5 ธุรกิจแฟรนไชส์ ดาวรุ่ง ลุยตลาด CLMV
แฟรนไชส์ ถือเป็นรูปแบบธุรกิจอย่างหนึ่ง ที่ช่วยสร้างการเติบโตทางธุรกิจด้วยเส้นทางลัด แต่การจะผลักดันธุรกิจเข้าไปสู่ระบบแฟรนไชส์ และประสบความสำเร็จได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะธุรกิจที่จะก้าวไป สู่การเป็นแฟรนไชส์ ต้องมีความพร้อมและแข็งแกร่ง ที่จะสร้างความมั่นใจให้แก่ ผู้ซื้อและผู้ขายแฟรนไชส์ ที่ถือเป็นคู่หูทางธุรกิจที่ต้องร่วมกัน ทำงานให้เกิดความยั่งยืน
นอกจากนี้ ธุรกิจแฟรนไชส์ยังเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างศักยภาพที่จะแข่งขันในตลาดระดับสากล สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ
ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มีมูลค่าตลาดโดยรวมกว่า 2.8 แสนล้านบาท มีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20.3% ต่อปี โดยในแต่ละปีมีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ที่สนใจเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไซส์ ถึงกว่า 15,000-20,000 ราย ประกอบด้วยธุรกิจ 5 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ที่มีสัดส่วนมากกว่า 50%
และรองลงมา คือ กลุ่มค้าปลีก, กลุ่มธุรกิจบริการ, กลุ่มธุรกิจความงามและสปา และกลุ่มธุรกิจการศึกษา ซึ่งนับเป็นแนวโน้มการเติบโตที่ดีเมื่อเทียบกับภาพรวมเศรษฐกิจประเทศ
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวพร้อมระบุว่า การสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในปัจจุบัน จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ เป็นตัวช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวสู่การเป็น Smart Entrepreneur แต่การจะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งนั้น ต้องผ่านการวางรากฐานที่แข็งแรง ตั้งแต่วิธีคิด กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และมีขีดความสามารถทางการตลาด ซึ่งเป็นแนวทางหลักในการส่งเสริมธุรกิจของกรมฯ รวมทั้งธุรกิจแฟรนไชส์ไทย
โดยเริ่มต้นตั้งแต่การวางรากฐานการสร้างความเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ ให้แก่ธุรกิจที่มีการพัฒนาการประกอบธุรกิจและประสบความสำเร็จในการสร้างตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับและพร้อมต่อการขยายตลาดในพื้นที่ต่างๆ เข้าสู่ความเป็นผู้ขายแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) ที่สามารถขยายการลงทุนและการร่วมกันดำเนินการทางการตลาดร่วมกับแฟรนไชส์ซี (ผู้ซื้อแฟรนไชส์) และพัฒนาต่อยอดด้วยเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจแฟรนไชส์ที่กรมฯ พัฒนาขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือยกระดับศักยภาพธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจแฟรนไชส์ ให้มีการบริหารจัดการเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ตลอดจนสร้างความน่าเชื่อถือผู้ลงทุนและผู้บริโภคสร้างความยั่งยืนแก่ธุรกิจ รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ วางกลยุทธ์ สร้างรูปแบบการตลาดที่จะทำให้แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี สามารถเติบโตขยายสาขา ขยายการลงทุนในประเทศ และพร้อมขยายธุรกิจให้แก่ผู้ลงทุนในต่างประเทศ เริ่มต้นจาก CLMV และขยายสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก พร้อมกับการเผยแพร่สร้างการรับรู้และการยอมรับธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ ผ่านงานแสดงธุรกิจ การเจรจาจับคู่ธุรกิจ ด้วยการบูรณาเชื่อมโยงองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญจากหน่วยงานรัฐและเอกชน เพื่อการพัฒนาอย่างครบวงจร
และในปีนี้ มีธุรกิจที่ผ่านการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานฯ จำนวน 65 กิจการ ประกอบด้วย ธุรกิจอาหาร จำนวน 33 ราย ธุรกิจเครื่องดื่ม จำนวน 12 ราย ธุรกิจบริการ จำนวน 6 ราย ธุรกิจเบเกอรี่ จำนวน 5 ราย ธุรกิจการศึกษา จำนวน 4 ราย ธุรกิจค้าปลีก จำนวน 4 ราย และธุรกิจความงามและสปา จำนวน 1 ราย
โดยมีธุรกิจที่ได้รับคัดเลือกเป็นต้นแบบที่ดี (Best Practice) จำนวน 10 ราย ได้แก่ บจ. เอ.ที.พี.เฟรนด์ เซอร์วิส (Ship Smile Services) บจ. ชาบูพุงกาง (ชาบูพุงกาง) บจ. ฟีนิกซ์ ลาวา (Phoenix Lava) บจ. รินริน (2018) (RIN RIN) บจ. โกโบริฟู้ด (เฉาก๊วยโกโบริ) บจ. ดัลลัส สเต็กส์ (ประเทศไทย) (ดัลลัส) บจ. กู๊ดฟู้ดส์ คอร์ปเปอเรชั่น (Goodday) บจ. จอย แอนด์ คอยน์ คอร์ปอเรชั่น (JC imart) บจ. ตี๋เล็กฟู้ดส์ (ตี๋เล็ก ขนมจีบ ซาลาเปา และติ่มซำ) และ หจ. วานากะ
