กว่าจะเป็น “เฮียนพ” หมูนุ่มร้อยล้าน
เส้นทางแห่งความสำเร็จบนโลกของธุรกิจของแต่ละผู้ประกอบการมีความแตกต่างกันไป บ้างก็สามารถทำได้เลยตั้งแต่เริ่มจับธุรกิจเป็นครั้งแรก โดยมียอดขายถล่มทลายจากการเข้าไปตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด หรือบางรายกว่าจะมาเดินอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้องได้ก็ต้องผ่านความหฤโหดมากมายระหว่างทาง
ชวพจน์ ชูหิรัญ หรือนพ หรือเฮียนพในปัจจุบัน คือชายหนุ่มที่ต้องผ่านอะไรมามากมายกว่าจะประสบความสำเร็จบนเส้นทางธุรกิจจนสามารถมีรายได้จนถึงหลักร้อยล้านได้อีกคนหนึ่งของวงการ คอลัมภ์ “Startup” จะพาย้อนรอยความสำเร็จของเฮียนพดังกล่าวว่ามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
เส้นทางชีวิตหลากหลายอาชีพ
ชวพจน์ กล่าวว่า ตนเองเป็นคนจังหวัดนครสวรรค์ที่มาจากครอบครัวที่ไม่ร่ำรวย โดยมีพี่น้องทั้งหมด 4 คน ซึ่งในช่วงวัยที่มีอายุได้ 11 ปี คุณพ่อที่เป็นเสาหลักของครอบครัวได้เสียชีวิตลงทำให้ครอบครัวต้องลำบากเป็นอย่างมาก คุณแม่ต้องก้าวเข้ามาทำหน้าที่แทน และต้องอดทนทำทุกอย่างเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว เรียกว่าอะไรที่ขายได้ คุณแม่ก็เอามาขายขอให้ได้เงินมาซื้อข้าว ซื้อกับข้าวให้ลูกได้รับประทาน และสามารถส่งตนเองเรียนจบได้แค่มัธยมศึกษาปีที่ 3
ด้วยความรู้ที่มีไม่มาก อาชีพที่ตนเองทำได้ ณ ตอนนั้นก็คือ กรรมกรก่อสร้าง โดยทำอยู่ประมาณปีกว่า และเมื่อมีอายุได้ประมาณ 17 ปีก็ตัดสินเดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อหางานทำ ซึ่งทำให้ตนเองมีอาชีพแรกเป็นช่างทาสี ทำเฟอร์นิเจอร์ แต่ทำอยู่ได้ไม่นานก็มีโงรงานมาเปิดใหม่ต้องการรับสมัครพนักงานจำนวนมาก โดยเป็นการจ้างงานแบบรายวัน วันละ 70 บาท ซึ่งตนทำหน้าที่ผลิต ดัดลวด ประกอบแอร์
อย่างไรก็ดี เมื่อมาถึงปี 2540 ก็มาถึงจุดเปลี่ยนของชีวิตอีกครั้ง เพราะตนเองเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติต้มยำกุ้งในครั้งนั้น โรงงานต่างๆทยอยปิดตัวลงรวมถึงโรงงานที่ตนเองทำอยู่ จนสุดท้ายต้องใช้นโยบายปลดพนักงาน ซึ่งถืว่าเป็นเหตุการณ์ที่ค่อนข้างสาหัสสำหรับตนในตอนนั้นแบบไม่ทันตั้งตัว แต่ก็ยังโชคดีที่บริษัทให้เงินชดเชยมาก้อนหนึ่งเป็นจำนวน 20,000 บาท
หลังจากนั้น เมื่อต้องออกจากงานด้วยภาวะดังกล่าว ตนเองตอนนั้นก็ทำอะไรไม่ถูก หรือคิดอะไรไม่ออก ไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อเพื่อเลี้ยงชีพ อายุตนเองก็มากแล้ว สุดท้ายจึงตัดสินเลือกที่จำทำอาชีพค้าขาย โดยวันหนึ่งเห็นรายการโทรทัศน์สอนสร้างอาชีพ รวยด้วยน้ำยาล้างจาน ตนสมัครเรียนเป็นคนแรก เรียนจนสำเร็จ และได้ทำผลิตภัณฑ์ออกมาเพื่อจำหน่าย แต่ก็ไม่ได้เป็นไปตามที่ตนคาดหวังไว้ เพราะไม่สามารถจำหน่ายได้ ไม่ว่าจะเดินไปขายตามร้านอาหาร บ้าน สุดท้ายธุรกิจก็ไปต่อไม่ได้ หรือเรียกว่าเจ๊งในที่สุด
