ดูแล้ว: 27 EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ส่งออกเดือน พ.ค. หดตัวต่อเนื่องที่ –5.8%YOY จับตาสงครามการค้าสร้างความกังวลเพิ่มเติม... อ่านต่อ
SPECIAL REPORT
ดูแล้ว: 21 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี (TMB Analytics) มองว่าแม้ผลการประชุมเฟดครั้งล่าสุดจะชี้ว่าเฟดอาจลดดอกเบี้ยได้ถึงสองครั้งในปีนี้ ไทยก็ยังไม่มีความจำเป็นต้องรีบลดดอกเบี้ยตาม เหตุเพราะดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงไทยแทบจะต่ำที่สุดในอาเซียนแล้ว และถึงแม้จะยังสูงกว่าดอกเบี้ยที่แท้จริงของเฟด ก็ถือว่าสอดคล้องกับอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ของไทยที่อยู่ต่ำกว่าของสหรัฐฯถึง 6 ระดับ จากการประชุมเฟดล่าสุด สมาชิกที่คาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ยในปีนี้ มีจำนวนถึง 8... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 38 SCB CIO Office ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ปรับลดลงจากความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และสงครามการค้าที่ขยายวงกว้างขึ้น ตลาดหุ้นทั่วโลกส่วนใหญ่ปรับลดลง เนื่องจาก ความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัว หลังดัชนีภาคการผลิตและภาคบริการของสหรัฐฯ... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 22 EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ บทบาทพฤติกรรมการท่องเที่ยวของชาว Millennials ที่แตกต่างจาก Generation... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 32 EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ CLMV ยังเติบโตบนพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดี แต่เผชิญความเสี่ยงรายประเทศและการชะลอตัวของจีน เศรษฐกิจซีแอลเอ็มวียังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ราว... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 19 SCB CIO Office ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์สกุลใหม่มีชื่อว่า “Libra” ที่จะเริ่มใช้ในต้นปีหน้านี้... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 41 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี (TMB Analytics) คาด ธปท. ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 20 SCB CIO Office วิเคราะห์เจาะลึกประเด็นการลงทุน หัวข้อ ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ ยังคงปรับร่วงลงอย่างต่อเนื่อง... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 22 EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ ส่งออกไทยเดือนเมษายนหดตัวต่อเนื่องที่ -2.6%YOY อีไอซีปรับลดคาดการณ์ส่งออกทั้งปี 2019... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 1,836 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ การแข่งขันของแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร ดันธุรกิจ Food Delivery เติบโตต่อเนื่อง... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 64 SCB CIO Office วิเคราะห์ ตลาดหุ้นทั่วโลกเคลื่อนไหวผันผวน เนื่องจากความกังวลต่อประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 1,249 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ความนิยมในการบริโภคโปรตีนจากพืช (Plant-based protein) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามกระแสรักสุขภาพ และการบริโภคอาหารที่ผลิตจากพืชล้วนซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 490 EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ จับตาผลกระทบมาตรการ Anti Circumvention ต่ออุตสาหกรรมเหล็กไทย ผลิตภัณฑ์เหล็กเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่ประสบกับปัญหาการทุ่มตลาดและปัญหาการอุดหนุน ประกอบกับสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนในปัจจุบันที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยจากต้นปี 2018 สหรัฐฯ ได้ตั้งกำแพงภาษีผลิตภัณฑ์เหล็กจากจีนเพิ่มขึ้นอีกราว 25%-50% จากอัตราภาษีนำเข้าปกติ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เหล็กจากจีนที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดลงและมีโอกาสที่จะถูกนำเข้าสู่ไทยมากขึ้น ปริมาณผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน (ไม่รวม stainless steel) เฉลี่ยจากจีนที่มีการนำเข้าที่คล้ายคลึงกับการหลีกเลี่ยง AD และ CVD (circumvention) ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา (2013-2018) โดยมีปริมาณอย่างน้อย 193,000 ตัน/ปีแบ่งเป็น ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบนจากการทำ slight... