สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 พ.ค. 65
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.บึงกาฬ (84) กรุงเทพมหานคร (72) จ.จันทบุรี (71) และ จ.พังงา (71)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 46,231 ล้าน ลบ.ม. (56%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 40,309 ล้าน ลบ.ม. (56%) เฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 2 แห่ง บริเวณภาคเหนือ (2 แห่ง) เฝ้าระวังน้ำมากเกินเกณฑ์ควบคุม จำนวน 4 แห่ง
พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม ในช่วง 1-2 วันนี้ บริเวณ จ.ตาก เชียงใหม่ เชียงราย น่าน กาญจนบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และระนอง
พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม ในช่วง 1-2 วันนี้ บริเวณ จ.ระยอง ตราด ชุมพร ระนอง และพังงา
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ สั่งการ กอนช. ติดตามสถานการณ์พื้นที่นาข้าวใน อ.โนนไทย และ อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา
นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ชี้แจงกรณีฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่นาข้าวใน
อ.โนนไทย และ อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ถูกมวลน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรตอนล่าง ทะลักเข้าท่วมก่อให้เกิดความเสียหาย กอนช. ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่เพื่อติดตามตรวจสอบสถานการณ์และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน พบว่าปัจจุบันสถานการณ์น้ำหลากเนื่องจากฝนที่ตกในช่วงที่ผ่านมา แนวโน้มลดลง จากการลงสำรวจพื้นที่ในจุดต่าง ๆ ของ อ.โนนไทย
และ อ.โนนสูง พบว่าพื้นที่นาใน อบต.กำปัง ปัจจุบันระดับน้ำลดลงจนเกือบเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ส่วนพื้นที่นาบริเวณ อบต.จันอัด ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมทุ่งแต่มีแนวโน้มลดลง คาดว่าสถานการณ์ จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติใน 7 วันข้างหน้านี้ หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ กอนช. สั่งการให้เร่งรัดการระบายน้ำออกจากพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบแก่เกษตรกรโดยเร็วที่สุด พร้อมมอบหมายให้ประสาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการสำรวจพื้นที่ในจุดที่ได้รับความเสียหาย เพื่อเร่งให้ความช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชน โดยขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการระบายน้ำตามแผน เพื่อลดระดับน้ำอย่างเร่งด่วน และได้เข้าช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบในเบื้องต้นแล้ว
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 29 พฤษภาคม 2565 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับ ฤดูฝน ปี 2565
1.1 กรมเจ้าท่า ดำเนินการขุดลอกแม่น้ำปัว ตำบลแงง และตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน ระยะทาง 1,550 เมตร เพื่อเพิ่มพื้นที่หน้าตัดของร่องน้ำ รองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก ลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร และการกัดเซาะตลิ่งโดยมีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ 550 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตรประมาณ 1,300 ไร่
1.2 กรมชลประทาน ดำเนินการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา บริเวณคลองพระยาบันลือ หมู่ 11 ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมให้ประชาชน
2. สภาพอากาศ
การคาดการณ์สภาพอากาศ ในช่วงวันที่ 28 – 30 พ.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง เกิดขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 31 พ.ค. – 1 มิ.ย. 65 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่าน
บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
3. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ค. 65 ถึงปัจจุบัน)
3.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 16,490 ล้าน ลบ.ม. (35%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 14,735 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 3,158 ล้าน ลบ.ม. (21%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีอ่างเก็บน้ำที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 4 แห่ง (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 3,752 ล้าน ลบ.ม. (21%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 4,000 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 767 ล้าน ลบ.ม. (19%)
4. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สั่งการ กอนช. ติดตามสถานการณ์
พื้นที่นาข้าวใน อำเภอโนนไทย และ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา หลังถูกน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรตอนล่าง ทะลักเข้าท่วม โดยให้ดำเนินการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบแก่เกษตรกร พร้อมมอบหมายให้ประสานกรมชลประทานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในพื้นที่ สำรวจพื้นที่ในจุดที่ได้รับความเสียหาย และเร่งให้ความช่วยเหลือ และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชน โดยขณะนี้ได้ดำเนินการระบายน้ำ ตามแผนการระบายน้ำ เพื่อลดระดับน้ำอย่างเร่งด่วน และเข้าช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้นแล้ว