เฟซบุ๊กจ่อตรวจสอบเพจดัง
เฟซบุ๊กจะตรวจสอบตัวตนของบุคคลที่เป็นเจ้าของเพจที่ได้รับความนิยม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการที่จะควบคุมการเผยแพร่ข่าวลวงและโฆษณาชวนเชื่อ
มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของเฟซบุ๊กระบุว่า เพจใหญ่ๆ ทุกเพจจะต้องถูกตรวจสอบ โดยกระบวนการถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของเพจใช้บัญชีปลอมเพื่อซ่อนตัวตนที่แท้จริง
โดยซัคเคอร์เบิร์กกล่าวว่า เขาสนับสนุนข้อเสนอให้มีการควบคุมโฆษณาทางการเมือง ซึ่งกำหนดให้บริษัทเทคโนโลยีเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งเงินทุนของการซื้อโฆษณา
“ การแทรกแซงการเมืองเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าบนแพลตฟอร์มเดียว ” เขากล่าว “ และเป็นเหตุผลที่เราสนับสนุนกฎหมาย Honest Ads ซึ่งจะช่วยเพิ่มการตวบคุมโฆษณาทางการเมืองออนไลน์ ”
นอกจากนี้ ในวันที่ 6 เม.ย. เฟซบุ๊กจะเพิ่มมาตรการตรวจสอบเพื่อตวามความโปร่งใสจากผู้จ่ายเงินซื้อโฆษณาทางการเมือง
“ มาตรการเหล่านี้อาจจะไม่สามารถหยุดทุกคนที่พยายามจะควบคุมระบบของเฟซบุ๊กได้ แต่จะเป็นเรื่องที่ยากขึ้นมากสำหรับใครก็ตามที่จะทำอย่างที่รัสเซียเคยทำมาก่อนในการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ในปี 2559 และใช้บัญชีและเพจปลอมเพื่อลงโฆษณาชวนเชื่อ ”
โดยทางเฟซบุ๊กจะขอเลขบัตรประจำตัวประชาชนที่รัฐบาลสหรัฐฯ ออกให้ และอีเมลแอดเดรสของผู้ที่ต้องการซื้อโฆษณาการเมือง จะมีการส่งโค้ดพิเศษไปที่แอดเดรสนั้น และจำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนก่อนที่จะมีการลงโฆษณา
มาตรการคุมเข้มเหล่านี้มีขึ้นเพื่อรับมือกับเทคนิคที่ Internet Research Agency เคยใช้ โดยบริษัทรัสเซียเจ้าปัญหาแห่งนี้เคยใช้เฟซบุ๊กเป็นเครื่องมือเพื่อมุ่งเป้าไปที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวอเมริกัน
โฆษกหญิงของบริษัทกล่าวกับสื่อว่า เฟซบุ๊กไม่ได้สรุปถึงคุณสมบัติของเพจใหญ่ แต่อาจใช้ตัวบ่งชี้อื่นๆ รวมถึงจำนวนผู้ติดตามของเพจนั้นๆ และการเปลี่ยนชื่อเพจ เนื่องจากรัสเซียเคยใช้ชื่อเพจที่ดูไม่มีพิษภัยเพื่อดึงดูดผู้ติดตาม จากนั้นก็เปลี่ยนเพจเป็นการส่งเสริมความเห็นทางการเมือง
ทั้งนี้ เฟซบุ๊กได้ตรวจสอบตัวตนของคนดังและบุคคลสาธารณะอื่นๆ และระบบในการตรวจสอบเจ้าของเพจจะทำงานด้วยวิธีการเดียวกัน โฆษกหญิงของเฟซบุ๊กระบุ
มีการประกาศความเปลี่ยนแปลงต่างๆก่อนหน้าสัปดาห์สำคัญของเฟซบุ๊ก โดยในวันที่ 10 เม.ย.นี้ ซัคเคอร์เบิร์กจะเข้าร่วมการไต่สวนของสภาคองเกรสเป็นครั้งแรก จากรณีการจัดการข้อมูลและประเด็นอื่นๆ
นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ซัคเคอร์เบิร์ก วัย 33 ปี จะปรากฎตัวเป็นการส่วนตัวเพื่อเป็นตัวแทนของโซเชียลเน็ตเวิร์คที่เขาก่อตั้ง และมีความกดดันอย่างสูงให้เขาต้องทำเช่นนั้น โดยคำถามส่วนใหญ่จากส.ว.และส.ส.คงจะเน้นหนักไปที่ประเด็นการควบคุมของเฟซบุ๊กที่จะป้องกันไม่ให้มีการโน้มน้าวชักจูงผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้อีกในอนาคต
แถลงการณ์ในเพจของเขา อาจไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ทั้งหมด แต่นี่อาจเป็นแนวทางของคำตอบของเขาในการเข้าให้ปากคำกับสภาในวันที่ 10 เม.ย.นี้
“ เรารู้ดีว่าเราช้าในการตรวจสอบการแทรกแซงของต่างชาติในการเลือกตั้งสหรัฐฯในปี 2559 การอัพเดทในวันนี้ เราออกแบบมาเพื่อป้องกันการแทรกแซงการเลือกตั้งในอนาคต และเพื่อช่วยคัดกรองให้คุณในการเข้าถึงโฆษณาทางการเมือง รวมถึงคอนเทนต์ในเพจ “
“ ด้วยการเพิ่มความโปร่งใสเกี่ยวกับโฆษณาและเพจต่างๆบนเฟซบุ๊ก เราสามารถเพิ่มความรับผิดชอบของผู้ซื้อโฆษณา เพื่อเป็นการปรับปรุงบริการของเราเพื่อทุกคน ”
