สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 15 สค. 66
ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.สตูล (264) จ.เชียงราย (137) จ.นครพนม (80) จ.ลพบุรี (51) จ.จันทบุรี (42) และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ (24)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,736 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,036 ล้าน ลบ.ม. (54%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมขัง น้ำหลาก ดินโคลนถล่ม และคลื่นลมในทะเล ช่วงวันที่ 11-16 สิงหาคม 2566 ในพื้นที่อำเภอต่างๆในจังหวัดพังงา พบว่าเกิดดินสไลด์กีดขวางเส้นทางจราจร ถนนสายเมืองพังงา-กะปง พื้นที่ หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งคาโงก อำเภอเมืองพังงา ทั้งนี้ ได้ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่รวมถึงแขวงทางหลวงพังงาให้เข้าดำเนินการปรับปรุงเส้นทางจราจรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 14/2566 ในช่วงวันที่ 12-18 ส.ค. 66 ดังนี้ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ ตาก และน่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม และสกลนคร ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล และตรัง
กอนช. ติดตามหน่วยงานบริหารจัดการน้ำตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน 2566
จากปรากฎการณ์เอลนีโญในปัจจุบัน ส่งผลให้มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ ส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆลดลง กระทบต่อปริมาณน้ำในภาพรวมโดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา นั้น กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยกำหนดแผนจัดสรรน้ำจาก 4 เขื่อนหลัก(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 จนถึง 31 ตุลาคม 2566 จำนวนรวมทั้งสิ้น 5,500 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมวางแผนการเพาะปลูกข้าวนาปี 8.05 ล้านไร่ จากข้อมูล ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2566 สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำใช้การรวมกันทั้งสิ้น 2,974 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้อยมาก มีการจัดสรรน้ำไปแล้วรวม 4,525 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่เพาะปลูกไปแล้วประมาณ 7.15 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 0.30 ล้านไร่
ปัจจุบัน ปริมาณฝนสะสมมีปริมาณฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประกอบกับปรากฏการณ์เอนโซที่อยู่ในสภาวะเอลนีโญกำลังอ่อน มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงขึ้นจะส่งผลให้เมื่อสิ้นสุดฤดูฝนปีนี้ 4 เขื่อนหลัก จะมีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันอยู่ในเกณฑ์ที่น้อยมาก เพียงพอเฉพาะการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย จึงต้องประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือเกษตรกรที่ได้ทำการเพาะปลูกข้าวนาปีรอบแรกและเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ งดเพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนมีไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นไปตามมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 ที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติกำหนด เพื่อรองรับสถานการณ์น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 15 สิงหาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 14/2566 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2566 แจ้งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ด้วย กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ในช่วงวันที่ 12 – 18 สิงหาคม 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย (อำเภอแม่จัน แม่สาย และแม่ฟ้าหลวง) จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภออมก๋อย) จังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยางแม่สอด แม่ระมาด และอุ้มผาง) จังหวัดน่าน (อำเภอเมืองน่าน บ่อเกลือ ปัว เชียงกลาง ทุ่งช้าง เฉลิมพระเกียรติ และสองแคว) โดยเฉพาะจังหวัดน่านซึ่งปัจจุบันมีน้ำท่วมขังอยู่ในพื้นที่อำเภอเวียงสา อำเภอท่าวังผา และอำเภอแม่จริม ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย เฝ้าไร่ โพนพิสัย และรัตนวาปี) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเมืองบึงกาฬ ปากคาด บุ่งคล้า เซกา ศรีวิไล พรเจริญ โซ่พิสัย และบึงโขงหลง) จังหวัดนครพนม (อำเภอเมืองนครพนม ท่าอุเทน ศรีสงคราม บ้านแพง นาทม และโพนสวรรค์) จังหวัดสกลนคร (อำเภอบ้านม่วง และอากาศอำนวย) ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา บ้านค่าย แกลง และบ้านฉาง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ และท่าใหม่) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด คลองใหญ่ บ่อไร่ แหลมงอบเขาสมิง เกาะกูด และเกาะช้าง) ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กะเปอร์ และกระบุรี) จังหวัดพังงา (อำเภอคุระบุรี และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดสตูล (อำเภอละงู) จังหวัดตรัง (อำเภอกันตัง สิเกา และปะเหลียน)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมชลประทาน ดำเนินการกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำบริเวณคลองส่งน้ำ ซี.79 กม.0+000 ถึงกม.1+000 ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 5 ตำบลดงกลางอำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เพื่อให้สามารถส่งน้ำได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาราชบุรีฝั่งช้าย และบริเวณคลองส่งน้ำ ร2 ช้าย – สายใหญ่บางป้า ตำบลบางป่า อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี กม.0+000 ถึง กม.0+300 เพื่อเปิดทางให้น้ำไหลผ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
กรมทรัพยากรธรณี ขอให้อาสาสมัครเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ เฝ้าระวังภัยแผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก ในระหว่างวันที่ 14-16 ส.ค. 66 เนื่องจากมีฝนตกหนักวัดปริมานน้ำฝนในรอบ 24 ชั่วโมง ได้มากกว่า 100 มิลลิเมตร อาจส่งผลให้เกิดแผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากได้ และขอให้เครือข่ายฯ ทธ. วัดปริมาณน้ำฝนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กรมทรัพยากรธรณีจะติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง