สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 ก.ค. 66
ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ภูเก็ต (174) จ.เลย (112) จ.ปราจีนบุรี (108) จ.เชียงราย (77) จ.สมุทรสาคร (43) จ.ราชบุรี (40)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,706 ล้าน ลบ.ม. (49%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,243 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่เพื่อหารือร่วมกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาทม ผู้ใหญ่บ้านนาสามัคคี เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน บ้านนาสามัคคี ตำบลนาทม อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม เนื่องจากน้ำประปาภายในหมู่บ้านไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค โดยทางสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 10 (อุดรธานี) ลงพื้นที่สำรวจความเหมาะสมและได้นำเสนอให้ทางท้องถิ่นจัดทำโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหา
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วง 9–11 ก.ค. 66 บริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี มุกดาหาร และนครพนม ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง ตรัง กระบี่ พังงา สตูล และพัทลุง
กอนช.ติดตามการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ ตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566กรมชลประทาน เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำหลากและภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา เฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด นำข้อมูลมาวิเคราะห์ในการบริหารจัดการน้ำให้ครอบคลุมทั้ง 2 มิติ และสอดคล้องกับสถานการณ์ ร่วมกันบริหารจัดการน้ำระหว่างพื้นที่ โดยใช้ระบบชลประทานในการรับน้ำและระบายน้ำให้เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน อย่างเป็นระบบและเต็มศักยภาพเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานร่วมกันบูรณาการในการเตรียมพร้อมความรับมือสถานการณ์น้ำ ตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กำหนด สู่ 6 แนวทางปฏิบัติของกรมฯ อย่างเคร่งครัด ตรวจสอบอาคารชลประทาน ให้พร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ พิจารณาปรับการระบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ หมั่นกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำรวมทั้งขุดลอกคลองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้การระบายน้ำทำได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือและเจ้าหน้าที่ประจำจุดเสี่ยง พร้อมปฏิบัติหน้าที่ได้ตลอด 24 ชั่วโมงทั้งนี้ ได้ทำการปรับปฏิทินการเพาะปลูกในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา เพื่อให้เกษตรในพื้นที่ได้เริ่มเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จก่อนที่ฤดูน้ำหลากจะมาถึงในเดือนกันยายน พร้อมวางแผนจัดสรรน้ำในช่วงฤดูฝนปี 66 ให้ทุกพื้นที่อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำไว้ให้มากที่สุด เพื่อรับมือสถานการณ์น้ำหลากรวมทั้งสถานการณ์เอลนีโญ อย่างมีประสิทธิภาพ
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 8/2566 ลงวันที่ 5 ก.ค. 2566 กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์พบพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 8 – 11 ก.ค. 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอโขงเจียมและสิรินธร) จังหวัดมุกดาหาร (อำเภอเมืองมุกดาหาร และหว้านใหญ่) จังหวัดนครพนม (อำเภอเมืองนครพนม และธาตุพนม) ภาคตะวันออก จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง (อำเภอนิคมพัฒนา เขาชะเมา แกลง และบ้านค่าย) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ มะขาม และแก่งหางแมว) จังหวัดตราด (อำเภอบ่อไร่และเมืองตราด) และภาคใต้ จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง(อำเภอเมืองระนอง และกะเปอร์) จังหวัดตรัง(อำเภอหาดสำราญ กันตัง วังวิเศษ ย่านตาขาว เมืองตรัง และห้วยยอด) จังหวัดกระบี่ (อำเภอเกาะลันตา) จังหวัดพังงา (อำเภอตะกั่วป่า และกะปง) จังหวัดสตูล (อำเภอทุ่งหว้า มะนัง ท่าแพ และควนกาหลง) จังหวัดพัทลุง (อำเภอป่าบอน)
สภาพอากาศ
ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออกและมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
3.1 กรมชลประทาน ดำเนินการกำจัดวัชพืช บริเวณ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่และตำบลคลองขวาง อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำ
3.2 กรมทรัพยากรน้ำ ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ลงพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยบวกหลวง ตำบลหนองบัวเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดตาก เพื่อตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยอาคารและสิ่งปลูกสร้าง เก็บข้อมูลใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง และบำรุงรักษาอ่างเก็บน้ำห้วยบวกหลวงให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมทั้งขับเคลื่อน
ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิศวกรรม เพิ่มขีดความสามารถวิศกรรุ่นใหม่
การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่มล่วงหน้า 3 วัน
สทนช. ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยล่วงหน้า 3 วัน พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่ม จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย (อำเภอเชียงของ) และจังหวัดพังงา (อำเภอตะกั่วป่า และท้ายเหมือง)