เจาะ 5 เทรนด์การท่องเที่ยว 2566 สร้างรายได้กระจายลงชุมชนทั่วไทย
กระแสการท่องเที่ยวในโลกยุคปัจจุบัน กำลังเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เรียกว่ารักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ที่มีความแตกต่างจากนักท่องเที่ยวยุคดั้งเดิมเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มักเน้นการท่องเที่ยวแสวงหาประสบการณ์มากกว่าการท่องเที่ยวราคาถูก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ภูมิทัศน์ของโลกการท่องเที่ยวเปลี่ยนโฉมหน้าไปแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
จากผลสำรวจความคิดเห็นของ เวปไซต์ชั้นนำต่าง ๆ เช่น Mckinsey Tripedvisor และ ผลสำรวจของ EIC มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันว่า นักท่องเที่ยวทั่วโลกในปัจจุบันต้องการความแปลกใหม่ มีกิจกรรมที่หลากหลาย เรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น รวมทั้งใส่ใจความยั่งยืนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนเจเนอเรชั่น Gen Y และ Z ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีจำนวนมากที่สุดในโลกเกือบกว่า 2,000 ล้านคน
วันนี้เราได้รวบรวมเทรนด์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ โดยเฉพาะเทรนด์ที่คาดว่าจะมาแรงในปี 2566 ไปดูกันว่า ในปีนี้เทรนด์อะไรจะมาแรงมากที่สุด
การท่องเที่ยวแบบฉายเดี่ยว
การท่องเที่ยวแบบนี้เป็นกระแสมาสักพักแล้ว หลังจากโลกยุคใหม่เข้าสู่โหมดของออนไลน์ คนรุ่นใหม่ที่เชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีมักสร้างตัวตนให้คนรู้จักผ่านการท่องเที่ยวแบบฉายเดียวแล้วเล่าเรื่องราวออกมาเป็นวีดีโอเรื่องสั้น สร้างตัวตนเป็นยูทูปเปอร์ชื่อดังที่มีผู้ติดตามในโลกออนไลน์หลักแสนหลักร้านคนผ่านการนำเสนอเรื่องราวการเดินทางท่องเที่ยวแบบฉายเดียวไปกับกล้องเพียงแค่ตัวเล็ก ๆ โดยไม่ได้มีทีมโปรดักส์ชั่นแบบสมัยก่อน
การท่องเที่ยวในลักษณะนี้ได้รับความนิยม และสามารถสร้างรายได้ให้กับนักท่องเที่ยวได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ นั่นจึงทำให้เราได้เห็นนักเดินทางยูทูปเปอร์หน้าใหม่เกิดขึ้นมาจำนวนมาก และแต่ละคนก็มักเลือกทริปการเดินทางไปในพื้นที่ที่ไม่มีใครเคยเข้าถึง ซึ่งการเดินทางและเผยแพร่เรื่องราวในลักษณะนี้ จะทำให้เราได้เห็นภาพของการท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลกในมุมที่ไม่เคยเห็นหรือสัมผัสมาก่อน เป็นการสร้างประสบการณ์ตรงให้ผู้ชมได้เห็น โดยที่ไม่ต้องไปพึ่งไกด์บุ๊คเหมือนสมัยก่อน
การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ
การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism) กลายเป็นกระแสการท่องเที่ยวของคนยุคใหม่ รูปแบบการท่องเที่ยวนี้เพิ่งเกิดขึ้นมาในช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 โดยรักท่องเที่ยวจะพยายามหาเส้นทางการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ไม่ทำกิจกรรมหรือพฤติกรรมใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอัตลักษณ์ท้องถิ่น รวมทั้งการท่องเที่ยวที่รักษ์สิ่งแวดล้อม
การท่องเที่ยวในลักษณะนี้ล่าสุดได้รับการส่งเสริมโดยบรรจุไว้ในแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-70) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนงานเพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติ ระดับพื้นที่ และท้องถิ่นให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยการขับเคลื่อนแผนฯ ในยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เป็นเรื่องส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน (Sustainable Tourism)
ตั้งเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการสร้างขยะในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวลง 2% ในแต่ละปี จำนวนแหล่งท่องเที่ยวและธุรกิจบริการท่องเที่ยวได้รับมาตรฐานความยั่งยืนในระดับสากล (GSTC) เพิ่มขึ้น 30% ในปี 2570 โดยมีตัวอย่างของโครงการ เช่น โครงการท่องเที่ยวด้วยขนส่งยั่งยืน “Eco-friendly Transport” ในเมืองท่องเที่ยวสำคัญเป็นหลัก
การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ
การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ หรือ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง หลายคนมองกากท่องเที่ยวในลักษณะนี้เป็นหนึ่งในการท่องเที่ยวเชิงคุณค่าที่สร้างประสบการณ์ให้กับการเดินทางมีความหมาย และเสริมสร้างสุขภาพของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น ที่ผ่านมามีข้อมูลจาก Global Wellness Institute รายงานว่านักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีค่าใช้จ่ายต่อหัวสูงถึง 50,000 กว่าบาท ต่อการเที่ยวหนึ่งครั้ง ซึ่งสูงกว่านักท่องเที่ยวแบบปกติถึง 53%
โดยกระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนั้น มาได้รับแรงกระตุ้นสำคัญในช่วงที่คนทั้งโลกต่างเผชิญกับโรคระบาดร้ายแรง คือโควิด-19 ทำให้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้รับการส่งเสริมจากหลายประเทศทั่วโลกที่พยายามดึงนักท่องเที่ยวในตลาดกลุ่มนี้เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวกลุ่มระเป๋าหนัก ค่าใช้จ่ายสูง ทั้งจากชาติตะวันออกกลาง ยุโรป และสหรัฐอเมริกา
นอกจากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแล้ว ยังมีการท่องเที่ยวในลักษณะคล้ายกันแต่เฉพาะเจาะจงมากกว่านั้นคือ การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ โดยในประเทศไทยนั้นมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากความคุ้มค่าและคุณภาพของอุตสาหกรรมการแพทย์ของไทย ภาพนี้แสดงให้เห็นชัดในช่วงการระบาดของโควิด-19 ในช่วงแรก ซึ่งทั่วโลกต่างเห็นศักยภาพของไทยในการควบคุมดูแลการรักษาโลกที่เป็นมาตรฐาน ทำให้การท่องเที่ยวในลักษณะนี้ขยายตัวมากขึ้น
จนได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวหลายกลุ่มเดินทางข้ามพรมแดนไปยังต่างประเทศเพื่อเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าหรือดีกว่าในประเทศที่ตนพำนักอาศัย โดยบริการทางการแพทย์ที่นักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เลือกใช้อาจเป็นการตรวจสุขภาพบริการเสริมความงาม ทันตกรรม หรือการรักษาพยาบาลเฉพาะทางก็ได้
การท่องเที่ยวเชิงอาหาร
ประเทศไทยขึ้นชื่อเป็นสวรรค์ของนักชิมมานาน เพราะนักท่องเที่ยวต่างเอนจอยกับการกินดื่มได้แทบจะเรียกว่าตลอด 24 ชม. ดังนั้นการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) ก็ยังคงเป็นกระแสหลักสำหรับการท่องเที่ยวปี 2566 โดยที่ผ่านมาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยยอมรับว่า ค่าใจจ่ายของนักท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 จะเป็นรายจ่ายเรื่องของอาหาร ดังนั้นเมื่อมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาไทยมากขึ้น การใช้จ่ายเงินไปกับอาการการกินตั้งแต่ริมทางยันขึ้นภัตตาคารก็มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นไปด้วย
สำหรับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร นับเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวในปัจจุบันที่มักค้นหาอาหารอร่อย และแปลกใหม่จากสถานที่ที่ได้เดินทางไปท่องเที่ยวการท่องเที่ยวเชิงอาหารจึงมีการผสมผสานกับการท่องเที่ยวหลายรูปแบบ เช่น การท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ถือเป็น Soft Power ที่มีอิทธิพลมากที่สุด นั่นจึงไม่แปลกใจเลยว่าเมื่อเราค้นหาร้านอาหารขึ้นมาจากหน้าเว็บไซต์จะพบรายละเอียดของร้านอาหารหลากหลายประเภทขึ้นมาให้เลือก
การท่องเที่ยวพร้อมการทำงาน
