สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 11 ธ.ค. 65
ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าส่วนภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.สงขลา (50 มม.) จ.เลย (43 มม.) และ จ.ยะลา (40 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 43,326 ล้าน ลบ.ม. (75%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 35,364 ล้าน ลบ.ม. (74%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ประกาศฉบับที่ 56/2565 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงวันที่ 8 – 11 ธ.ค. 65
พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ดังนี้
1. เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง บริเวณ จ.ชุมพร ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ตรัง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
2. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำชุมพร คลองหลังสวน แม่น้ำตาปี แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำตรัง คลองชะอวด แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา และแม่น้ำโก-ลก
กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำ และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคใต้ ตามประกาศ กอนช. ฉบับที่ 56/2565 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขังในพื้นที่ภาคใต้ โดย กอนช. ได้สั่งการให้หน่วยงานบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมและปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ โดยมีรายงานสถานการณ์ ดังนี้
อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำเกิน 80% ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองส้มแป้น จ.ระนอง อ่างเก็บน้ำบางทรายนวล และคลองสวนหนัง จ.สุราษฎร์ธานี อ่างเก็บน้ำห้วยลึก บางกำปรัด และคลองแห้ง จ.กระบี่ อ่างเก็บน้ำบางวาด บางเหนียวดำ และคลองกะทะ จ.ภูเก็ต อ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้ว จ.ตรัง อ่างเก็บน้ำคลองหลา และคลองจำไหล จ.สงขลา
อ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลาง จ.ยะลา มีปริมาณน้ำกักเก็บ 928.85 ล้าน ลบ.ม. ยังสามารถรับน้ำได้อีก 525.51 ล้าน ลบ.ม.
กรมชลประทาน แจ้ง จ.นราธิวาส แจ้งเตือนประชาชนที่อยู่บริเวณริมแม่น้ำโก-ลก ชุมชนท่าโรงเลื่อย ชุมชนท่าประปา เขตเทศบาลสุไหงโก-ลก อ.สุไหงโก-ลก ชุมชนตลาดบ้านมูโนะ ต.มูโนะ และ อ.ตากใบ รับสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง ตั้งแต่วันที่ 10 – 11 ธ.ค. 65
ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ ได้คาดการณ์ ช่วงวันที่ 10 – 12 ธ.ค. 65 ภาคใต้จะมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะ จ.นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล สงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 11 ธ.ค. 2565 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการซ่อมบำรุงระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนน้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ ณ โรงเรียนบ้านงิ้วงาม หมู่ที่ 4 ตำบลงิ้วงาม อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
2. สภาพอากาศ
หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศมาเลเซีย คาดว่าจะเคลื่อนเข้าปกคลุมช่องแคบมะละกาและทะเลอันดามันตอนล่างในช่วงวันที่ 10-11 ธ.ค. 2565 ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้ ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 43,325 ล้าน ลบ.ม. (75%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 35,364 ล้าน ลบ.ม. (74%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 4,806 ล้าน ลบ.ม. (95%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,156 ล้าน ลบ.ม. (62%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ)ปริมาณน้ำใช้การ 14,062 ล้าน ลบ.ม. (77%)
4. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 35,051 ล้าน ลบ.ม. (74%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 2,393 ล้าน ลบ.ม. (11%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 698 ล้าน ลบ.ม. (8%)
5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
GISTDA ร่วมกับ UN-SPIDER, APSCO, MEM และ AIT จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “United Nations Workshop on Space-based Technologies for Disaster Risk Reduction” เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมในการบริหารจัดการภัยพิบัติ ระหว่างวันที่ 7 – 9 ธันวาคม 2565 ณ ห้องประชุม United Nations Conference Centre 3 ชั้น 1 อาคาร United Nations กรุงเทพมหานคร โดยวัตถุประสงค์นำเสนอความก้าวหน้าในการใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ในการบริหารจัดการภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเสนอข้อคิดเห็นด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้และเป็นการสร้างเครือข่ายทางวิชาการให้แก่ GISTDA ต่อไป