สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 3 มิ.ย. 66
ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ ภาคเหนือ จ.อุทัยธานี (99) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.กาฬสินธุ์ (55) ภาคใต้ จ.นราธิวาส (54) ภาคตะวันออก จ.นครนายก (20) ภาคกลาง จ.สิงห์บุรี (18) และภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี (9)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,817 ล้าน ลบ.ม. (52%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,410 ล้าน ลบ.ม. (54%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำบางปะกง ค่าความเค็มสูงเกินมาตรฐาน
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่ ภาคตะวันออก จ.ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
กรมทางหลวงชนบท ขุดลอกดินโคลน เศษวัชพืชที่กีดขวางทางน้ำบริเวณห้วยหินแตก พร้อมติดตั้งกล่องลวดตาข่ายบรรจุหิน (Gabion boxes) ป้องกันกระแสน้ำกัดเซาะตลิ่งและบริเวณเชิงสะพานบนถนนทางหลวงชนบทสาย นค.3026 แยก ทล.211 บ้านเชียงดี (ตอนหนองคาย) อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย เพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน
สทนช. โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 และการเตรียมการรับมือสถานการณ์เอลนีโญในพื้นที่ต้นน้ำของลุ่มน้ำปาสัก อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ โดยได้รับทราบปัญหาการใช้น้ำในพื้นที่ ดังนี้ปัญหาน้ำลันตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในช่วงน้ำหลากเป็นประจำทุกปีดินตะกอนไหลทับถมกลางแม่น้ำป่าสักเกิดการตื้นเชินช่วงฤดูแล้งมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำด้านการอุปโภค-บริโภค ของประชาชนในพื้นที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างโครงการป้องกันตลิ่งและเสริมกันกั้นน้ำแม่น้ำป่าสัก ม.2 ต.ตาลเดี่ยว อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ทั้งนี้ ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 ได้รวบรวมประเด็นปัญหานำเรียนคณะกรรมการลุ่มน้ำป่าสักทราบถึงปัญหาดังกล่าว และเตรียมการจัดประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำปาสัก ครั้งที่ 2/2566 สัญจร จ.เพชรบูรณ์ เพื่อให้คณะกรรมการลุ่มน้ำป่าสักได้ทราบถึงลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ต้นน้ำ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ ตั้งแต่ต้นน้ำ – กลางน้ำ – ปลายน้ำ ของคณะกรรมการลุ่มน้ำป่าสักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 3 มิถุนายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมทางหลวงชนบท ดำเนินการขุดลอกดินโคลน เศษวัชพืชที่กีดขวางทางน้ำบริเวณห้วยหินแตก พร้อมติดตั้งกล่องลวดตาข่ายบรรจุหิน (Gabion boxes) ป้องกันกระแสน้ำกัดเซาะตลิ่งและบริเวณเชิงสะพานบนถนนทางหลวงชนบทสาย นค.3026 แยก ทล.211 – บ้านเชียงดี (ตอนหนองคาย) อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ช่วง กม.ที่ 21+300เพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ตามแนวทางการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์อุทกภัยของกรมทางหลวงชนบท ที่มีแนวทางให้หน่วยงานในพื้นที่เตรียมพร้อมด้านเครื่องมือ เครื่องจักร และเจ้าหน้าที่ ในการให้ความช่วยเหลือและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมถึงการทำความสะอาดช่องทางระบายน้ำ ตัดหญ้ากำจัดวัชพืชที่ขวางทางระบายน้ำ ท่อลอดหรือสะพาน เพื่ออำนวยความสะดวก สร้างความปลอดภัยในการเดินทางให้กับประชาชน
สภาพอากาศ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 42,817 ล้าน ลบ.ม. (52%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง มีปริมาณน้ำ 38,410 ล้าน ลบ.ม. (54%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,652 ล้าน ลบ.ม. (46%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,757 ล้าน ลบ.ม. (34%) 3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ)ปริมาณน้ำใช้การ 5,107 ล้าน ลบ.ม. (28%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ค. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 14,673ล้าน ลบ.ม. (31%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 15,701 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 3,611 ล้าน ลบ.ม. (23%)4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 5,499 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 1,625ล้าน ลบ.ม. (30%)คาดการณ์สถานการณ์ฝนพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย ได้แก่ จังหวัดพังงา (ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า คุระบุรี เพื่องพังงา) จังหวัดระนอง (เมืองระนอง)