ตลาดบ้านกทม.ปริมณฑลบูมสนั่น
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยภาพรวมสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในไตรมาส 1 ปีนี้ ยังสดใส โดยโครงการเปิดใหม่เพิ่มขึ้น 5.9% จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้น 2.1% และมูลค่าโครงการเพิ่มขึ้น 13% ตามลำดับ ราคาขายเฉลี่ย 4.3 ล้านบาท แพงกว่าปีที่แล้ว 4 แสนบาท
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในฐานะรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยถึงภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยไตรมาส 1 ปี 2561 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลว่า มีสัญ ญาณเริ่มต้นที่ดีขึ้น สะท้อนจากโครงการเปิดตัวใหม่ประเภทโครงการบ้านจัดสรร กลุ่มประเภททาวน์เฮ้าส์ และโครงการอา คารชุดเปิดตัวในสัดส่วนมากที่สุดจากหน่วยที่เปิดขายทั้งหมดทุกประเภท ขณะที่ผู้ประกอบการยังคงมีความเชื่อมั่นที่ดีต่อ ภาคอสังหาริมทรัพย์และเพิ่มการลงทุน โดยการเพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการ และด้านยอด ขายภาพโดยรวมการลงทุน การจ้างงาน และการเปิดโครงการใหม่ สอดคล้องกับเศรษฐกิจในภาพรวมที่มีแนวโน้มขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ โครงการที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2561 มีจำนวนประมาณ 90 โครงการ มีหน่วยในผังรวม 24,619 หน่วย และมีมูลค่าโครงการรวม 106,696 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนโครงการ จำนวนหน่วย และมูลค่าโครงการ โดยจำ นวนโครงการเพิ่มขึ้น 5.9% จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้น 2.1% และมูลค่าโครงการเพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยประมาณ 4.3 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าราคาช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560 ที่ราคาเฉลี่ยประมาณ 3.9 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาประเภทโครงการที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ พบว่า โครงการบ้านจัดสรรมีการเปิดขายใหม่ มีประมาณ 54 โครงการรวม 8,762 หน่วย มีมูลค่าโครงการรวม 41,636 ล้านบาท มีจำนวนหน่วยลดลง 17.3% แต่มีมูลค่าโครงการเพิ่ม ขึ้น 7.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนโครงการอาคารชุดมีการเปิดขายใหม่ 36 โครงการ 15,857 หน่วย มูลค่าโครงการรวม 65,333 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยจำนวนโครงการเพิ่มขึ้น 16.1% จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้น 17.4% และ มูลค่าโครงการเพิ่มขึ้น 16.9% ตามลำดับ
ในด้านประเภทและราคาขายโครงการบ้านจัดสรรพบว่า ส่วนใหญ่ 65.5% เป็นทาวน์เฮ้าส์ และส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับราคา 2.01- 3.00 ล้านบาท รองลงมา 27.4% เป็นบ้านเดี่ยว ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับราคามากกว่า 10 ล้านบาท สำหรับบ้านแฝดเปิดขาย 4.6% ส่วนใหญ่เปิดขายในระดับราคา 5-7.50 ล้านบาท ส่วนอาคารพาณิชย์พักอาศัยเปิดขายใหม่ 2.5% โดยเปิดขายในระดับราคา 7.51-10.00 ล้านบาทมากที่สุด
ขณะที่ การปล่อยสินเชื่อบุคคลปล่อยใหม่ทั้งระบบทั่วประเทศ มีมูลค่า 153,061 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า 115,788 ล้านบาท ในขณะที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปคงค้างทั่วประเทศไตรมาส 1 ปี 2561 มีมูลค่า 3,569,243 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า 3,341,792 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม นอกจากด้านอุปทานและอุปสงค์ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ประมวลภาพความเคลื่อนไหวด้านดัชนีราคาโครงการที่อยู่อาศัยสร้างใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายในไตรมาส 1 ปี 2561 พบว่าโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2560 และไตรมาส 4 ปี ของปีที่แล้วทุกประเภท โดยดัชนีราคาห้องชุดในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล 2 จังหวัด (นนทบุรี และสมุทร ปราการ) ในไตรมาส 1 ปี 2561 มีค่าดัชนีเพิ่มขึ้น 6.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 2560 ที่ระดับ 0.9% สำหรับดัชนีราคาบ้านแนวราบในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล 3 จังหวัด (นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ) ในไตรมาส 1 ปี 2561 เพิ่มขึ้น 3.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 1.5% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2560.
ส่วนความเชื่อมันของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย พบว่าในไตรมาส 1 ปี 2561 ผู้ประกอบการมีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบัน (Current Situation Index) เท่ากับ 52.1 จุด ซึ่งสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 จุด และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาส 4 ปี 2560 ที่ระดับ 51.9 จุด ดัชนีที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นในด้านการลงทุน การจ้างงาน และการขึ้นโครงการใหม่/ยูนิต ส่วนผลประกอบการ และยอดขาย ปรับลดลงเล็กน้อย ส่วนต้นทุนผู้ประกอบการค่าดัชนีใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้าที่ยังคงต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 จุด
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) มีค่าเท่ากับ 62.8จุด สูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 จุด และเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 2560 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 59.1 จุด ทั้งนี้ดัชนีที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการ ด้านยอดขายการลงทุน การจ้างงาน และการเปิดโครงการใหม่ สอดคล้องกับเศรษฐกิจในภาพรวมที่มีแนวโน้มขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ส่วนต้นทุนผู้ประกอบการต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 จุด เป็นผลมาจากการประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