สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 เม.ย. 66
ประเทศไทยตอนบน มีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.หนองคาย (62 มม.) จ.เลย (55 มม.) และ จ.นครศรีธรรมราช (50 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 23,483 ล้าน ลบ.ม. (41%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 19,203 ล้าน ลบ.ม. (40%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กองทัพบก จัดกำลังพล พร้อมรถยนต์บรรทุกน้ำ 6,000 ลิตร จำนวน 1 คัน ร่วมกับ อบต.ห้วยยูง และผู้นำท้องที่ ดำเนินการแจกจ่ายน้ำในพื้นที่ ม.3 ต.ห้วยยูง อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ ซึ่งประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในการอุปโภค-บริโภค เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชน จากการประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้ง รวมปริมาณน้ำที่ใช้แจกจ่ายจำนวน 4 เที่ยว 24,000 ลิตร
กอนช. ติดตามการดำเนินงานภายใต้ 10 มาตรการรับมือฤดูแล้งปี 2565/2566 จังหวัดพังงาและกระบี่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานภายใต้ 10 มาตรการรับมือฤดูแล้ง 2565/2566 และแผนการบริหารจัดการในฤดูแล้ง การประปาส่วนภูมิภาค สาขาตะกั่วป่าและสาขากระบี่ รายงานว่า การประปาส่วนภูมิภาค สาขาตะกั่วป่า มีสถานีผลิตน้ำ ทั้งหมด 2 แห่งได้แก่ สถานีผลิตน้ำโคกเคียน และสถานีผลิตน้ำบ้านลำแก่น คาดว่ามีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภคตลอดฤดูแล้ง แต่พบว่ามีปัญหาเรื่องน้ำเค็มรุกล้ำ ในคลองตะกั่วป่าจึงไม่สามารถใช้น้ำดิบเพื่อผลิตประปาได้การประปาส่วนภูมิภาค สาขากระบี่ มีสถานีผลิตน้ำ ทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ สถานีผลิตน้ำแม่ข่ายตลาดเก่า สถานีผลิตน้ำหน่วยบริการหนองทะเล และสถานีผลิตน้ำหน่วยบริการเขาพนม คาดว่ามีปริมาณน้ำจากสถานีผลิตน้ำแม่ข่ายตลาดเก่าเพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค และภาคการท่องเที่ยว อยู่ที่ประมาณ 4 เดือน จากนั้น จะสูบน้ำจากสถานีสูบน้ำดิบสระทับปริก มาสำรองใช้ ซึ่งสามารถสำรองได้ประมาณ 50 วัน (500 ลบ.ม./ ชม.)ทั้งนี้ การประปาส่วนภูมิภาค สาขาตะกั่วป่า และสาขากระบี่ ได้เตรียมแผนรับมือฤดูแล้ง และเตรียมการทั้งแผน ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และ สทนช. ได้เสนอแนวทางแก้ไขการขาดแคลดน้ำ ในปีต่อไปให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งหวังให้ทั้งด้านอุปโภค บริโภคและภาคการท่องเที่ยวให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 22 เมษายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
1.1 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานภายใต้ 10 มาตรการรับมือฤดูแล้ง2565/2566 ของการประปาส่วนภูมิภาค สาขาตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และสาขากระบี่ จังหวัดกระบี่ โดยคาคว่ามีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภคตลอดฤดูแล้ง แต่สาขากระบี่ คาดว่าจะมีปริมาณน้ำจากสถานีผลิตน้ำแม่ข่ายตลาดเก่าเพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค และภาคการท่องเที่ยว ประมาณ 4 เดือน จากนั้นจะสูบน้ำจากสถานีสูบน้ำดิบสระทับปริก มาสำรองใช้ โดยสามารถสำรองน้ำได้ประมาณ 50 วัน ทั้งนี้ได้เตรียมแผนรับมือฤดูแล้งและเตรียมการทั้งแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลดน้ำในปีถัดไปให้เป็นไปตามนโยนายของรัฐบาลที่มุ่งหวังให้ทั้งด้านอุปโภค-บริโภค และภาคการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
1.2 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จัดกำลังพลจิตอาสาพระราชทานของหน่วย พร้อมรถบรรทุกน้ำขนาด 9,000 ลิตร จำนวน 1 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภค ให้กับประชาชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จากการขาดแคลนน้ำ ในช่วงฤดูแล้ง จำนวน 1 เที่ยว ประชาชนได้รับผลประโยชน์ จำนวน 3 ครัวเรือน ณ บ้านท่าดินแดงออก หมู่ 4 ตำบลป่าบอน อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
สภาพอากาศ
ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในบริเวณประเทศไทยตอนบน ทั้งนี้เนื่องจากความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกและลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน \ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลูกเห็บตกบางแห่ง สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางแห่ง
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 23,483 ล้าน ลบ.ม. (41%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 19,165 ล้าน ลบ.ม. (40%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,569 ล้าน ลบ.ม. (51%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,749 ล้าน ลบ.ม. (34%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 7,108 ล้าน ลบ.ม. (39%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 19,087 ล้าน ลบ.ม. (40%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 19,096 ล้าน ลบ.ม. (87%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 7,824 ล้าน ลบ.ม. (91%)