แฟรนไชส์ ถือเป็นรูปแบบธุรกิจอย่างหนึ่ง ที่ช่วยสร้างการเติบโตทางธุรกิจด้วยเส้นทางลัด แต่การจะผลักดันธุรกิจเข้าไปสู่ระบบแฟรนไชส์ และประสบความสำเร็จได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะธุรกิจที่จะก้าวไป สู่การเป็นแฟรนไชส์ ต้องมีความพร้อมและแข็งแกร่ง ที่จะสร้างความมั่นใจให้แก่ ผู้ซื้อและผู้ขายแฟรนไชส์ ที่ถือเป็นคู่หูทางธุรกิจที่ต้องร่วมกัน ทำงานให้เกิดความยั่งยืน
นอกจากนี้ ธุรกิจแฟรนไชส์ยังเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างศักยภาพที่จะแข่งขันในตลาดระดับสากล สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ
ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มีมูลค่าตลาดโดยรวมกว่า 2.8 แสนล้านบาท มีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20.3% ต่อปี โดยในแต่ละปีมีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ที่สนใจเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไซส์ ถึงกว่า 15,000-20,000 ราย ประกอบด้วยธุรกิจ 5 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ที่มีสัดส่วนมากกว่า 50%
และรองลงมา คือ กลุ่มค้าปลีก, กลุ่มธุรกิจบริการ, กลุ่มธุรกิจความงามและสปา และกลุ่มธุรกิจการศึกษา ซึ่งนับเป็นแนวโน้มการเติบโตที่ดีเมื่อเทียบกับภาพรวมเศรษฐกิจประเทศ
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวพร้อมระบุว่า การสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในปัจจุบัน จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ เป็นตัวช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวสู่การเป็น Smart Entrepreneur แต่การจะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งนั้น ต้องผ่านการวางรากฐานที่แข็งแรง ตั้งแต่วิธีคิด กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และมีขีดความสามารถทางการตลาด ซึ่งเป็นแนวทางหลักในการส่งเสริมธุรกิจของกรมฯ รวมทั้งธุรกิจแฟรนไชส์ไทย
โดยเริ่มต้นตั้งแต่การวางรากฐานการสร้างความเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ ให้แก่ธุรกิจที่มีการพัฒนาการประกอบธุรกิจและประสบความสำเร็จในการสร้างตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับและพร้อมต่อการขยายตลาดในพื้นที่ต่างๆ เข้าสู่ความเป็นผู้ขายแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) ที่สามารถขยายการลงทุนและการร่วมกันดำเนินการทางการตลาดร่วมกับแฟรนไชส์ซี (ผู้ซื้อแฟรนไชส์) และพัฒนาต่อยอดด้วยเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจแฟรนไชส์ที่กรมฯ พัฒนาขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือยกระดับศักยภาพธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจแฟรนไชส์ ให้มีการบริหารจัดการเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ตลอดจนสร้างความน่าเชื่อถือผู้ลงทุนและผู้บริโภคสร้างความยั่งยืนแก่ธุรกิจ รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ วางกลยุทธ์ สร้างรูปแบบการตลาดที่จะทำให้แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี สามารถเติบโตขยายสาขา ขยายการลงทุนในประเทศ และพร้อมขยายธุรกิจให้แก่ผู้ลงทุนในต่างประเทศ เริ่มต้นจาก CLMV และขยายสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก พร้อมกับการเผยแพร่สร้างการรับรู้และการยอมรับธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ ผ่านงานแสดงธุรกิจ การเจรจาจับคู่ธุรกิจ ด้วยการบูรณาเชื่อมโยงองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญจากหน่วยงานรัฐและเอกชน เพื่อการพัฒนาอย่างครบวงจร
และในปีนี้ มีธุรกิจที่ผ่านการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานฯ จำนวน 65 กิจการ ประกอบด้วย ธุรกิจอาหาร จำนวน 33 ราย ธุรกิจเครื่องดื่ม จำนวน 12 ราย ธุรกิจบริการ จำนวน 6 ราย ธุรกิจเบเกอรี่ จำนวน 5 ราย ธุรกิจการศึกษา จำนวน 4 ราย ธุรกิจค้าปลีก จำนวน 4 ราย และธุรกิจความงามและสปา จำนวน 1 ราย
โดยมีธุรกิจที่ได้รับคัดเลือกเป็นต้นแบบที่ดี (Best Practice) จำนวน 10 ราย ได้แก่ บจ. เอ.ที.พี.เฟรนด์ เซอร์วิส (Ship Smile Services) บจ. ชาบูพุงกาง (ชาบูพุงกาง) บจ. ฟีนิกซ์ ลาวา (Phoenix Lava) บจ. รินริน (2018) (RIN RIN) บจ. โกโบริฟู้ด (เฉาก๊วยโกโบริ) บจ. ดัลลัส สเต็กส์ (ประเทศไทย) (ดัลลัส) บจ. กู๊ดฟู้ดส์ คอร์ปเปอเรชั่น (Goodday) บจ. จอย แอนด์ คอยน์ คอร์ปอเรชั่น (JC imart) บจ. ตี๋เล็กฟู้ดส์ (ตี๋เล็ก ขนมจีบ ซาลาเปา และติ่มซำ) และ หจ. วานากะ