สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 มิ.ย. 66
ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ปัตตานี (128) จ.จันทบุรี (108) จ.เชียงราย (53) จ.นครพนม (51) จ.พระนครศรีอยุธยา (25) และจ.กาญจนบุรี (20)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,705 ล้าน ลบ.ม. (52%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,299 ล้าน ลบ.ม. (54%) คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และตาก ภาคตะวันออก จ.ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก กาญจนบุรี ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต กระบี่ ตรัง
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอเขาค้อ นำเครื่องสูบส่งน้ำระยะไกลสูบน้ำจากลำน้ำเข็กเข้าสู่สระประปา หมู่ที่ 10 ตำบลหนองแม่นา จำนวน 2 สระ และขณะนี้ได้ขยายสายสูบน้ำระยะทาง 1,200 เมตร ไปยังสระประปา หมู่ที่ 8 ตำบลหนองแม่นา เดินเครื่องสูบน้ำสูงสุด 2,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
กอนช.ติดตามสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และได้ประเมินคาดการณ์ปริมาณน้ำต้นทุนโดยใช้ฝนคาดการณ์ ONEMAP รายเดือนกรณีค่าต่ำสุด เมื่อสิ้นสุดฤดูฝน ณ วันที่ 1 พ.ย.66 พบว่า ทุกภาคมีปริมาณน้ำน้อยกว่าน้ำต้นทุน ปี 2565 โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก มีปริมาณน้ำร้อยละ 60 -70 ส่วนภาคกลาง ร้อยละ 50 และภาคใต้ ร้อยละ 80 กอนช. ยังได้คาดการณ์อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีความเสี่ยงน้อย (ปริมาตรน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บต่ำสุด Lower Rule Curve) พบว่ามีจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือ อ่างฯ แม่มอก ภาคกลาง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ภาคตะวันตก อ่างฯปราณบุรี และภาคตะวันออก อ่างฯ คลองสียัด กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าฤดูฝนปี 2566 จะมีปริมาณฝนตกน้อยกว่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5 – 10 และช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลงส่งผลให้เกิดการขาดแคลนน้ำด้านการเกษตรได้ ทั้งนี้ กอนช.ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝนนี้ และฤดูแล้ง 2566/67 เพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 4 มิถุนายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมชลประทาน ลงพื้นที่ตรวจสอบระบบการ เปิด-ปิด บานระบายของเขื่อนหัวนา ณ ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารการจัดการน้ำ และรับสถานการณ์น้ำหลากในช่วงฤดูฝน และดำเนินการกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำ คลอง 3ขวา-2ซ้าย ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เพื่อให้การส่งน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สภาพอากาศ
ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 42,706 ล้าน ลบ.ม. (52%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่38 แห่ง มีปริมาณน้ำ 38,299 ล้าน ลบ.ม. (54%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,650 ล้าน ลบ.ม. (46%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,757 ล้าน ลบ.ม. (34%)3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ)ปริมาณน้ำใช้การ 5,057 ล้าน ลบ.ม. (28%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ค. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 14,563ล้าน ลบ.ม. (31%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 15,701 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 3,711 ล้าน ลบ.ม. (24%)4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 5,499 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 1,637ล้าน ลบ.ม. (30%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประชุมรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในเขตลุ่มน้ำ ทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วมลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง เพื่อประกอบการจัดทำแผนฯ ดังกล่าวให้มีความสมบูรณ์สอดคล้องกับบริบทพื้นที่มากขึ้น และนำมาเป็นแผนฯ ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมในเขตลุ่มน้ำ ณ ห้องประชุมหาดวาสุกรีศาลากลางจังหวัดปัตตานี จังหวัดปัตตานีคาดการณ์สถานการณ์ฝนพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย ได้แก่ จังหวัดพังงา (ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า) จังหวัดเชียงใหม่ (แม่อาย)