ส่งท้ายเทรนด์สำคัญที่กำลังมาแรง การท่องเที่ยวพร้อมการทำงาน หรือเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วย การท่องเที่ยวลักษณะนี้ชัดเจนมากขึ้นในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด ทำให้นักท่องเที่ยวออกมาใช้ชีวิตยังสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มเป็นสถานที่ทำงาน โดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่บนโลกไร้พรมแดนให้เป็นประโยชน์ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานข้ามทวีป การท่องเที่ยวในลักษณะนี้มีข้อดีคือ จะมีนกท่องเที่ยวคุณภาพ ค่าใช้จ่ายต่อหัวสูงเมื่อเข้ามาในประเทศ และยังช่วยสร้ามสร้างภาพลักษณ์ในด้านการท่องเที่ยวให้กับประเทศด้วย
ที่ผ่านมาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พยายามส่งเสริมการท่องเที่ยวในลักษณะนี้ โดยสามารถกระตุ้นการท่องเที่ยวในรูปแบบ Workation ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งการพัฒนาและฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 พร้อมเปิดโอกาสให้บุคลากรในหน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ และกลุ่มคนวัยทำงาน สามารถเปลี่ยนสถานที่ทุกที่ให้เป็นที่ทำงาน ท่ามกลางบรรยากาศที่แตกต่างไปจากเดิม
พร้อมทั้งส่งเสริมนักท่องเที่ยวกลุ่ม Digital Nomad หรือ กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตเดินทางท่องเที่ยวและทำงานไปพร้อมๆ กัน โดยใช้ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือหลักในการหารายได้ โดยอาจมีธุรกิจออนไลน์ของตน เป็นฟรีแลนซ์ หรือทำงานโปรเจคต่างๆ ของบริษัทที่สามารถทำงานผ่านทางออนไลน์ได้ เช่น เขียนโปรแกรม งานการตลาด งานออกแบบ โดยกลุ่มโนแมดเหล่านี้ อาจเดินทางและไปทำงานในประเทศต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ จนอาจเลิกเช่าและขายบ้านในประเทศของตน และอาจเลือกประเทศที่ตัวเองชอบ เพื่อเป็นฐานหลักในการทำงานผ่านทางออนไลน์และท่องเที่ยวไปในพื้นที่ใกล้เคียงที่สนใจ
แต่ละสถานที่ที่ทางโนแมดได้ตัดสินใจไปอยู่เพื่อพักระยะยาวนั้น อาจจะเริ่มจากหลักการพักหลายสัปดาห์จนกระทั่งเกิน 6 เดือนไป และในการใช้ชีวิตแบบโนแมดที่เปลี่ยนสถานที่และทำงานไปตามเมืองต่าง ๆ โดยโนแมดส่วนใหญ่มาจากประเทศมาจากประเทศพัฒนาแล้วในแถบตะวันตกเป็นหลัก
สำหรับเทรนด์การท่องเที่ยวในปี 2566 ดังที่กล่าวมาข้างต้น นับเป็นหนึ่งตัวอย่างสำคัญที่น่าจะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้กลับฟื้นตัวมาได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือไม่น้อยกว่า 80% ก่อนจะเจอการระบาดของโลกร้ายได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
ทำไมการให้บริการ Digital Nomad ถึงน่าสนใจ
ดิจิทัลโนแมดส่วนมากมาจากประเทศแถบตะวันตก โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้จากผล Survey ของ MBO Partners นั้นคาดการณ์ว่าจะมี Digital Nomad เฉพาะในสหรัฐอเมริกาจำนวน 10.9 ล้านคนเพิ่มขึ้นเกือบ 50% จาก 7.3 ล้านคน ในขณะที่มีประชากรอีก 19 ล้าน ที่กำลังวางแผนที่จะเป็น Digital Nomad ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า และหากเรานำตัวเลขกำลังแรงงานสหรัฐอเมริกานั้น มีสัดส่วนแรงงานราว 27%ของประเทศรายได้สูงทั่วโลก ไปประมาณจำนวนดิจิทัลโนแมดทั่วโลกด้วยสัดส่วนเดียวกัน โนแมดทั่วโลกจะมีประมาณ 40 ล้านคนในปัจจุบัน ซึ่ง Digital Nomad ก็มีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากสถานการณ์โควิด
ด้วยสถานการณ์โควิดที่ทำให้หลายๆ ประเทศจำเป็นต้องล็อคดาวน์เป็นระยะเวลายาวนานหลายเดือน และต้องรักษาห่างในพื้นที่สาธารณะ บริษัทหลายบริษัทก็ได้อนุญาตให้พนักงาน Work From Home หรือแม้การที่พนักงานจะทำงานผ่าน Staycation จากที่พักในโรงแรมต่างๆ การจองที่พัก ซึ่งจากศึกษาของทาง Airbnb เองก็เริ่มแสดงให้เห็นเทรนด์ของความต้องการของการพักระยะยาวมากขึ้น ซึ่งความต้องการของการพักระยะยาวมากกว่า 28 วันนั้นเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าในไตรมาสแรกของปี 2021 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2020