สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 28 พ.ค. 66
ประเทศไทยมีฝน ฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น และตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม.และปริมณฑลมีฝนเล็กน้อย
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงบริเวณ ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี (87)
ภาคใต้ จ.ภูเก็ต (81) ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร (73) ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี (70) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.บุรีรัมย์ (67) และภาคเหนือ จ.อุทัยธานี (66)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,258 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,827 ล้าน ลบ.ม. (54%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำบางปะกง ค่าความเค็มสูงเกินมาตรฐาน
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคเหนือ บริเวณ จ.เชียงใหม่ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก อุทัยธานี และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ
จ.ศรีสะเกษ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง จ.ชัยนาท สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง นคสวรรค์ ภาคตะวันออก บริเวณ จ.สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี ภาคใต้ บริเวณ จ.เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดำเนินการสูบส่งน้ำจากแม่น้ำหลังสวน ต.วังตะกอ อ.หลังสวน จ.ชุมพร ไปยังหน้าฝายคลองรำพันซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกมังคุดคุณภาพ เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกมังคุดมีน้ำใช้ในการเพาะปลูกจนถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว
กอนช. กำชับให้กรมชลประทานและกรุงเทพมหานครเร่งบริหารจัดการน้ำให้พร้อมรับมือฤดูฝนนี้ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ย้ำ กอนช. เร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินหน้าแผนปฏิบัติ 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปีนี้อย่างเคร่งครัด โดยกรมชลประทาน ปรับ 12 มาตรการรับฤดูฝนสู่ 6 แนวทางปฏิบัติของกรมชลประทาน คือ 1. กักเก็บเต็มประสิทธิภาพ 2. คาดการณ์พื้นที่เสี่ยง 3. หลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง 4. ระบบชลประทานเร่งระบาย 5. เตรียมพร้อมเครื่องมือเครื่องจักร 6. แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ พร้อมจัดสรรเครื่องจักร-เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำประจำอยู่ทั่ว ประเทศรวม 5,382 หน่วยกรุงเทพมหานคร เตรียมพร้อมแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เขตประเวศและติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมบริเวณจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม พร้อมแก้ปัญหาจุดเสี่ยงพื้นที่เอกชนบริเวณหมู่บ้านเมืองทอง 2/4
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 ดังนี้
ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ในช่วงวันที่ 27 พ.ค. – 1 มิ.ย. 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มเก่า) ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี (อำเภอท่ายาง บ้านลาด และเมืองเพชรบุรี) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อำเภอหัวหิน และปราณบุรี) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอเมืองสุรินทร์) จังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอเมืองอุบลราชธานี และพิบูลมังสาหาร) ภาคตะวันออก ได้แก่จังหวัดชลบุรี (อำเภอเมืองชลบุรี) จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง และแกลง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด และเขาสมิง) และ ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร (อำเภอพะโต๊ะ) จังหวัดระนอง(อำเภอกะเปอร์ เมืองระนอง และสุขสำราญ)จังหวัดพังงา (อำเภอกะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอกะทู้ ถลาง และเมืองภูเก็ต) จังหวัดกระบี่ (อำเภอเกาะลันตา คลองท่อม เมืองกระบี่ เหนือคลองและอ่าวลึก) จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง กันตัง และปะเหลียน) จังหวัดสตูล (อำเภอทุ่งหว้า)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2566
กรมชลประทาน ดำเนินการกำจัดวัชพืช ในพื้นที่ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีและตำบลวังน้ำเย็น อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน
สภาพอากาศ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้นประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนล่าง ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโซกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ แต่ยังคงมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่งในภาคเหนือ โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
4.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 43,258 ล้าน ลบ.ม. (53%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่38 แห่ง ปริมาณน้ำ 38,827 ล้าน ลบ.ม. (54%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำ 2,673 ล้าน ลบ.ม. (47%)และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำ 1,758 ล้าน ลบ.ม. (34%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ)ปริมาณน้ำใช้การ 5,346 ล้าน ลบ.ม. (29%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จัดประชุมปรึกษาหารือแนวทางการดำเนินงานตามมาตรา 24 ในพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 โดยมี ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ สทนช.ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม เพื่อพิจารณาแนวทางการปรับปรุงกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ ให้การดำเนินการป้องกันและแก้ไขกรณีเกิดปัญหาวิกฤติน้ำเป็นไปตามระเบียบที่ถูกต้อง สามารถป้องกันและลดผลกระทบให้กับประชาชนได้อย่างทันท่วงที ณ ห้องประชุมเจ้าพระยา ชั้น 2 อาคารจุฑามาศ สทนช. ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ.