สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 23 พ.ค. 66
ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.เชียงราย (80) จ.ตรัง (72) จ.หนองคาย (62) จ.สระแก้ว (32) จ.กาญจนบุรี (26) และ จ.ปทุมธานี (13)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,932ล้าน ลบ.ม. (55%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,469 ล้าน ลบ.ม. (53%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำบางปะกง ค่าความเค็มสูงเกินมาตรฐาน
กองทัพบก จัดกำลังพลจิตอาสาพระราชทาน ร่วมกับ ประชาชนในพื้นที่ ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเก็บขยะบริเวณประตูระบายน้ำ และเทน้ำหมักชีวภาพ เพื่อป้องกันปัญหาจากขยะอุดตันประตูระบายน้ำ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพน้ำในลำคลองให้สะอาดยิ่งขึ้น และปลูกจิตใต้สำนึกให้ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ณ สถานีสูบน้ำลำรางวัดกลาง เขตบางกะปิ กทม.+ สทนช. ติดตามแผนงานโครงการในเขตลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก พื้นที่เกาะมุกต์ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
กอนช. ติดตามการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบน-ตอนกลาง บรรเทาปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง
กรมชลประทาน ได้วางแผนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งอย่างเป็นระบบในลุ่มน้ำห้วยหลวง ทั้งในปัจจุบันและอนาคตของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบน-ตอนกลาง จังหวัดอุดรธานี เพื่อนำเสนอโครงการที่มีความสำคัญเร่งด่วนในการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำและบรรเทาอุทกภัย ประกอบด้วยโครงการฝายบ้านกุดหมากไฟ ตำบลกุดหมากไฟ อำเภอหนองวัวซอส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานได้กว่า 8,300 ไร่โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านขอนยูงน้อย ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ ความจุ 4.38 ล้าน ลบ.ม. ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทาน 6,789 ไร่ รวมทั้งผันน้ำส่วนเกินไปลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวงได้ปีละกว่า 2 ล้าน ลบ.ม. โครงการประตูระบายน้ำห้วยเชียง 2 ตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานได้กว่า 1,300 ไร่ รวมทั้งผันน้ำส่วนเกินไปยังอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวงได้ประมาณปีละ 4.13 ล้าน ลบ.ม. โครงการบริหารจัดการน้ำประตูระบายน้ำบ้านสามพร้าว ที่สร้างปิดกั้นลำน้ำห้วยหลวง ตำบลสามพร้าว อำเภอเมืองอุดรธานี มีความจุเก็บกักประมาณ 1.88 ล้าน ลบ.ม.หากดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้ จะทำให้มีพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น 99,728 ไร่ มีพื้นที่รับประโยชน์ 24,289 ไร่ และมีปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 103.36 ล้าน ลบ.ม.
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการลอกท่อระบายน้ำ แล้วเสร็จ 61.14% เป็นจำนวน 2,410,517 เมตร ดำเนินการขุดลอกคลองแล้วเสร็จ 75% จำนวน 152,028 เมตร และดำเนินการเปิดทางน้ำไหลแล้วเสร็จ 85% จำนวน 1,290,012 เมตร
สภาพอากาศ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศจีนตอนใต้และประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่ยังมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 43,932 ล้าน ลบ.ม. (53%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง มีปริมาณน้ำ 39,469 ล้าน ลบ.ม. (55%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,706 ล้าน ลบ.ม. (47%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,757 ล้าน ลบ.ม. (35%) 3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 5,632 ล้าน ลบ.ม. (31%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ค. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 15,724 ล้าน ลบ.ม. (33%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 15,701 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 2,462 ล้าน ลบ.ม. (16%) 4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 5,499 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 1,091 ล้าน ลบ.ม. (20%)
พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม
สทนช. ได้ติดตามสภาพอากาศสถานการณ์น้ำ พบว่าลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมมีกำลังแรงและหย่อมความกดอากาศต่ำพัดเข้าสู่ตอนกลางของประเทศเวียดนามและกัมพูชา อาจทำให้มีฝนตกหนักและก่อให้เกิดปัญหาน้ำหลาก ดินถล่ม โดยมีผลกระทบกับ ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี (อำเภอเมืองชลบุรี) จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง และแกลง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี) และจังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด และเขาสมิง) และภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร (อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดระนอง (อำเภอกะเปอร์ เมืองระนอง และสุขสำราญ) จังหวัดพังงา (อำเภอกะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอกะทู้ ถลาง และเมืองภูเก็ต) จังหวัดกระบี่ (อำเภอเกาะลันตา คลองท่อม เมืองกระบี่ เหนือคลอง และอ่าวลึก) จังหวัดตรัง (อำเภอกันตัง และปะเหลียน) และจังหวัดสตูล (อำเภอทุ่งหว้า)