“สว.สีน้ำเงิน” ประลองกำลัง “สว.พันธุ์ใหม่” จับตา วัดพลัง “เงินดิจิทัล”

ศึกเลือกประมุขสภาสูง ไม่พลิกโผ ตัวเต็งจาก “ค่านสีน้ำเงิน” เข้าป้าย ด้วยคะแนนเกินขึ้น-ทิ้งห่าง “สว.พันธุ์ใหม่” ไม่เห็นฝุ่น-หลายช่วงตัวด้วยคะนนทะลุ 150 เสียง
มิหนำซ้ำเกือบจะกินรวบเก้าอี้รองประธานวุฒิสภา เหลือเพียงเก้าอี้รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ที่มาจากสายผู้พิพากษาและอดีตกรรมการในองค์กรอิสระให้ขึ้นมาให้เกิดภาพคนกลาง-เปิดช่องให้มีพื้นที่ประนีประนอมอำนาจของขั้วอิสระและขั้วที่มีอยู่ตรงข้ามทางความคิด ไม่ให้เกิดการแตกหัก จนทำให้ภาพลักษณ์ของวุฒิสภาเกิดเป็นวิกฤตศรัทธาที่เคยเกิดขึ้นในสมัย “สภารุ่นพี่” ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นข้อครหา “สภาผัวเมีย” หรือการโดนปรามาสว่าเป็น “สภาลากตั้ง-สภาฝักถั่ว” ซึ่งปัจจุบันแม้วุฒิสภาชุดปัจจุบันยังไม่ได้เริ่มทำงานก็โดนติดสสลาก-แปะป้ายไปแล้วว่าเป็น “สภาจัดตั้ง”
สว.น้ำเงิน ปะทะ สว.พันธุ์ใหม่
ยกแรกของผลการประลองกำลัง เลือกประธานวุฒิสภา ไม่พลิกโผ ตัวเต็ง-นอนมา “มงคล สุระสัจจะ” ได้คะแนนเป็นอันดับ 1 จำนวน 159 เสียง อันดับที่ 2 “นันทนา นันทวโรภา” ได้ 19 คะแนน และอันดับ 3 “หมอเปรม” เปรมศักดิ์ เพียยุระ ได้ 13 คะแนน ขณะที่การเลือกตำแหน่งรองประธานวุฒิ คนที่ 1 ชื่อยังอยู่ในโผ อันดับที่ 1 “บิ๊กเกรียง” พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ ได้ 150 เสียง อันดับสอง นายนพดล อินนา ได้ 27 เสียง อันดับสาม “แล ดิลกวิทยรัตน์” ได้ 15 เสียง และอันดับสี่ นายปฏิมา จีระแพทย์ ได้ 5 เสียง ส่วนรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง ตกเป็นของ “บุญส่ง น้อยโสภณ” ได้ 167 คะแนน อันดับสอง “อังคณา นีละไพจิตร ได้ 18 คะแนน อันดับสาม พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต ได้ 8 คะแนน และอับดับสี่ ปฏิมา จีระแพทย์ 4 เสียง
การประลองกำลังยกแรกในศึกชิงเก้าอี้ประธานวุฒิสภา-รองประธานวุฒิสภา สะท้อนให้เห็นการปะทะทางความคิดของ สว. สองขั้ว ที่มีชุดความคิดแบบระบบการเมืองสไตล์บ้านใหญ่-ระบอบอุปถัมภ์ กับ ระบบคนเท่ากัน-หนึ่งคนหนึ่งเสียง และเป็นฝ่ายของ “สว.บ้านใหญ่” ที่คุมเกม-กุมกำลังเสียงส่วนใหญ่เกินขึ้นใน “สภาสูง” และสามารถจัมพ์สายเชื่อมต่อกับ “สถาล่าง” และอำนาจฝ่ายบริหาร ได้อย่างไร้รอยต่อมากกกว่า วุฒิสภาชุดเฉพาะกิจ-เฉพาะกาล ที่เปรียบเสมือนเป็นไม้เบื่อ-ไม้เมากันมาตลอดระยะเวลา 5 ปีเต็ม
โปรไฟล์ประธาน-รองประธานวุฒิ

