สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 25 พ.ค. 66
ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.น่าน (196) จ.จันทบุรี (98) จ.บึงกาฬ (92) จ.นครปฐม (37) จ.พังงา (32) และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ (30)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,707 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,253 ล้าน ลบ.ม. (55%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำบางปะกง ค่าความเค็มสูงเกินมาตรฐาน และแม่น้ำท่าจีนค่าออกซิเจนต่ำกว่ามาตรฐาน
กรมชลประทาน ปรับ 12 มาตรการรับฤดูฝน สู่ 6 แนวทางปฏิบัติของกรมชลประทาน ประกอบด้วย 1.กักเก็บเต็มประสิทธิภาพ 2.คาดการณ์พื้นที่เสี่ยง 3.หลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง 4.ระบบชลประทานเร่งระบาย 5.เตรียมพร้อมเครื่องมือเครื่องจักร และ 6.แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ พร้อมจัดสรรเครื่องจักร-เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำประจำอยู่ทั่วประเทศรวม 5,382 หน่วย
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำนองไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 27 พ.ค.–1 มิ.ย. 66 ได้แก่ จ.เพชรบูรณ์ (อ.หล่มเก่า) จ.เพชรบุรี (อ.ท่ายาง บ้านลาด และเมืองเพชรบุรี) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (อ.หัวหิน และปราณบุรี) จ.สุรินทร์ (อ.เมืองสุรินทร์) จ.บุรีรัมย์ (อ.เมืองบุรีรัมย์) จ.อุบลราชธานี (อ.เมืองอุบลราชธานี และพิบูลมังสาหาร) จ.ชลบุรี (อ.เมืองชลบุรี) จ.ระยอง (อ.เมืองระยอง และแกลง) จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี) จ.ตราด (อ.เมืองตราด และเขาสมิง) จ.ชุมพร (อ.พะโต๊ะ) จ.ระนอง (อ.กะเปอร์ เมืองระนอง และสุขสำราญ) จ.พังงา (อ.กะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จ.ภูเก็ต (อ.กะทู้ ถลาง และเมืองภูเก็ต) จ.กระบี่ (อ.เกาะลันตา คลองท่อม เมืองกระบี่ เหนือคลอง และอ่าวลึก) จ.ตรัง (อ.เมืองตรัง กันตัง และปะเหลียน) และ จ.สตูล (อ.ทุ่งหว้า)
นาย สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ฝ่ายไทย ร่วมกับประธานคณะกรรมการดำเนินงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ฝ่ายฮังการี เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานในพื้นที่เมืองโซลโนก (Szolnok) และทะเลสาบทิสซา (Lake Tisza) ประเทศฮังการี เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 66โดยทะเลสาบทิสซา เป็นอ่างเก็บน้ำที่สร้างขึ้นมาในพื้นที่ราบของแม่น้ำทิสซาของประเทศฮังการี มีนวัตกรรม รูปแบบ และแนวคิดการบริหารจัดการน้ำในช่วงน้ำท่วมและน้ำแล้งที่หน่วยงานประเทศไทยสามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและต่อยอดในการดำเนินงานสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นรูปธรรม ภายใต้กรอบความร่วมมือการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำไทย-ฮังการี ต่อไป
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ดังนี้
ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ในช่วงวันที่ 27 พ.ค. – 1 มิ.ย. 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มเก่า) ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี (อำเภอท่ายาง บ้านลาด และเมืองเพชรบุรี) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อำเภอหัวหิน และปราณบุรี) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอเมืองสุรินทร์) จังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอเมืองอุบลราชธานี และพิบูลมังสาหาร) ภาคตะวันออก ได้แก่จังหวัดชลบุรี (อำเภอเมืองชลบุรี) จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง และแกลง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด และเขาสมิง) และ ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร (อำเภอพะโต๊ะ) จังหวัดระนอง(อำเภอกะเปอร์ เมืองระนอง และสุขสำราญ)จังหวัดพังงา (อำเภอกะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอกะทู้ ถลาง และเมืองภูเก็ต) จังหวัดกระบี่ (อำเภอเกาะลันตา คลองท่อม เมืองกระบี่ เหนือคลองและอ่าวลึก) จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง กันตัง และปะเหลียน) จังหวัดสตูล (อำเภอทุ่งหว้า)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรุงเทพมหานคร จัดประชุมหารือเตรียมความพร้อมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เขตประเวศและได้ติดตั้งครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมบริเวณจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงพื้นที่เอกชนบริเวณหมู่บ้านเมืองทอง 2/4
สภาพอากาศ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก แต่ยังคงมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
4.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 43,707 ล้าน ลบ.ม. (53%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง มีปริมาณน้ำ 39,253 ล้าน ลบ.ม. (55%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,698 ล้าน ลบ.ม. (47%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,757 ล้าน ลบ.ม. (35%)4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ)ปริมาณน้ำใช้การ 5,541 ล้าน ลบ.ม. (30%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์สทนช.
ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านน้ำ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฮังการี-ไทย ครั้งที่ 3 ณ กระทรวงมหาดไทยฮังการี กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการีโดยมุ่งเน้นประเด็นการคุ้มครองและรักษาคุณภาพแหล่งน้ำ ครอบคลุม 3 หัวข้อ ได้แก่ 1.การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล ทั้งในประเด็นการใช้น้ำบาดาล การอนุรักษ์ การฟื้นฟู การบริหารจัดการชั้นหินอุ้มน้ำข้ามพรมแดน กฎหมายและระเบียบ การเฝ้าระวัง และธรรมาภิบาล 2. การจัดการตะกอน และ 3. การใช้เทคโนโลยี Riverbank Filtration (RBF) ซึ่งเป็นไปตามแผนงานความร่วมมือทวิภาคีไทย – ฮังการี ระยะเวลา 3 ปี