สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 ธ.ค. 66
สภาพอากาศ : มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่าง มีฝนตกหนักบางแห่ง
1. ในช่วงวันที่ 23–26 ธ.ค. 66มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างมีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่างทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมาก
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 76% ของความจุเก็บกัก (62,685 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 66% (38,475 ล้าน ลบ.ม.) อ่างฯเฝ้าระวังน้ำน้อย 3 แห่ง (สิริกิติ์ กระเสียว และคลองสียัด) อ่างฯเฝ้าระวังน้ำมากเสี่ยงล้นกระทบต่อด้านท้ายน้ำ 1 แห่ง (บางลาง)
3. สถานการณ์น้ำในลำน้ำ : ทุกภาคปริมาณน้ำน้อย ยกเว้นภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำมาก โดยเฉพาะแม่น้ำปัตตานี แม่น้ำโก-ลก คลองเสาธง คลองท่าดี และคลองตันหยงมัส
4. พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก/ดินถล่ม : พบพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและดินถล่ม จำนวน 5 จังหวัด 7 อำเภอ ได้แก่ 1) จ.นครศรีธรรมราช (อ.ทุ่งสง) 2) จ.ตรัง (อ.ห้วยยอด และอ.รัษฎา) 3) จ.พัทลุง (อ.ป่าพะยอม) 4) จ.ยะลา (อ.เบตง) 5) จ.นราธิวาส (อ.จะแนะ และสุคิริน)
5. กิจกรรมสำคัญ : เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 66 เทศบาลเมืองปัตตานี ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแผนเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงวันที่ 23–25 ธ.ค. 66 ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติออกประกาศแจ้งเตือน ฉบับที่ 7/2566 ให้เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
ในพื้นที่ภาคใต้ และการปรับเพิ่มอัตราการระบายน้ำของเขื่อนบางลางในช่ววันที่ 19 – 22 ธ.ค. 66 เทศบาลเมืองปัตตานีจึงได้มีการวางแผนการจัดการสาธารณภัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณจุดเสี่ยง เพื่อป้องกันปริมาณน้ำไหลเข้าตัวเมืองปัตตานี และจัดเตรียมกระสอบทรายแจกจ่ายให้ประชาชนนำไปป้องกันบ้านเรือน ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และขอให้ติตดามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ผ่านทุกช่องทาง โดยเทศบาล
เมืองปัตตานีได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ ณ สถานีดับเพลิงปัตตานี และหากมีความต้องการขอความช่วยเหลือสามารถติดต่อผ่านช่องทางสายด่วน 199 เทศบาลเมืองปัตตานีได้จัดเตรียมบุคลากรรองรับสถานการณ์ 24 ชั่วโมง