ชวพจน์ กล่าวต่อไปอีกว่า แม้ธุรกิจแรกจะพังไม่เป็นท่า แต่ตนก็ไม่ได้ย่อท้อ ตัดสินใจเดินหน้าลุยต่อ โดยเห็นว่าอาชีพขายไอศครีมรายได้ดี เลยตัดสินใจที่จะขายบ้าง ไปรับไอศกรีมกะทิสดมาจำหน่าย ซึ่งทำเลที่เลือกก็จะเป็นแหล่งชุมชน ปรากฏว่าขายดีมาก แต่ก็ต้องเลิกทำไปอีก เพราะร่างกายสู้ไม่ไหว จากการที่ต้องตักไอศกรีมไม่หยุด จนปวดไหล่ ปวดตัว ปวดขา
“ต้องเรียนว่าตนเองทำมาหลายอาชีพมาก หลังจากไอศกรีมแล้วก็มีการรับเสื้อผ้าเด็กมาขาย แต่ก็ต้องเลิกไปเพราะขายไม่ค่อยได้ จากนั้นก็มีการนำต้นไม้มงคลมาขาย และก็เจ๊งอีก เพราะตนไม่มีความรู้เรื่องการดูแลรักษา จากอาชีพค้าขายก็นำไปสู่การขับรถแท็กซี่ จากการที่ได้เห็นเพื่อนขับและมีรายได้ดี โดยมองว่าน่าจะเป็นช่องทางที่ดี ซึ่งทำให้ตนตัดสินใจเชาแท็กซี่มาขับ แต่ทุกอย่างก็ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง เพราะไม่มีลูกค้าเท่าใดนัก วิ่งรถได้ไม่คุ้มกับค่าน้ำมัน และค่าเช่าที่ต้องจ่าย จนต้องตัดสินใจหยุดขับไปก่อน”
ทั้งนี้ ตนยังได้ไปสมัครงานเป็น รปภ. ควบคู่กับงานขับแท็กซี่ วันไหนเข้ากะเช้า เลิกเย็น ก็ขับแท็กซี่กลางคืน วันไหน รปภ.ทำกะกลางคืน ออกเวรเสร็จก็ขับแท็กซี่กลางวันต่อ หารายได้เป็นค่าเช่ารถ ค่าผ่อนส่งบ้านกับธนาคาร มือจับพวงมาลัย ตัวเฝ้ายาม แต่จนแล้วจนรอด สู้ค่าผ่อนบ้านไม่ไหว โดนธนาคารยึดบ้านในที่สุด และต้องตัดสินใจให้ภรรยากับลูก ไปเช่าห้องพักใกล้ๆโรงเรียนลูก เพื่อประหยัดค่ารถไปโรงเรียน
ได้เวลาหมูนุ่ม
ชวพจน์ กล่าวอีกว่า ชีวิตของตนหลังจากที่ถูกยึดบ้าน ก็ตัดสินใจไปหาน้องสาว ซึ่งทำร้านอาหารตามสั่งหน้าโรงพักปากเกร็ด เป็นเพิงธรรมดา มีโต๊ะสามตัว กับที่ล้างจาน ดูจากสภาพไม่น่าเป็นที่นอนได้ เพราะแค่นั่งก็ยังไม่พอ แต่ตนก็ต้องอดทน ใช้วิธีผูกเปลญวนนอน แล้วทา กย. 15 เพื่อกันยุง
ต่อมาหน้าโรงพักปากเกร็ดตั้งวินมอเตอร์ไซค์ และเจ้าของวินสงสารเห็นว่าลำบากยากจนไม่มีอาชีพ ยกเสื้อวินให้ เพื่อเอาไว้ขับรับส่งผู้โดยสาร ตนจึงได้ตั้งต้นใหม่กับอาชีพวินมอเตอร์ไซด์รับจ้าง โดยมีรายได้ที่ดีพอสมควร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นชีวิตของตนก็ต้องมาถึงจุดเปลี่ยนอีกครั้ง เมื่อสามีของน้องสาวเสียชีวิต ทำให้น้องสาวไม่รู้จะไปประกอบอาชีพอะไร ซึ่งตามปกตนจะให้บริการรับส่งกลุ่มแม่บ้านปากเกร็ดที่ทำหมูนุ่มขายส่ง จึงให้น้องสาวเข้าไปขอเรียนเพื่อนำมาประกอบอาชีพตั้งตัว
