ส.ว.ไม่มาตามนัด พิธา แพ้โหวต นายก ฯ ยกแรก
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ลิ้มรสชาติความเป็นจริงทางการเมืองแล้วว่า โหดร้ายกว่าที่คิดร้อยเท่า พันเท่า
ทันทีที่ที่ประชุมรัฐสภามีมติเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่ง หรือ 376 เสียง ให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกล ด้วยมติเห็นชอบ 324 เสียง แม้ยอมรับ-ไม่ยอมแพ้ แต่ต้องยอมจำนนกับความจริง ปมที่ ส.ว.- ส.ส.ใช้เป็นข้ออ้างไม่เห็นชอบ 182 เสียง และ งดออกเสียง 199 เสียง ไม่ให้นายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 คือ นโยบายของพรรคก้าวไกลในเรื่องการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112เสียงที่เห็นชอบให้นายพิธาเป็นนายรัฐมนตรี 324 เสียง มาจาก 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากที่จับมือกันแน่ 311 เสียง ไม่ได้นับรวมเสียงของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภาที่งดออกเสียงตามมารยาท
ส่วน 13 เสียงที่เห็นชอบ มาจากเสียงของ ส.ว.สายประชาธิปไตย ประกอบด้วย นายไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา นายเฉลา พวงมาลัย นายซากีย์ พิทักษ์คุมพล พล.ต.ท.ณัฏฐวัฒก์ รอดบางยางนางประภาศรี สุฉันทบุตร นายพิศาล มาณวพัฒน์ นายพีระศักดิ์ พอจิต นายมณเฑียร บุญตัน นายวันชัย สอนศิริ นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ และ นายอำพล จินดาวัฒนะกลุ่มที่ไม่เห็นชอบ เจ้าคิด-เจ้าแค้น แค้นฝังหุ่น 182 เสียง โดยมี 3 พรรครวมรัฐบาลเดิมเป็นแกน คือ พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทยและพรรครวมไทยสร้างชาติแน่นอนว่า ไม่ว่าพรรคก้าวไกลจะถอยหรือไม่ถอยเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 ก็มีแนวโน้มที่การโหวตครั้งถัด ๆ ไปก็จะลงมติไม่เห็นชอบ อย่างมากก็แค่งดออกเสียง
กลุ่มงดออกเสียง 199 เสียง หากมองโลกสวยถือเป็น “สวิงโหวต” ที่ยังสามารถ “ล็อบบี้” โน้มน้าวให้กลับมาลงมติเห็นชอบให้นายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีในครั้งถัดไปได้ หากพรรคก้าวไกลลดเพดานแก้ไขมาตรา 112 แต่ในความเป็นจริง งดออกเสียง = ไม่เห็นชอบ
โดยส่วนใหญ่เป็นเสียง ส.ว.สาย 2 ลุง ที่ทำคลอด-ตัดสายสะดือมากับมือ คือ ลุงตู่ – พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ ลุงป้อม – พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
นอกจากนี้ยั้งมี ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ 25 เสียง พรรคชาติไทยพัฒนา 10 เสียง พรรคชาติพัฒนากล้า 2 เสียง พรรคใหม่ 1 เสียง พรรคครูไทยเพื่อประชาชน 1 เสียงแต่จุดชี้ขาดที่ทำให้นายพิธาตกสวรรค์ – ตื่นจากฝันนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี คนที่ 30 คือ กลุ่มไม่ลงคะแนน 37 คน ที่ไม่มาตามนัด โดยมีกระแสข่าวตามมาหลังจากนั้น ว่า มีการกดดันอย่างหนักเพื่อให้เปลี่ยนผลโหวต1.นางกอบกุล อาภากร ณ อยุธยา 2.นายเจน นำชัยศิริ 3.นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ 4.พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ 5.พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ 6.พล.อ.เชวงศักดิ์ ทองสลวย 7.พล.ร.อ.ฐนิธ กิตติอำพน 8.พล.อ.ดนัย มีชูเวท 9.น.ส.ดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ 10.นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม11.พล.ร.อ.นพดล โชคระดา 12.พล.อ.นพดล อินทปัญญา 13.นายบุญมี สุระโคตร 14.นางเบญจรัตน์ จริยธาราสิทธิ์ 15.นายประมาณ สว่างญาติ 16.นางประยูร เหล่าสายเชื้อ 17.พล.ต.ต.ปรัชญ์ชัย ใจชาญสุขกิจ 18.พล.อ.ปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ 19.