“ไทย” เร่งสร้าง “เศรษฐกิจสีเขียว” หนุนพลังงานสะอาด – รถไฟฟ้า
การส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดในปัจจุบันไม่ใช่เพียงแต่กระแสอีกต่อไปแต่เป็นเรื่องที่รัฐบาลทั่วโลกหันมาใส่ใจ ออกมาตรการสนับสนุน รวมทั้งองค์กรเอกชนชั้นนำตอบรับการมุ่งสู่การลดการปล่อยคาร์บอนไดร์ออกไซด์ มุ่งสู่ “Net Zero” เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ที่เป็นอันตรายต่อโลก
ในส่วนของประเทศไทยมีเป้าหมายที่ได้ประกาศไว้ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (COP 27) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ที่กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-18 พ.ย. 2565 ณ เมืองชาร์ม เอล เชค สาธารณัฐอาหรับอียิปต์ ซึ่งถือเป็นการจัดประชุมประจำปีเพื่อหารือรายละเอียดความร่วมมือ และกำหนดทิศทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของประชาคมโลก
- ไทยขยับเป้าลดคาร์บอนเป็นศูนย์เร็วขึ้น
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ18 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้ให้ความเห็นชอบ สาระเพิ่มเติมจากการประชุม cop 26 ในด้านต่างๆ โดยกรอบท่าทีเจรจาของไทยเป็นไปตามหลักการของอนุสัญญาฯ และความตกลงปารีส สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ นโยบายและแผนของประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และไม่ขัดกับนโยบายของรัฐบาล โดยประเทศไทยในฐานะประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP) และความตกลงปารีส ซึ่งกำหนดเป้าหมายให้ประชาคมโลกจะต้องร่วมกันจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5-2 องศาเซลเซียสในปี ค.ศ. 2100 (พ.ศ. 2643) ได้จัดทำและปรับปรุงเอกสารยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ และการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดเพื่อยกระดับเป้าหมายของไทย
ได้แก่เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด เดิม ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) เป็น ค.ศ. 2025 (พ.ศ. 2568) (เร็วขึ้น 5 ปี) ความเป็นกลางทางคาร์บอน เดิม ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) เป็น ภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) (เร็วขึ้น 15 ปี) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เดิม ค.ศ. 2100 (พ.ศ. 2643) เป็น ภายในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) (เร็วขึ้น 35 ปี)
รวมทั้งการระบุประเด็นที่ไทยต้องการรับการสนับสนุนให้ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูงที่ไทยไม่มี และความช่วยเหลือในเรื่องการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น
- สุพัฒนพงษ์เผยหนุนเพิ่มสัดส่วนผลิตรถ EV
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน กล่าวว่าที่ผ่านมาประเทศไทยให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจสีเขียวที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ และได้ดำเนินการในเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2560 มีการลงทุนในเรื่องที่เกี่ยวข้องไปกว่า 6.4 แสนล้านบาท และมีการขับเคลื่อนเรื่องนี้ในหลายระดับตั้งแต่ระดับชุมชน เอสเอ็มอี ไปจนถึงโครงการขนาดใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมซึ่งรวมถึงการผลักดันและส่งเสริมการใช้และผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ภายในประเทศ
ทั้งนี้ภายหลังจากที่รัฐบาลมีการออกมาตรการจูงใจ รวมทั้งการลดภาษีสรรพสามิตก็ทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่ประเทศชั้นนำของรถ EV ประเทศหนึ่งของโลก โดยในปีนี้มียอดจองรถ EV รวมแล้วกว่า 15,000 คัน โดยเมื่อมียอดจองรถ EV มากขึ้นขั้นต่อไปคือการผลักดันการผลิตในประเทศให้เร็วขึ้นเบื้องต้นต้องพยายามให้มีการผลิตรถ EV ในประเทศให้ได้ 10% ของยอดการผลิตรถยนต์ทั้งหมดของประเทศให้เร็วที่สุด