“หลังจากเรียนแล้วน้องสาวไปค้าขายหน้าโรงเรียนปากเกร็ด ปรากฎว่าขายดี ทำไปทำมา ทำไม่ไหว จึงมาขอให้ตนช่วยทำหมูนุ่มส่ง แล้วน้องสาวจะเอาไปขายให้ ทีแรกตนก็ยังลังเล เพราะไม่แน่ใจว่าจะทำเป็น อีกทั้งตนก็ไม่มีทุน ลำพังวิ่งวินหาเช้ากินค่ำ ก็แทบจะไม่พอตั้งตัวอะไรได้”
อย่างไรก็ตาม จากคำแนะนำของน้องสาวที่ให้ทำไม่ต้องมากไปก่อน ก็เลยตัดสินใจที่จะทำ เพราะเห็นว่าแค่ทำเสร็จแล้วไม่ต้องไปขาย และว่าจ้างกลุ่มแม่บ้านปากเกร็ดให้เป็นผู้เสียบไม้ โดยใช้ทำเลที่วินมอเตอร์ไซด์เป็นโรงานผลิตหมูนุ่นในตอนนั้น
ชวพจน์ กล่าวว่า วันหนึ่งป้าที่รับหมูนุ่มไปขาย ขายดีมาก ขายจนไม่พอขาย ลูกค้าขาประจำเลยถามว่าหมูปิ้งป้าอร่อยมากเลย ป้าทำเองรึเปล่า ป้าจึงตอบไปว่ารับมาขาย โดยที่ลูกค้าคนนั้นก็เข้ามาติดต่อสั่งหมู่นุ่ม 1,000 ไม้ เพื่อเอาไปขายในวันรุ่งขึ้น คิดแล้วก็เหมือนฝันแต่ก็คือเรื่องจริง ตนต้องตื่นมาทำหมูนุ่มตั้งแต่ตี 4 เพื่อเอาไปส่งลูกค้า พอถึงตอนเย็นลุกค้าโทรมาสั่งอีก 1,000 ไม้ เมื่อมีลอตที่ 2 ลอตที่ 3 ,4 ,5 ก็ตามมาเรื่อยๆ
“ตนจึงเริ่มมองเห็นลู่ทางว่า หากเพิ่มตัวแทนขายหลายจุด น่าจะดี หลังจากนั้น ทุกวันระหว่างทางกลับวินก็จะแวะคุยกับพ่อค้าแม่ค้าที่ขายลูกชิ้นปิ้ง ขายไส้กรอกปิ้งให้นำหมูของตนไปขายต้นทุนไม่มาก เพิ่มรายได้ให้ร้านได้อีกทาง จากนั้นก็เริ่มมีคนรับหมูนุ่มไปขาย เพิ่มขึ้นๆ และมีที่ไปทำแบรนด์ของตัวเอง ขายหมดก็มาสั่งใหม่ ทำให้ออเดอร์เพิ่มขึ้นกระโดดเป็น 10,000 ไม้ต่อวัน
ในวิกฤติมีโอกาส
ช่วงที่พีคที่สุดคือช่วงน้ำท่วม ทุกคนต่างหยุดกันหมดเพื่อหนีน้ำท่วม แต่ตนคิดว่าจะทำเท่าที่ทำได้ และก็ได้ลูกค้าเพิ่มด้วยจากลูกค้าที่เคยซื้อหมูนุ่มเจ้าอื่น ทำให้ขายดีเป็นอย่างมากจากการที่ผู้บริโภคไม่ได้ออกไปไหน จำได้ว่าตอนนั้นนำเงินฝากตู้ ATM ไว้เรื่อยๆ พอมากดูช่วงที่น้ำลดประกฎว่ามีเงินในบัญชี 3-4 ล้านบาท และมียอดออเดอร์กว่า 50,00 ไม้ หลังจากนั้นก็ได้มีการซื้อที่เพื่อเปิดโรงงาน เมื่อตั้งโรงงาน ธุรกิจก็ดีขึ้นๆ อย่างต่อเนื่องมีออเดอร์เข้ามาตลอดทั้งปี ทั้งขาประจำ และตัวแทนใหม่ เรียกได้ว่าโรงงานตนเป็นโรงงานหมูนุ่มที่ได้มาตรฐานแห่งแรกในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน
“3 วิธี คิดรวยแบบของตนได้แก่ 1.หาวิธีเพิ่มจำนวนการขาย ,2.หาคนมาขายสินค้าแทนเรา ,2.ขยายสาขาให้มากที่สุด และ3 หลักสำคัญ ปั้นธุรกิจสำเร็จในแบบของตนก็คือ 1.รักษาคำพูด คำไหนคำนั้น ทำให้ได้อย่างที่พูดกับลูกค้า ,2.รักษาเวลา ส่งของตรงเวลา ตรงตามนัด เร็วแต่ชัวร์ และ3.รักษาคุณภาพ ผลิตหมูนุ่มเสียบไม้ ได้คุณภาพ อร่อย สด ใหม่ทุกวัน และได้ความเป้นคนไม่หยุดนิ่งจึงมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่มาต่อยอดธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ เช่น ไก่ย่างโบราณ ไส้กรอก เป็นต้น”