สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 30 มิ.ย. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และสภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 1.–.2 ก.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนช่วงวันที่ 3 – 4. ก.ค. 67 มีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 50% ของความจุเก็บกัก (39,896 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 27% (15,733 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 5 แห่งภาคเหนือ : ภูมิพลและสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ ภาคกลาง : กระเสียว ภาคตะวันตก: ปราณบุรี
3. คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. สถานการณ์น้ำแม่น้ำโขง : สทนช. ติดตามระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดในแม่น้ำโขง ณ วันที่ 29 มิ.ย. 67 สรุปสถานการณ์น้ำแม่น้ำโขง ดังนี้
สถานีที่อยู่ช่วงเหนือเขื่อนไซยะบุรี (สปป.ลาว)
สถานีจิ่งหง สาธารณรัฐประชาชนจีน (สปป.ลาว) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น และสถานีเชียงแสน จ.เชียงราย ระดับน้ำ
อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
สถานีที่อยู่ช่วงท้ายเขื่อนไซยะบุรี (สปป.ลาว)
สถานีเชียงคาน จ.เลย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง สถานีหนองคาย จ.หนองคาย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว สถานีบึงกาฬ จ.บึงกาฬ สถานีนครพนม จ.นครพนม สถานีมุกดาหาร จ.มุกดาหาร สถานีอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ และสถานีโขงเจียม จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
5. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : วานนี้ (29 มิ.ย. 67) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะลงพื้นที่ตรวจราชการพร้อมติดตามสถานการณ์น้ำและแนวทางการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ ในการนี้ นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการ สทนช. ได้ร่วมลงพื้นที่
รัฐบาลมีนโยบายการบริหารจัดการน้ำ ดังนี้
5.1 กำหนดนโยบายในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ
5.2 มอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยบูรณาการร่วมกับกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน จัดทำแผนจัดการรองรับแนวทางป้องกันบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นจากปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง เพื่อประชาชนได้รับผลกระทบให้น้อยที่สุด
5.3 งบประมาณระยะยาวที่เกี่ยวกับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการผันน้ำจากลำห้วยสำราญไปสู่ลำห้วยทา-ลำห้วยขะยูง ความยาว 30 กม. และ 2) โครงการผันน้ำฝั่งซ้ายลำห้วยสำราญไปสู่แม่น้ำมูล ความยาว 18 กม. ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษา จะต้องเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2569 และโครงการระยะสั้นทำได้ทันที
5.4 ทุกหน่วยงานจะต้องมีแผนการเตรียมการบริหารจัดการน้ำรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนนี้เนื่องจากอีสานตอนใต้จะต้องพึ่งเกษตรกรรมค่อนข้างมาก ซึ่งหากต้นน้ำดี มีการบริหารจัดการน้ำที่ดี พืชผลผลิตทางการเกษตรก็จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 มิ.ย. 67