นายพิทักษ์ ไชยเจริญ 20.พล.อ.ไพโรจน์ พานิชสมัย21.น.ส.ภัทรา วรามิตร 22.นายภาณุ อุทัยรัตน์ 23.พล.อ.เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์ 24.พล.อ.วราห์ บุญญะสิทธิ์ 25.นายวิชัย ทิตตภักดี 26.นายศรีศักดิ์ วัฒนพรมงคล 27.นายศักดิ์ไทย สุรกิจบวร 28.พล.ร.อ.ศักดิ์สิทธิ์ เชิดบุญเมือง 29.นายสถิต ลิ่มพงศ์พันธุ์ 30.นายสม จาตุศรีพิทักษ์31.นายสมชาย หาญหิรัญ 32.นายสำราญ ครรชิต 33.พล.อ.อ.สุจินต์ แช่มช้อย 34.นางสุนี จึงวิโรจน์ 35.นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ 36.พล.อ.อ.อลงกรณ์ วัณณรถ 37.นายอุดม วรัญญูรัฐ นายอุปกิต ปาจรียางกูร
ไม่นับ กลุ่ม ส.ว.ผบ.เหล่าทัพที่ประกาศแสดงจุดยืนชัดเจนก่อนหน้านี้แล้วว่า จะไม่มาลงคะแนน ประกอบด้วย พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผบ.ทหารสุงสุด พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผบ.ทร. พล.อ.อ. อลงกรณ์ วัณณรถ ผบ.ทอ. พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ. พล.อ.สนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม และ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร.
ก้าวไกลใช้ไม้นวมไม่สำเร็จจึงหันมาใช้ไม้แข็ง นำโดยนายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ยื่นแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 โดยยื่นต่อประธานสภา เพื่อยกเลิกอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีของ ส.ว. หรือ “ปิดสวิตซ์ ส.ว.” ขีดเส้น 1 เดือนหากร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ผ่านวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ จะใช้เวลา 2-3 สัปดาห์สามารถผ่านวาระที่ สองและวาระที่สามได้ทันทีรัฐธรรมนูญหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรรมนูญ มาตรา 256 (6) ต้องมีเสียง ส.ว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือ 84 คน เห็นชอบด้วย โดยพรรคก้าวไกลตั้งเป้าหมายว่าจะได้เสียงสนับสนุบจาก ส.ส. 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก 63 คน การเคยลงมติยกเลิกมาตรา 272 กลุ่มที่ลงมติเห็นชอบให้นายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีรอบแรก และกลุ่มงดออกเสียง-ไม่ลงคะแนน ที่มีเหตุผลไม่สบายใจที่นายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีและไม่อยากฝืนเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนจุดเปลี่ยนเกมอีกครั้ง คือ การออกมาแถลงเปิดใจของนายพิธา ขอสู้อีก 2 สมรภูมิ ทั้งสมรภูมิโหวตนายกรัฐมนตรีในรอบที่สองและรอบที่สาม กับสมรภูมิการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิกมาตรา 272 หากพ่ายแพ้ทั้งสองสมรภูมิพรรคก้าวไกลพร้อมที่จะส่งไม้ต่อให้พรรคเพื่อไทยเพื่อเปิดทางให้ประเทศเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาล ไม่ให้ตกอยู่ในสุญญากาศการบริหารประเทศ
ท่ามกลางกระแสข่าวเสนอชื่อ พล.อ.ประวิตร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐ ขึ้นมาประกบกับนายพิธาในการโหวตรอบสอง ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566และการดันแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย คือ “เสี่ยนิด” นายเศรษฐา ทวีสิน หรือ “อุ๊งอิ๊งค์” แพรทองธา ชินวัตร ขึ้นแก้เกมชิงดำกับ พล.อ.ประวิตรการประกาศของนายพิธายอมปล่อยมือให้เพื่อไทย จึงเป็นการ “ถอยเพื่อรุก” เพื่อไม่ให้พรรคเพื่อไทยสบช่องเสียบชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จากการปล่อยข่าวพล.อ.ประวิตร เตรียมชิงเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจัดตั้งเสียงรัฐบาลข้างน้อยเป็นสัญญาณขบเหลี่ยมกันอีกครั้งที่พรรคก้าวไกลกับพรรคเพื่อไทย