สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 20 ส.ค. 65
ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.อุบลราชธานี (112 มม.)จ.สกลนคร (101 มม.) และ จ.ตราด (76 มม.)
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 49,936 ล้าน ลบ.ม. (61%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 43,519 ล้าน ลบ.ม. (61%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา กิ่วลม แควน้อย บึงบระเพ็ด ป่าสักชลสิทธิ์ น้ำพุง อุบลรัตน์ และบางพระ
กอนช. ประกาศฉบับที่ 30/2565 เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงวันที่ 23 – 25 ส.ค. 65
กอนช. ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 20 – 24 ส.ค. 2565 ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งฝนตกหนักในพื้นที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) อยู่ในเกณฑ์ 1,600 – 1,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมีน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังและลำน้ำสาขาไหลมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณ 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเจ้าพระยา อยู่ในเกณฑ์ 1,900 – 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปรับเพิ่มปริมาณน้ำไหลผ่าน เขื่อนเจ้าพระยา ตามปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนเพิ่มมากขึ้น อยู่ในเกณฑ์ 1,500 – 1,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.40 – 0.80 เมตร ในช่วงวันที่ 23 – 25 ส.ค. 2565 บริเวณชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 20 ส.ค. 2565 ดังนี้
1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 30/2565 ลงวันที่ 19 ส.ค. 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงวันที่ 20 – 24 สิงหาคม 2565 ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) อยู่ในเกณฑ์ 1,600 – 1,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมีน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังและลำน้ำสาขาไหลมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณ 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเจ้าพระยา อยู่ในเกณฑ์ 1,900 – 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปรับเพิ่มปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ตามปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนเพิ่มมากขึ้น อยู่ในเกณฑ์ 1,500 – 1,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.40 – 0.80 เมตร ในช่วงวันที่ 23 – 25 ส.ค. 2565 บริเวณชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2. สถานการณ์อุทกภัย
จากสถานการณ์ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกําลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบนประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย ทําให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง และการระบายน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง ในระหว่างวันที่ 15-18 สิงหาคม 2565 เกิดสถานการณ์ในพื้นที่ 17 จ. ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 10 จ. (ลำปาง อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ขอนแก่น ชัยภูมิ และอุบลราชธานี) ดังนี้
จังหวัดลำปาง มีพื้นที่น้ำท่วมในอำเภอสบปราบ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง สถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ภายใน 1-2 วัน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอ่างทอง มีพื้นที่น้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรลุ่มต่ำ รวม 6 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (อำเภอบางบาล บางปะหัน เสนา ผักไห่ และท่าเรือ) และ จังหวัดอ่างทอง (อำเภอป่าโมก) ปัจจุบันกรมชลประทานได้ระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา 1,400 ลบ.ม/วินาที
จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่น้ำท่วม 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภออู่ทอง อำเภอเมือง อำเภอสองพี่น้อง และอำเภอบางปลาม้า คาดการณ์ว่าระดับน้ำในคลองโผงเผง และแม่น้ำน้อยจะลดลงตามปริมาณการระบายน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา
จังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่น้ำน้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี ปัจจุบันคลองพระปรงและแม่น้ำปราจีนบุรียังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
จังหวัดสระแก้ว มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดสระแก้ว ส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่ง ปัจจุบันระดับยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
จังหวัดฉะเชิงเทรา มีพื้นที่น้ำน้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพนมสารคาม ปัจจุบันระดับน้ำเริ่มลดลง
จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่น้ำท่วม 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมัญจาคีรี และอำเภอชุมแพ คาดว่าสถานการณ์ จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 2-3 วัน
จังหวัดชัยภูมิ มีพื้นที่น้ำน้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอภูเขียว คาดว่าสถานการณ์ จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1-2 วัน
จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่น้ำน้ำท่วม 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวารินชำราบ อำเภอนาจะหลวย อำเภอเดชอุดม อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำยืน และอำเภอเมือง คาดว่าสถานการณ์ จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 3-4 วัน