สำหรับประวัติ-โปรไฟล์ ของประธานวุฒิสภา-รองประธานวุฒิสภา ป้ายแดง “มงคล สุระสัจจะ” ประธานวุฒิสภา อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์-อธิบดีกรมการปกครอง อดีตประธานบอร์ดการไฟฟ้านครหลวง สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในยุคที่มี “ชวรัตน์ ชาญวีรกูล” เป็น มท.1 แต่งตั้งให้เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย ทว่ามีผู้ถวายฎีกา ถึงความไม่ถูกต้องชอบธรรมในแง่กฎ ระเบียบและลำดับอาวุโส และต่อมายังมีข่าวเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโครงการจัดทำระบบให้บริการประชาชนทางด้านการทะเบียนและบัตรประชาชนแบบใหม่ จนโดนตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและ การ “ขอไม่รับตำแหน่ง” ปลัดกระทรวงมหาดไทยในเวลาต่อมา และยุครัฐบาประยุทธ์สมัยที่สอง เป็นประธานคณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยของ “ทรงศักดิ์ ทองศรี” แกนนำพรรคภูมิใจไทย

ขณะที่ “บิ๊กเกรียง” รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 จบจากโรงเรียนเตรียมทหาร (ตท.) รุ่นที่ 22 และเป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) รุ่นที่ 33 อดีตแม่ทัพภาค 4 และรับการเรียกขานว่า “แม่ทัพกระดูกเหล็ก” หลังจากเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กตกแต่ไม่ตาย อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (ผู้ช่วย ผบ.ทบ.) ก่อนหน้า เป็นประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ของ “อนุทิน ชาญวีรกูล” หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ส่วน “บุญส่ง น้อยโสภณ” อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง อดีต ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 อดีตกรรมการการเลือกตั้ง และไม่ใช่คนหน้าใหม่ในสภาสูง เพราะก่อนหน้านี้เป็นที่ปรึกษาของนายศุภชัย สมเจริญ อดีตรองประธานวุฒิสภาคนที่สองมาก่อน
วัดพลัง เก้าอี้ประธานกรรมาธิการ
ยกต่อไปของการวัดพลัง – ช่วงชิงเก้าอี้ประธานคณะกรรมาธิการ อาทิ คณะกรรมาธิการการเมือง คณะกรรมาธิการบริหารราชการแผ่นดิน คณะกรรมาธิการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ คณะกรรมาธิการปกครองท้องถิ่น คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง คณะกรรมาธิการพลังงาน คณะกรรมาธิการสาธารณสุข คณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ คณะกรรมาธิการคมนาคม คณะกรรมาธิการต่างประเทศ คณะกรรมาธิการทหารและความมั่นคงของรัฐ คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและมีส่วนร่วมของประชาชน คณะกรรมาธิการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
โดยเฉพาะเก้าอี้ประธานคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ แดละพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ-ตุลาการในองค์กรอิสระ ทั้ง กรรมการ ป.ป.ช. กรรมการ กกต. ตลาการศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนภารกิจแรกที่ “รับไม้ต่อ” จากสภาล่าง คือ การพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2567 ในโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 วงเงิน 3.75 ล้านล้านบาท ซึ่งมีเงินดิจิทัลวอลเล็ตซุกอยู่ในงบกลาง กวา 1.5 แสนล้านบาท
เป็นการประลองกำลัง-วัดพลังของ สว. 2 ขั้ว 2 มุม ที่จะได้เห็นปรากฎการณ์ต่อไปหลังจากนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : จับตา การเมืองสิงหาคม ทักษิณคัมแบ็ก-ยุบก้าวไกล-ชี้ชะตาเศรษฐา