โดยภาครัฐมีการสนับสนุนทางการเงินแต่ไม่ได้เป็นการให้เปล่าไม่ได้เป็นการใช้จ่ายไปเฉยเฉยแต่เป็นการให้ผลประโยชน์เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้บริโภคให้กับคนที่ต้องการใช้รถไฟฟ้า และผู้ขายรถไฟฟ้ามีพันธะสัญญาที่จะต้องมาสร้างโรงงานในประเทศไทย ขณะนี้มีบริษัทผู้ผลิตรถ EV กว่า 5 บริษัทที่ตัดสินใจเข้ามาสร้างโรงงานในประเทศไทย ส่วนค่ายรถยุโรปก็มีคนสนใจทั้งเมอร์ซีเดสเบนซ์และบีเอ็มดับเบิลยูก็อาจจะเข้ามาลงทุนหลังจากนี้
- สั่งเพิ่มไฟฟ้าสะอาดหมื่นเมกะวัตต์
สุพัฒนพงษ์กล่าวด้วยว่าสิ่งที่คิดต่อก็คือเมื่อมีรถ EV มากขึ้นก็ต้องมีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดมากขึ้นด้วย ซึ่งสิ่งที่จะผลักดันคือการเพิ่มสัดส่วนของพลังงานสะอาดที่มาจากพลังงานหมุนเวียน และพลังงานทดแทนทุกๆอย่างเพิ่มขึ้นอีก กว่า 10,000 เมกะวัตต์โดยมีการสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานสะอาดในรถ EV ซึ่งจะช่วยส่งเสริมเป้าหมายเรื่องของความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050
โดยสิ่งที่จะช่วยให้ไทยสามารถไปถึงเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนได้เร็วกว่าเป้าหมายที่วางไว้อาจต้องเร่งเรื่องของรถไฟฟ้า พลังงานสะอาด การจัดการขยะรวมทั้ง เทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน (CCS) ที่ลักษณะทางธรณีวิทยาของประเทศไทย สามารถที่จะกักเก็บคาร์บอนในใต้ดินได้ เนื่องจากมีลักษณะธรณีวิทยาคล้ายๆกับประเทศนอร์เวย์ซึ่งใช้เทคโนโลยีนี้ โดยเรื่องนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาหากสามารถที่จะทำได้ก็จะทำให้สามารถเลื่อนเป้าหมายการลดคาร์บอนไดออกไซด์ของไทยขึ้นมาได้เร็วขึ้น
- ความต้องการใช้ไฟฟ้าไทยเพิ่มตามภาวะเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ในแง่ของภาพรวมการผลิตไฟฟ้า และความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ปรับเพิ่มขึ้นตาม กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ดีขึ้น โดยสถานการณ์การใช้และการจัดหาไฟฟ้าของไทย การใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2565 ปรับตัว ดีขึ้นจากปีก่อน หรือคิดเป็นระดับการใช้ไฟฟ้าที่ 116,188 กิกะวัตต์ชั่วโมง (ไม่รวมการใช้ไฟฟ้าจากกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เองหรือ IPS) หรือเพิ่มขึ้น 4.1% จากปีก่อน โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้ไฟฟ้าในสาขาหลักๆ เช่น ภาคอุตสาหกรรมสัดส่วน 44.9% ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.6% จากปีก่อน ตามเศรษฐกิจในประเทศและภาคการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวต่อเนื่อง ด้าน ภาคธุรกิจ (สัดส่วน 22.9%) เพิ่มขึ้น 9% จากปีก่อนจากการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น ในกลุ่มธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจห้างสรรพสินค้า ธุรกิจ ภัตตาคารและไนต์คลับ เป็นต้น หลังสถานการณ์ COVID-19 ทั้งใน ประเทศและต่างประเทศคลี่คลาย นักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มทยอยเข้ามา ท่องเที่ยวในไทยมากขึ้น
ขณะที่ภาคครัวเรือนที่มีสัดส่วนราว 27.8% พบว่ามีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพียง 0.7%เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งแม้จะมีแรงส่งจากการ Work From Home ที่ยังดำเนินอยู่ต่อเนื่อง แต่ด้วยอัตราค่าไฟฟ้าที่ปรับ เพิ่มขึ้นมาก บวกกับภาระค่าครองชีพต่างๆ ที่สูงขึ้น ทำให้การใช้ไฟฟ้า ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงอย่างเห็นได้ชัด
- อนาคตธุรกิจพลังงานทดแทนสดใส
ข้อมูลจากฝ่ายวิจัยธุรกิจธนาคารแลนด์แอนด์เฮาส์ ระบุว่ากลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าทั้งผู้ผลิตโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) และขนาดเล็กมาก (VSPP) ที่ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานหมุนเวียนจะมีโอกาสเติบโตได้ดีมากขึ้นในระยะถัดไปจากการเปลี่ยนผ่านจากพลังงานฟอสซิลไปสู่ พลังงานสะอาดมากขึ้น
ภาครัฐจะให้ความสำคัญและเพิ่ม สัดส่วนพลังงานสะอาดลงไปในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan) หรือแผน (PDP) ฉบับใหม่อย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง ฟอสซิลมีแน้วโน้มจะถูกจำกัดการเติบโตในระยะข้างหน้า
