สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 13 ก.ค. 66

ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณ จ.เชียงราย (66) จ.นราธิวาส (58) จ.สกลนคร (51) จ.กาญจนบุรี (26) จ.นครนายก (23) จ.พระนครศรีอยุธยา (15)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,590 ล้าน ลบ.ม. (49%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,122 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่ โรงพยาบาลสมเด็จยุพราชท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เพื่อแนะนำชี้แจง และสำรวจความเหมาะสมของพื้นที่ก่อนเข้าร่วมแผนงานโครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกล
เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ภัยแล้งซ้ำซากหรือน้ำเค็มเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ การรักษาพยาบาลผู้ป่วยและการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคของประชาชนประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ และได้ประเมินวิเคราะห์ พบพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขัง ในช่วงวันที่ 15 – 20 ก.ค. 66 ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เชียงราย (อ.แม่สาย และแม่จัน) จ.น่าน (อ.เฉลิมพระเกียรติ ปัว และเชียงกลาง) จ.แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองแม่ฮ่องสอน แม่ลาน้อย แม่สะเรียง ขุนยวม ปางมะผ้า ปาย และ สบเมย) จ.ตาก (อ.แม่ระมาด แม่สอด พบพระ ท่าสองยาง และอุ้มผาง)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย (อ.เมืองหนองคาย) จ.บึงกาฬ(อ.เซกา และบึงโขงหลง) จ.สกลนคร (อ.โคกศรีสุพรรณ) จ.ร้อยเอ็ด (อ.เสลภูมิ และโพนทอง) จ.อุบลราชธานี (อ.บุณฑริก)
ภาคตะวันออก จ.ระยอง (อ.เขาชะเมา และแกลง) จ.จันทบุรี
(อ.เมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ มะขาม และแก่งหางแมว) จ.ตราด (อ.เมืองตราด บ่อไร่ เกาะช้าง และเกาะกูด)
ภาคใต้ จ.ชุมพร (อ.พะโต๊ะ) จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง สุขสำราญ และกะเปอร์) จ.พังงา (อ.กะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จ.ภูเก็ต (อ.เมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จ.กระบี่ (อ.เมืองกระบี่ เกาะลันตา คลองท่อม เหนือคลอง และอ่าวลึก) จ.ตรัง (อ.เมืองตรัง กันตัง ห้วยยอด และปะเหลียน)จ.สตูล (อ.ทุ่งหว้า มะนัง ท่าแพ และควนกาหลง) จ.พัทลุง (อ.เมืองพัทลุงป่าบอน และควนขนุน) จ.นราธิวาส (อ.ระแงะ)
ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิด
น้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน
เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
