สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 19 ธ.ค
ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวและอุณหภูมิจะลดลงภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณ จ.นราธิวาส (467 มม.) จ.ปัตตานี (412 มม.) และ จ.สงขลา (412 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 42,655 ล้าน ลบ.ม. (74%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 34,750 ล้าน ลบ.ม. (73%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
เขื่อนบางลาง หยุดการระบายน้ำ ตั้งแต่วันที่ 19-20 ธ.ค. 65 เพื่อบรรเทาและลดผลกระทบกับประชาชน บริเวณท้านเขื่อนในพื้นที่จังหวัดยะลา และปัตตานี
ปตร.คลองท่าแนะ เนื่องจากระดับน้ำหน้า ปตร.มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น จึงต้องปรับการระบายน้ำจากเดิม 1.00 ม. เพิ่มเป็น 1.50 ม.
ต้องเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งและท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณ ตำบลชะมวง ตำบลควนขนุน ตำบลโตนดด้วน ตำบลพนมวังก์ ตำบลดอนทราย ตำบลปันแต ตำบลพนางตุง ตำบลมะกอกเหนือ ตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
กอนช. ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เกิดปริมาณน้ำหลากและน้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ติดตาม เฝ้าระวัง พร้อมแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำ
ให้ประชาชนได้รับทราบและเตรียมความพร้อม ดังนี้
แม่น้ำปัตตานี ระดับน้ำในเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากยังคงมีฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ ขอให้ประชาชนในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำปัตตานี บริเวณพื้นที่ชุมชนบ้านบริดอ บ้านจางา ตำบลปะกาฮะรัง ตำบลบาราเอาะ ตำบลตะลุโบะ พื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำปัตตานีในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี อำเภอเมือง และในพื้นที่ริมคลองตุยง บ้านโคกยาร่วง ตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก ตำบลแม่ลาน ตำบลป่าไร่ ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
แม่น้ำสายบุรี ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นประมาณชั่วโมงละ 10-15 ซม. หากยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณ ตำบลปากู อำเภอทุ่งยางแดง ตำบลตะโละดือรามัน ตำบลปล่องหอย อำเภอกะพ้อ ชุมชนบ้านตะพา ชุมชนบางตาหยาด ชุมชนลาเมาะทะเล ชุมชนลาเมาะบก ตำบลตะลุบัน ตำบลกะดุนง ตำบลมะนังดาลำ ตำบลตะบิ้ง ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี และพื้นที่ลุ่มต่ำริมคลองกอตอ ตำบลตะโละไกรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี
กอนช.ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังคงมีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจากปริมาณฝนที่ตกลงมา
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 19 ธ.ค. 2565 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กองบัญชาการกองทัพไทย ดำเนินงานโครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำสันโค้ง ณ บ้านสันโค้งหมู่ที่ 10 ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เพื่อเพิ่มปริมาตรกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคและทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี
2. สภาพอากาศ
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะลดลงกับมีลม สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน มีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยและฝั่งบริเวณทะเลอันดามันคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 42,655 ล้าน ลบ.ม. (74%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 34,750 ล้าน ลบ.ม. (73%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 4,750 ล้าน ลบ.ม. (94%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,155 ล้าน ลบ.ม. (62%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 13,795 ล้าน ลบ.ม. (76%)
4. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 34,421 ล้าน ลบ.ม. (73%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 3,096 ล้าน ลบ.ม. (14%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 981 ล้าน ลบ.ม. (11%)
5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ร่วมกับ Hokkaido University ประเทศญี่ปุ่น กรมทรัพยากรน้ำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง “Computer Application for River Hydraulics & Morphodynamics” ณ ห้องประชุมชั้น 8 สสน. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านชลศาสตร์แม่น้ำ และการเปลี่ยนแปลงสัณฐานท้องน้ำ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับสภาพปัญหาการดูแลลำน้ำในประเทศไทย และถ่ายทอดองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้โปรแกรมทางคณิตศาสตร์ในงานด้านชลศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงสัณฐานท้องน้ำด้วยแบบจำลอง iRIC ซึ่งได้รับความสนใจจากนิสิต นักศึกษา นักวิชาการ และหน่วยงานด้านน้ำของประเทศเป็นอย่างมาก