สรรพากรยันตั้งตัวแทนคืนแวตโปร่งใส
กรมสรรพากรแจงเคาน์เตอร์เซอร์วิสเป็นตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม โปร่งใส ไม่เอื้อประโยชน์กลุ่มธุรกิจ ยันอีก 2 บริษัทเสนอเงื่อนไขไม่ตรงกับข้อเสนอของกรมสรรพากร จึงถูกตีตกไป ลั่นแค่ขั้นทดลองใช้ 6 เดือน
นายปิ่นสาย สุรัสวดี รองโฆษกกรมสรรพากร แถลงข่าวกรณีกรมสรรพากรแต่งตั้งตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 7%ให้กับนักท่องเที่ยวในเมืองเพียง 1 ราย คือ เคาน์เตอร์เซอร์วิสเพียงรายเดียว เพราะเข้าข่ายตามข้อกำหนดพื้นฐานตามที่ประกาศ แต่ขณะนี้เป็นการทดลองเพียง 6 เดือน จากนั้นจะประเมินผลความสำเร็จ ทั้งด้านนโยบาย ปริมาณการคืนภาษีของนักท่องเที่ยว เพื่อเสนอระดับนโยบายและกระทรวงการคลังพิจารณาแก้ไขกำหนดเพิ่มเติม ส่วนเอกชนรายอื่นไม่ผ่านคุณสมบัติการจดทะเบียนบริคณสนธิเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติและเสนอจุดคืนภาษีเกิน 5 จุด ขณะที่กรมสรรพากรกำหนดให้ไม่เกิน 3 จุด เพื่อขอคืนภาษีในเมืองกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง
ทั้งนี้ หลังเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้ให้ผู้ประกอบการ ห้างสรรพสินค้าเข้าร่วมโครงการร้าน Vat Refund For Tourist ทดลองนำร่อง (Sand Box) ช่วง 6 เดือน (ต.ค.61- มี.ค.62) เพื่อเปิดจุดคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติภายในเมือง เพื่อเปิดให้นักท่องเที่ยวขอคืนแวต (Tax Refund) ได้ที่สนามบินก่อนเดินทางออกนอกประเทศ หวังอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวต่างชาติ ไม่ต้องต่อแถวยาวเหยียดจนต้องใช้เวลานานในการขอคืนภาษีในสนามบินแออัดมาก
ดังนั้น แนวทางการขอคืนภาษีนักท่องเที่ยวต่างชาติซื้อสินค้าในประเทศที่เป็นร้าน Vat Refund For Tourist จะคืนภาษีได้ไม่เกิน 12,000 บาทต่อรายต่อทริป หรือคิดเป็นจำนวนเงินที่ซื้อสินค้าไม่เกิน 200,000 บาทต่อรายต่อทริป และเมื่อเดิน ทางออกนอกประเทศเจ้าหน้ากรมสรรพากรจะไม่ขอตรวจดูสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวก ยกเว้นสินค้าที่ขอคืนภาษีมีมูลราคาเกินกว่า 10,000 บาทต่อชิ้น จำนวน 5 รายการได้แก่อัญมณี ปากกา ทองคำรูปพรรณ มือถือและโน้ตบุ๊ค ต้องนำสินค้ามาแสดงต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ส่วนกรณีการขอคืนภาษีแวตที่สนามบิน (Tax Refund) ยังคงให้บริการเหมือนเดิมทุกประการ
นายปิ่นสาย กล่าวว่า กรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 224) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนำ ออกไปนอกราช อาณาจักร มีสิทธิ์ตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร และแนวปฏิบัติสำหรับผู้ให้บริการเป็นตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราช อา ณาจักรในเมือง ซึ่งได้มีการประกาศเปิดรับสมัครตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยวในเมือง ตั้งแต่วันที่ 7 – 17 ก.ย.2561 โดยมีผู้ยื่นสมัครทั้งหมด 3 ราย
ส่วนการพิจารณาคัดเลือกนั้น กรมสรรพากรพิจารณาจาก 2 ส่วน คือ 1.คุณสมบัติของผู้สมัคร และ 2. ความเหมาะสมในการเป็นผู้ให้บริการเป็นตัวแทนฯ ได้แก่ การพิจารณาความหนาแน่นของนักท่องเที่ยวบริเวณที่ตั้งของสถานที่ให้บริการ การคมนาคมสะดวก ความปลอดภัย อัตราค่าบริการที่เรียกเก็บจากนักท่องเที่ยว ความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ โดยผู้สมัครต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 60% จึงจะถือว่าผ่าน
กรมสรรพากรได้ทำการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ยื่นสมัครทั้ง 3 ราย จากการตรวจสอบพบว่าผู้ยื่นสมัคร 2 ราย มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามประกาศอธิบดีฯ และแนวปฏิบัติข้างต้นโดยรายหนึ่งมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการเป็นตัวแทนของผู้เดินทาง ออกไปนอกราชอาณาจักรในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร ปรากฏอยู่ในข้อหนึ่งข้อใดที่ระบุไว้ในหนังสือรับ รองนิติบุคคล และอีกหนึ่งรายมิได้ยื่นคำขออนุมัติตามแบบที่แนบท้ายประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 224) จึงไม่เป็นไปตาม ข้อ 3 วรรคหนึ่ง ของประกาศอธิบดีฉบับดังกล่าวประกอบกับ มีการกำหนดจุดบริการ 5 แห่ง ซึ่งเกินกว่าจำนวนจุดบริการที่กำ หนดไว้ตามแบบคำขออนุมัติฯ และแนวปฏิบัติข้างต้น ทั้งนี้ คงเหลือผู้สมัครเพียงรายเดียวที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ถูก ต้อง ตามประกาศอธิบดีฯ และแนวปฏิบัติ จึงได้รับการพิจารณาอนุมัติให้เป็นตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่อง เที่ยวในเมือง
กรมสรรพากรขอเรียนยืนยันว่าการพิจารณาคัดเลือกรายผู้ให้บริการฯ เป็นไปตามขั้นตอนตามประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 224) และแนวปฏิบัติทุกประการ จึงมีความโปร่งใส และมิได้เอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลหรือกลุ่มธุรกิจใด.