หนุนมาเลเซียเร่งดึงนักลงทุนต่างชาติ
ดร.อาลี ฮัมซา หัวหน้าเลขานุการคณะรัฐบาลมาเลเซียกล่าวว่า มาเลเซียควรจะต้องฟังเสียงของนักลงทุนต่างชาติและประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
นอกจากนี้ ยังควรขานรับความต้องการของนักลงทุนต่างชาติและทำให้ประเทศมีสภาพแวดล้อมที่พร้อมในการทำธุรกิจ ขณะที่เน้นว่ามาเลเซียควรคลายข้อกำหนดต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติให้มากขึ้น
เขากล่าวว่า “ผมสนใจกับสภาพเศรษฐกิจของมาเลเซียในปีนี้ เนื่องจากสถานการณ์ในยูโรโซนยังคงผันผวนจากผลกระทบของเบร็กซิท สหรัฐอเมริกาอยู่ในโหมดการเลือกตั้ง ยังไม่มีสัญญาณที่ดีขึ้นในตะวันออกกลาง ขณะที่ยังมีคำถามเกี่ยวกับทิศทางของจีนในด้านเศรษฐกิจและการเมือง”
“เนื่องจากมาเลเซียมีขนาดเศรษฐกิจของประเทศค่อนข้างเล็ก ทำให้เราต้องพึ่งพาการค้ากับต่างประเทศ และต้องพยายามอย่างหนักในการต่อสู้เพื่อให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ”
“เราต้องส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศให้มากขึ้น และสนับสนุนให้ธุรกิจในประเทศเดินหน้าในการเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ประกอบการ”
“มีหลายปัจจัยที่รบกวนเราและทำให้ความตั้งใจอย่างที่สุดของเราไขว้เขว เราต้องร่วมมือกันเพื่อมุ่งไปให้ถึงเป้าหมาย” ดร.อาลีกล่าวในการรายงานเศรษฐกิจประจำปี 2558
เขากล่าวว่า สถานะของมาเลเซียในรายงานการจัดอันดับในการแข่งขันทางธุรกิจเป็นข้อพิสูจน์ของการทำงานหนักในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ง่ายขึ้นต่อการประกอบธุรกิจ
ทั้งนี้ รายงานการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศประจำปี 2559 โดยสถาบันเพื่อการพัฒนาการจัดการได้จัดอันดับให้มาเลเซียอยูในอันดับที่ 19 จาก 61 ประเทศ
ดร.อาลีกล่าวว่า “รายงานประเทศที่ง่ายในการทำธุรกิจประจำปี 2559 ของธนาคารโลกจัดอันดับให้มาเลเซียเป็นที่ 18 จาก 189 ประเทศ ขณะที่ในรายงานความสามารถในการแข่งขันทั่วโลกปี 2558-2559 ของเวิลด์ อิโคโนมิกส์ฟอรั่ม จัดให้มาเลเซียเป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในอันดับที่ 18 เช่นกัน”
ในรายงานเศรษฐกิจประจำปี 2558 ดร.อาลี แจกแจงผลลัพธ์เชิงบวกหลายอย่าง โดยเฉพาะในบริเวณการค้าข้ามพรมแดน ซึ่งเป็นการริเริ่มในการเคลื่อนไหวให้เกิดเขตปลอดอากรสำหรับกิจกรรมที่มีมูลค่าเป็นเขตปลอดอากรสำหรับทุกบริษัท
“การริเริ่มนี้ส่งผลให้ประหยัดต้นทุนผู้เสียภาษีได้ถึง 150 ล้านริงกิตต่อปี และประหยัดเวลาได้ถึง 90% ที่เคยเสียไปก่อนหน้านี้ นี่นำไปสู่การะบวนการทางภาษีศุลกากรแบบใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่ากับสินค้าและวัตถุดิบ”
หมายเหตุ 1 ริงกิต = 8.72 บาท / 31 ก.ค.2559