ทั้งนี้ในภาพรวมธรุกิจ ปี 2565 ธุรกิจผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนยังขยายตัวได้ตามความ ต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นเกือบทุกสาขาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้น ในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ หลังสถานการณ์COVID-19 ทั้งใน ประเทศและต่างประเทศคลี่คลาย ทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถ กลับมาดำเนินได้ตามปกติบวกกับอานิสงส์จากราคาขายไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ตามการปรับขึ้นของอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) ตลอดจนรายได้ จากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่างๆ และการลงทุนในต่างประเทศยังหนุนให้ รายได้และกำไรของธุรกิจผลิตไฟฟ้าเติบโตได้ค่อนข้างดี
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลประกอบการโดยรวมจะปรับตัวดีขึ้น แต่ ผู้ผลิตไฟฟ้าบางกลุ่มยังถูกกดดันจากต้นทุนราคาเชื้อเพลิงในการผลิต ไฟฟ้าที่ปรับสูงขึ้นตามทิศทางราคาพลังงาน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า จากก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน นอกจากนี้ กลุ่มดังกล่าวยังได้รับ ผลกระทบจากความไม่แน่นอนของแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ ประเทศไทย (PDP) ฉบับใหม่ที่จะทยอยเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดใน ระบบการผลิตไฟฟ้าของประเทศมากขึ้น ตามทิศทางกระแสพลังงานโลก เนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเริ่มมุ่งเน้นไปที่พลังงานสะอาด (Clean Energy) เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emission หรือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจนเป็นศูนย์มากขึ้น ทำให้ในปีนี้ ผู้ผลิตไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลเป็นหลักต่างกังวลและเร่งปรับตัว เพื่อให้สอดรับกับทิศทาง Energy Transition จึงส่งผลให้การลงทุนใหม่ ของกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนออกไป
ทั้งนี้หากพิจารณาสถานะกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้า ข้อมูล ณ พ.ค. 2565 พบว่าปัจจุบันมีการผลิตและส่งไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว ทั้งสิ้น 12,439 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็น 42.3% ของเป้าหมายทั้งหมด ซึ่งใน แง่การเติบโตของการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อผลิตไฟฟ้าในปีนี้กลับ ชะลอตัว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแรงกดดันด้านต้นทุนที่สูงขึ้น และอีกส่วนหนึ่งมาจากความไม่แน่นอนของแผนการรับซื้อไฟฟ้าของภาครัฐ ทำให้ การลงทุนของผู้ประกอบการบางส่วนชะลอออกไป
- ภาครัฐขยายการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
หากพิจารณาเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าจาก พลังงานหมุนเวียนทั้งหมด นับว่ายังห่างไจากเป้าหมายการรับซื้อตาม แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน Alternative Energy Development Plan ( AEDP) 2018 Rev.1 มีการให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนและหลังงานหมุนเวียนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ที่แม้จะมีไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว ถึง 2,996 เมกะวัตต์ แต่เนื่องจากภาครัฐมีการขยายการรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ปัจจุบันมีการผลิตและส่งไฟฟ้าเข้าระบบได้เพียง 24.7% จากเป้าหมาย 12,139 เมกะวัตต์เท่านั้น