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 663 SCB CIO Office วิเคราะห์เจาะลึกประเด็นการลงทุน หัวข้อ ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ ยังคงปรับร่วงลงอย่างต่อเนื่อง... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 16 สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จับตาธปท. กำลังยืนบนทางแยก จะลดหรือคงดอกเบี้ย คาดลดดอกเบี้ยหนุนเศรษฐกิจโต ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะผู้กำหนดนโยบายกำลังเผชิญความท้าทายอย่างยิ่งในการดำเนินนโยบายทางการเงิน เหมือนกำลังยืนอยู่บนทางแยกที่ต้องเลือกว่าจะไปทางใด ทางหนึ่งคือการลดดอกเบี้ยสนับสนุนเศรษฐกิจให้โต เงินเฟ้อเร่งขึ้น และหวังลึกๆ ว่าจะช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าได้บ้าง และอีกทางหนึ่งคือคงดอกเบี้ยไว้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน เพื่อไม่ให้ดอกเบี้ยต่ำนานหรือลดลงอีก เพราะคนจะยิ่งไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงและอาจเกิดภาวะฟองสบู่ที่ควบคุมยากในอนาคต สำนักวิจัยฯ คาดการณ์ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินน่าจะประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไป วันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 จากปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.5% ลดเหลือ 1.25% เนื่องจากเห็นแนวโน้มตัวเลขและเหตุการณ์ในอนาคตส่งสัญญาณที่อาจนำไปสู่การตัดสินใจลดดอกเบี้ย อนึ่ง นโยบายการเงินพิจารณาสามปัจจัยสำคัญ นั่นคือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ ราคาสินค้า และเสถียรภาพทางการเงิน ตอนนี้เศรษฐกิจไทยกำลังชะลอตามภาวะเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การส่งออกหดตัวต่อเนื่อง กระทบการลงทุนและการบริโภคในประเทศ วันนี้ มีสองในสามปัจจัยที่ส่งสัญญาณว่ากนง. อาจปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบหน้า คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ และราคาสินค้า เป็นที่แน่ชัดว่าเศรษฐกิจไทยชะลอตัวต่ำกว่าศักยภาพ ธปท.เองได้ออกมาปรับประมาณการลงต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อต่ำ เดือนสิงหาคมเงินเฟ้อหลุดกรอบล่างที่ร้อยละ 1 และมีแนวโน้มต่ำต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากราคาน้ำมัน ส่วนหนึ่งเกิดจากความเสี่ยงที่มาจากอุปสงค์อ่อนแอ นอกจากตัวเลขเศรษฐกิจชะลอที่เกิดขึ้นแล้ว นโยบายการเงินจะพิจารณาแนวโน้มตัวเลขและเหตุการณ์ในอนาคตด้วย อย่างที่เห็นในการประชุมเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ไม่ได้มีสัญญาณการลดดอกเบี้ยหรือเสียงแตกจากคณะกรรมการกนง. ในรอบก่อนหน้า แต่สุดท้ายกนง.ปรับลดดอกเบี้ยลง ซึ่งน่าจะมาจากแนวโน้มตัวเลขและเหตุการณ์ในอนาคต ประกอบด้วย ปัจจัยความเสี่ยงจากการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐจากจีน แม้ยังไม่เกิดขึ้นในเดือนนั้น แต่มีความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจในอนาคต เปรียบเหมือนดูกระจกมองหลังเวลาขับรถไปข้างหน้า ดูให้รู้ว่ามีสัญญาณอะไรหรือใช้เปลี่ยนเส้นทางและดูข้างหน้าเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาความเร็วว่าจะแตะเบรกหรือขึ้นดอกเบี้ยหากเศรษฐกิจวิ่งแรงเกินไป หรือจะเหยียบคันเร่งหรือลดดอกเบี้ยให้เศรษฐกิจเร่งขึ้น ขณะที่การประชุม ในรอบปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา กนง.คงดอกเบี้ยอาจเพราะยังห่วงเสถียรภาพในตลาดการเงิน ที่นักลงทุนยังเข้าลงทุนโดยไม่ได้ประเมินความเสี่ยงดีพอ และการเข้าลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงๆ ขณะที่หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น หนี้เสียมีมากโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก “ผมเห็นใจผู้กำหนดนโยบายที่กำลังยืนอยู่บนทางแยกว่าจะเลือกเดินทางไหนดี เพราะเมื่อมองไปข้างหน้าล้วนมีความเสี่ยงให้เศรษฐกิจโตช้าลง ไม่เพียงสงครามการค้าที่ยังคงลากยาวและอาจรุนแรงขึ้น ขณะที่อุปสงค์ในประเทศมีท่าทีชะลอลง โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่มาช้า และไทยมีความเสี่ยงที่จะตกขบวนรถไฟของการย้ายฐานการผลิตจากจีนมาอาเซียน เพราะบริษัทข้ามชาติเหล่านั้นอาจเลือกเวียดนามแทน” ดร.อมรเทพ กล่าว... อ่านต่อ