สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 2 ก.ย.65
ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนัก
ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.แพร่ (118) จ.สุราษฎร์ธานี (111) และ จ.นครราชสีมา (58)
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 51,979 ล้าน ลบ.ม. (63%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 45,432 ล้าน ลบ.ม. (64%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ แม่งัด แควน้อยบำรุงแดน อุบลรัตน์ น้ำพุง ขุนด่านฯ บางพระ หนองปลาไหล นฤบดิทราจินดา และบึงบระเพ็ด
ลุ่มน้ำชี ลำน้ำพรมและลำน้ำเชิญ บริเวณ จ.ชัยภูมิ แม่น้ำชี และลำน้ำพอง บริเวณ จ.ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ยโสธร และร้อยเอ็ด ลำน้ำยัง บริเวณ จ.กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด
ลุ่มน้ำมูล แม่น้ำมูล บริเวณ จ.นครราชสีมา ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ลำโดมใหญ่ บริเวณ จ.อุบลราชธานี ลำเซบก บริเวณ จ.อุบลราชธานี
แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำคลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร
พื้นที่ประสบอุทกภัย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ จ.อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปราจีนบุรี และ อุบลราชธานี
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ลงพื้นที่ฉะเชิงเทรา ย้ำรัฐบาลเร่งแผนให้ประชาชนเข้าถึงน้ำประปาสะอาดทุกพื้นที่
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำบางปะกง และได้เน้นย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการ ดังนี้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนอย่างรอบคอบ และหาแนวทางแก้ไขให้เป็นระบบในระยะยาว
สทนช. ประสานและบูรณาการขับเคลื่อนแผนหลักการพัฒนาและบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก ร่วมกับลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และรายงานต่อ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.)
กรมชลประทานเร่งพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนโดยเฉพาะโครงการที่ได้รับงบประมาณ และโครงการสำคัญที่ผ่าน กนช.
การปรับปรุงเพิ่มความสามารถการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนทดน้ำบางปะกง พร้อมเร่งดำเนินการก่อสร้างแหล่งน้ำที่ได้รับงบประมาณให้แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนด เพื่อสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
การประปาส่วนภูมิภาค ให้วางแผนการใช้น้ำให้ครอบคลุมความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคตลอดฤดูแล้งอย่างเพียงพอพร้อมหาแหล่งน้ำสำรองไว้แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
จังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เสนอแผนงาน/โครงการสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำให้ครอบคลุมในพื้นที่ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ผ่านอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด โดยบูรณาการและเร่งสร้างการรับรู้และส่งเสริมให้ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่ด้วย