นอกจากนี้ภาครัฐยังเพิ่มการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบของทุ่นลอยน้ำอีก 2,725 เมกะวัตต์ซึ่งปัจจุบันสามารถ COD ได้เพียง 45 เมกะวัตต์หรือเพียง 1.7% ของเป้าหมายกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด จากข้อมูลข้างต้น จะ เห็นได้ว่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ยังมีโอกาสที่จะขยายการ ลงทุนใหม่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบน หลังคา (Solar Rooftop) ซึ่งได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งภาค ครัวเรือนและภาคธุรกิจ รวมทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปของทุ่นลอยน้ำ
นอกจากนี้พลังงานหมุนเวียนประเภทอื่น อาทิ พลังงานชีวมวล ลม และ ขยะก็มีแนวโน้มดีเนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ภาครัฐเร่งรับซื้อไฟฟ้า ทั้งยังเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพการแข่งขันทั้งด้านต้นทุนและแหล่งวัตถุดิบ
สถานการณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลงังานหมุนเวียน สำหรับกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ตาม แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ปี 2561- 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พบว่าภาครัฐยังคงมุ่งเน้นการผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานหมุนเวียนด้วยเป้าหมายไม่ต่ำกว่า 30% ของการผลิตไฟฟ้า ทั้งหมด ณ สิ้นสุดปลายแผนปี 2580 หรือคิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้ง ไฟฟ้าทั้งหมด 2,911 เมกะวัตต์
แนวโน้มการเติบโตของธรุกิจ แนวโน้มธุรกิจผลิตไฟฟ้าในปี 2566 คาดจะยังเติบโตได้ดีต่อเนื่อง ตามปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจและ กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ดีขึ้นเป็นลำดับ ประกอบกับนโยบายเปิด ประเทศของไทยและหลายประเทศต้นทางมีการผ่อนคลายมาตรการจำกัด การเดินทางระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง น่าจะส่งผลให้ภาคการ ท่องเที่ยวและธุรกิจโรงแรมทยอยฟื้นตัว นอกจากนี้ แรงหนุนจากโครงการ รถไฟฟ้าที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566 ตลอดจนตลาดรถยนต์ EV ที่มี แนวโน้มเติบโตดีน่าจะเร่งให้มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
- ธุรกิจไฟฟ้าไทยขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ
นอกจากนี้ กลุ่ม ธุรกิจไฟฟ้าบางกลุ่มยังได้รับผลดีจากการขยายการลงทุนไปยัง ต่างประเทศ อีกทั้งมีโอกาสเพิ่มเติมจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงาน สะอาดต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ คาดว่ากลุ่มโรงไฟฟ้า SPP และ VSPP ที่ใช้เชื้อเพลิงจาก พลังงานหมุนเวียนจะมีโอกาสเติบโตได้ดีในระยะถัดไป จากปัจจัย สนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเปลี่ยนผ่านจากพลังงานฟอสซิล ไปสู่พลังงานสะอาดมากขึ้น ดังนั้น ภาครัฐอาจให้ความสำคัญและเพิ่ม สัดส่วนพลังงานสะอาดลงไปในแผน PDP ฉบับใหม่อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่ง จะเป็นโอกาสและสัญญาณที่ดีต่อพลังงานหมุนเวียนเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล พลังงาน ลม และขยะ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ภาครัฐจะเร่งรับซื้อไฟฟ้าตามแผน AEDP ในระยะอันใกล้ ในขณะเดียวกันกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง ฟอสซิลอาจมีแนวโน้มถูกจำกัดการเติบโตได้ในระยะข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม การเติบโตของธุรกิจผลิตไฟฟ้าอาจจะยังถูกกดดัน จากต้นทุนเชื้อเพลิงที่ยังคงอยู่ในระดับสูง จากความเสี่ยงด้านซัพพลาย และปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ กอปรกับการ แข่งขันในธุรกิจที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียน เนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ภาครัฐจะเร่งทยอยรับซื้อไฟฟ้า และเร่งจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ ทำให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ขยายแผนการ ลงทุนมายังธุรกิจผลิตไฟฟ้ามากขึ้น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของ นโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากภาครัฐ ซึ่งอาจกดดันโอกาสในการลงทุน ใหม่และการทำกำไรของผู้ประกอบการในระยะถัดไป