สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 17 พ.ค. 65 เวลา 7.00 น.
ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักมากบางพื้นที่
ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.อุบลราชธานี (108) จ.แพร่ (98) และ จ.ตราด (98)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 45,445 ล้าน ลบ.ม. (55%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,628 ล้าน ลบ.ม. (55%) เฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 4 แห่ง บริเวณภาคเหนือ (3 แห่ง) ภาคตะวันตก (1 แห่ง)
เฝ้าระวังดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก บริเวณ ภาคเหนือ จ.แพร่ (อ.เมืองฯ เด่นชัย วังชิ้น และร้องกวาง) น่าน (อ.นาน้อย) และอุตรดิตถ์ (อ.ท่าปลา)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ศรีสะเกษ (อ.ภูสิงห์ ขุนหาญ) และอุบลราชธานี (อ.บุณฑริก นาจะหลวย น้ำขุ่น และน้ำยืน)
ภาคใต้ จ.ระนอง (อ.สุขสำราญ และกะเปอร์) และพังงา (อ.คุระบุรี)
กอนช. ติตตามหน่วยงานเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน 2565
สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร กำหนดแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงฤดูฝนปี 2565 ดังนี้
ติดตามการพยากรณ์อากาศ จัดเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังกลุ่มฝนจากเรดาร์ตรวจอากาศของกรุงเทพมหานคร
ติดตามสถานการณ์ฝนและสถานการณ์น้ำโดยใช้ระบบโทรมาตรในการตรวจสอบสถานีเครือข่ายต่างๆ ได้แก่ ระบบการตรวจวัดระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและในคลอง 255 แห่ง ระบบตรวจวัดปริมาณฝน 130 แห่ง ระบบตรวจวัดน้ำท่วมถนน 100 แห่ง ระบบตรวจวัดน้ำท่วมอุโมงค์ทางลอด 8 แห่ง
ตรวจสอบประสิทธิภาพของอุโมงค์ระบายน้ำ 4 แห่ง สถานีสูบน้ำ 190 แห่ง ประตูระบายน้ำ 244 แห่ง บ่อสูบน้ำ 316 แห่ง
ติดตั้งเครื่องสูบน้ำชั่วคราวในพื้นที่จุดเสี่ยงและจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม ล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ ขุดลอกคูคลอง เปิดทางน้ำไหล จัดเก็บขยะวัชพืช ตลอดจนจัดเตรียมเครื่องสูบน้ำชนิดเคลื่อนที่ พร้อมรถเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง และประสานการไฟฟ้านครหลวงกรณีไฟฟ้าดับ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบแก่ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนในการเดินทาง นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการก่อสร้างระบบระบายน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่ต่างๆ ให้ไหลลงคูคลองได้รวดเร็วยิ่งขึ้น