และนักการเมืองขาใหญ่แถวหน้าฝ่ายประชาธิปไตย-แกนนำคนเสื้อแดงฮาร์ดคอร์ ไล่ตั้งแต่ นายเกรียง กัลป์ตินันท์ สายตรงดูไบ นายภูมิธรรม เวชยชัย
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย นายก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำเสื้อแดง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง นายชูศักดิ์ ศิรินิล นายชัยเกษม นิติสิริ นายนพดล ปัทมะ นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด เจ้าแม่กทม.
นายสุชาติ ตันเจริญ บ้านใหญ่ริมน้ำ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจและนายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มสามมิตร นายสนธยา คุณปลื้ม บ้านใหญ่ชลบุรี นายสุธรรม แสงประทุม นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อดีต ส.ส.กลุ่ม 16
การเลือกตั้ง 62 พรรคเพื่อไทยได้คะแนน 7.8 ล้านคะแนน คาดว่าจะได้ 20-25 ที่นั่ง
พรรคก้าวไกล ลำดับ 1 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค ลำดับ 2 นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรค ส่วนแกนนำ-ตัวเรียกคะแนนมากันครบครัน ตั้งแต่นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล “ไอติม” พริษฐ์ วัชรสินธุ หลานชายนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โรม-รังสิมันต์ โรม หมอโย-วาโย อัศวรุ่งเรือง วิโรจน์ ลักขณาอดิศร อดีตผู้สมัครผู้ว่ากทม. ไหม-ศิริกัญญา ตันสกุล หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ กรุณพล เทียนสุวรรณ
การเลือกตั้ง 62 พรรคก้าวไกลหรือพรรคอนาคตใหม่เดิม ได้คะแนน 6.3 ล้านคะแนน คาดว่าจะได้ 18-20 ที่นั่ง ซึ่งได้อานิสงส์จากการที่พรรคไทยรักษาชาติถูก
แต่เลือกตั้งครั้งนี้ประกอบกับ “กติกาใหม่” ไม่เอื้อให้กับพรรคขนาดกลาง-เล็ก
นายปิยบุตร แสงกนกกุล อดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ – ผู้นำจิตวิญญาณของพรรคก้าวไกลเคยออกมาวิเคราะห์พรรคก้าวไกลจะได้เก้าอี้ ส.ส.ไม่เกิน 30 ที่นั่ง