เฟซบุ๊กจะตรวจสอบตัวตนของบุคคลที่เป็นเจ้าของเพจที่ได้รับความนิยม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการที่จะควบคุมการเผยแพร่ข่าวลวงและโฆษณาชวนเชื่อ
มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของเฟซบุ๊กระบุว่า เพจใหญ่ๆ ทุกเพจจะต้องถูกตรวจสอบ โดยกระบวนการถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของเพจใช้บัญชีปลอมเพื่อซ่อนตัวตนที่แท้จริง
โดยซัคเคอร์เบิร์กกล่าวว่า เขาสนับสนุนข้อเสนอให้มีการควบคุมโฆษณาทางการเมือง ซึ่งกำหนดให้บริษัทเทคโนโลยีเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งเงินทุนของการซื้อโฆษณา
“ การแทรกแซงการเมืองเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าบนแพลตฟอร์มเดียว ” เขากล่าว “ และเป็นเหตุผลที่เราสนับสนุนกฎหมาย Honest Ads ซึ่งจะช่วยเพิ่มการตวบคุมโฆษณาทางการเมืองออนไลน์ ”
นอกจากนี้ ในวันที่ 6 เม.ย. เฟซบุ๊กจะเพิ่มมาตรการตรวจสอบเพื่อตวามความโปร่งใสจากผู้จ่ายเงินซื้อโฆษณาทางการเมือง
“ มาตรการเหล่านี้อาจจะไม่สามารถหยุดทุกคนที่พยายามจะควบคุมระบบของเฟซบุ๊กได้ แต่จะเป็นเรื่องที่ยากขึ้นมากสำหรับใครก็ตามที่จะทำอย่างที่รัสเซียเคยทำมาก่อนในการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ในปี 2559 และใช้บัญชีและเพจปลอมเพื่อลงโฆษณาชวนเชื่อ ”
โดยทางเฟซบุ๊กจะขอเลขบัตรประจำตัวประชาชนที่รัฐบาลสหรัฐฯ ออกให้ และอีเมลแอดเดรสของผู้ที่ต้องการซื้อโฆษณาการเมือง จะมีการส่งโค้ดพิเศษไปที่แอดเดรสนั้น และจำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนก่อนที่จะมีการลงโฆษณา
มาตรการคุมเข้มเหล่านี้มีขึ้นเพื่อรับมือกับเทคนิคที่ Internet Research Agency เคยใช้ โดยบริษัทรัสเซียเจ้าปัญหาแห่งนี้เคยใช้เฟซบุ๊กเป็นเครื่องมือเพื่อมุ่งเป้าไปที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวอเมริกัน
โฆษกหญิงของบริษัทกล่าวกับสื่อว่า เฟซบุ๊กไม่ได้สรุปถึงคุณสมบัติของเพจใหญ่ แต่อาจใช้ตัวบ่งชี้อื่นๆ รวมถึงจำนวนผู้ติดตามของเพจนั้นๆ และการเปลี่ยนชื่อเพจ เนื่องจากรัสเซียเคยใช้ชื่อเพจที่ดูไม่มีพิษภัยเพื่อดึงดูดผู้ติดตาม จากนั้นก็เปลี่ยนเพจเป็นการส่งเสริมความเห็นทางการเมือง
ทั้งนี้ เฟซบุ๊กได้ตรวจสอบตัวตนของคนดังและบุคคลสาธารณะอื่นๆ และระบบในการตรวจสอบเจ้าของเพจจะทำงานด้วยวิธีการเดียวกัน โฆษกหญิงของเฟซบุ๊กระบุ
มีการประกาศความเปลี่ยนแปลงต่างๆก่อนหน้าสัปดาห์สำคัญของเฟซบุ๊ก โดยในวันที่ 10 เม.ย.นี้ ซัคเคอร์เบิร์กจะเข้าร่วมการไต่สวนของสภาคองเกรสเป็นครั้งแรก จากรณีการจัดการข้อมูลและประเด็นอื่นๆ
นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ซัคเคอร์เบิร์ก วัย 33 ปี จะปรากฎตัวเป็นการส่วนตัวเพื่อเป็นตัวแทนของโซเชียลเน็ตเวิร์คที่เขาก่อตั้ง และมีความกดดันอย่างสูงให้เขาต้องทำเช่นนั้น โดยคำถามส่วนใหญ่จากส.ว.และส.ส.คงจะเน้นหนักไปที่ประเด็นการควบคุมของเฟซบุ๊กที่จะป้องกันไม่ให้มีการโน้มน้าวชักจูงผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้อีกในอนาคต
แถลงการณ์ในเพจของเขา อาจไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ทั้งหมด แต่นี่อาจเป็นแนวทางของคำตอบของเขาในการเข้าให้ปากคำกับสภาในวันที่ 10 เม.ย.นี้
“ เรารู้ดีว่าเราช้าในการตรวจสอบการแทรกแซงของต่างชาติในการเลือกตั้งสหรัฐฯในปี 2559 การอัพเดทในวันนี้ เราออกแบบมาเพื่อป้องกันการแทรกแซงการเลือกตั้งในอนาคต และเพื่อช่วยคัดกรองให้คุณในการเข้าถึงโฆษณาทางการเมือง รวมถึงคอนเทนต์ในเพจ “
“ ด้วยการเพิ่มความโปร่งใสเกี่ยวกับโฆษณาและเพจต่างๆบนเฟซบุ๊ก เราสามารถเพิ่มความรับผิดชอบของผู้ซื้อโฆษณา เพื่อเป็นการปรับปรุงบริการของเราเพื่อทุกคน ”