เปลื้องผ้า กกต.ยุคบิ๊กตู่กดปุ่ม
กกต.ชุดบินดูงานต่างประเทศ ได้งบยุคบิ๊กตู่ 8,713 ล้าน
การเดินทางไปดูงานต่างประเทศทั้งที่ประเทศไทยจะมีการจัดการเลือกตั้งอยู่รอมร่อกลายเป็นตำบลกระสุนตก 6 กกต.6 กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่เดินทางไป “ดูงานต่างประเทศ” เมื่อช่วงอาทิตย์ที่ผ่าน และจะทยอยเดินทางกลับมายังประเทศไทยหลังเทศกาลสงกรานต์มิหน้ำซ้ำยังเปิดให้ “เลือกตั้งล่วงหน้า” และ เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร” ได้เพียง 3 วัน ยิ่งทำให้ความไม่พอใจของประชาชนเป็น “ไฟสุมขอน”
การเลือกตั้ง 66 สังคมตั้งความหวังไว้ว่าจะ Free & Fair กกต.ในฐานะ “กรรมการตัดสิน” และ “ผู้คุมกฎ-กติกา” ในการแข่งขันในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 จึงถูกจับตามองเป็นกรณีพิเศษอย่างไรก็ตาม หลายครั้ง กกต.ถูกตั้งข้อสังเกตุ-ข้อกังขาว่า เป็นการ “เข้าข้าง” พรรคการเมืองใด-พรรคการเมืองหนึ่ง เช่น การกำหนดวันเลือกตั้งโดยเฉพาะพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี
รวมถึง กรณีนายอรรถวิชช์ สุรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้าร้องต่อศาลปกครองเพิกถอน การแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส.กทม. สกลนคร และสุโขทัย ของกกต. แต่สุดท้ายศาลปกครองสูงสุด “ยกคำร้อง”
นอกจากนี้ศาลรัฐธรรมนูญยังวินิจฉัยมีมติเอกฉันท์ การกำหนดจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่กำหนดให้ใช้จำนวนประชากรทั้งประเทศนั้น คำว่า “ราษฎร” ไม่ได้มีความหมายรวมถึงผู้ไม่มีสัญชาติไทย หรือ “คนต่างด้าว” เลือกตั้ง 62 กกต.ถูกสังคมวิพากษ์วิจาร์อย่างหนัก เช่น ตัวเลขผู้มาใช้สิทธิกับตัวเลขบัตรที่ถูกใช้ไปไม่ตรงกัน หรือ ที่ถูกเรียกว่า “บัตรเขย่ง” การคิดคำนวณส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ จนมี “พรรคเล็ก” ที่เป็น “ส.ส.ปัดเศษ” เข้าไปนั่งในสภานับสิบพรรค
รวมถึงกรณี “หีบเลือกตั้งนอกราชอาญาจักร” จากประเทศนิวซีแลนด์ จำนวน 1,500 ใบ ไม่สามารถส่งมาถึงประทเศไทยได้ตามกำหนด สาเหตุเกิดจากเครื่องบิน “ดีเลย์”“กกต.ชุดที่ได้รับการสรรหาจากแม่น้ำ 5 สาย” ถูกตั้งถามถึงการปฏิบัติหน้าที่อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล-คสช. ที่มีพรรคพลังประชารัฐเป็น “นั่งร้าน” ให้พล.อ.ประยุทธ์ “สืบทอดอำนาจผ่านการเลือกตั้งเมื่อปี 62
เว็บไซต์ “chang.org” เปิดให้ลงชื่อถอดถอนกกต. มีผู้สนับสนุน 862,029 คน กระจายตัวในสถาบันอุดมศึกษาและสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศอย่างน้อย 25 สถาบัน และแถลงการณ์สนับสนุนจากองค์การนักศึกษาและกลุ่มกิจกรรม 40 องค์กรเครือข่าย
โดยยื่นร้องต่อสำนักงานคณะกรรมป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ถึงเหตุผลให้ตรวจสอบ กกต. ดังนี้
1.กรณีบัตรนิวซีแลนด์ 2.กรณีหยุดนับคะแนนวันที่ 24 มีนาคา 2562 และ 3.กรณีน่าสงสัยในการปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ เช่น ตัวเลขที่ใช้สิทธิกับจำนวนบัตรที่ถูกใช้ไม่ตรงกันกกต.เป็นองค์กริอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ เกิดขึ้นครั้งแรกจาก “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” ในปี 2540 มี กกต.มาแล้ว “5 ชุด” ผ่านร้อน-ผ่านหนาว ประสบกับวิบากกรรรมจนต้องเข้าคุก-เข้าตารางมาหลายฤดูการเมือง ทุกครั้งที่ลมอำนาจเปลี่ยนทิศ
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 ศาลอาญามีคำพิพากษาจำคุก 4 ปี และตัดสิทธิ์เลือกตั้ง 10 ปี พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธานกกต.ในขณะนั้น
รวมถึงนายวีระชัย แนวบุญเนียร และนายปริญญา นาคฉัตรีย์ อดีตกกต. คดีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 “เอื้อประโยชน์” ให้พรรคไทยรักไทย อย่างไรก็ตา ต่อมา ศาลฎีกาพิพากษาให้ “ยกฟ้อง”อีกคดีวันที่ 3 มิถุนายน 2559 ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลอุทธรณ์จำคุก 2 ปี ตัดสิทธิ์เลือกตั้ง 10 ปี พล.ต.อ.วาสนา นายปริญญา นายวีระชัย (เสียชีวิตก่อน) กรณีไม่เป็นกลาง-เลือกปฏิบัติ เป็นคุณให้กับพรรคไทยรักไทย “คดีจ้างพรรคเล็ก”
กกต.ชุดปัจจุบัน-ชุดที่ 5 ได้รับการแต่งตั้งในยุคที่บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช. ) – นายกรัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง ปี 2560 มาตรา 222 กำหนดให้มีกกต. 7 คน แต่งตั้งจากวุฒิสภา โดยมีคุณสมบัติ ที่เรียกกันว่า “สเปกเทพ” เช่น
1.ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาการต่าง ๆ ที่จะยังประโยชน์แก่การบริหารและจัดการการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และมีความซื้อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ จำนวน 5 คน
2.ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านกฎหมาย มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิการบดีผู้พิพากษา หรือไม่ต่ำกว่าอธิบดีอัยการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ซึ่งได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 2 คน
กกต.ในยุคของพล.อ.ประยุทธ์ ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 5 ปีงบประมาณ วงเงินทั้งหมด 8,713,093,900 บาท ดังนี้
งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 รวม 1,785,281,000 บาท ประกอบด้วย งบประมาณรายจ่ายบุคลากร วงเงิน 1,470,442,300 บาท และงบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานด้านแผนงานพื้นฐานด้านความั่นคงและแผนงานยุทธศาสตร์ วงเงิน 314,838,700 บาทงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 รวม 1,707,911,000 บาท ประกอบด้วย งบประมาณรายจ่ายบุคลากร วงเงิน 1,396,577,100 บาท งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงาน 311,333,900 บาท แบ่งออกเป็น
1.แผนงานพื้นฐานด้านความมั่นคง จำนวน 241,381,900 บาท และ 2.แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาและเสริมสร้างการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จำนวน 69,952,000 บาทงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปี 2564 รวม 1,766,026,300 บาท ประกอบด้วย งบประมาณรายจ่ายบุคลากร วงเงิน 1,372,996,000 บาท งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงาน วงเงิน 393,030,300 บาท แบ่งออกเป็น
2.แผนงานพื้นฐานด้านความมั่นคง จำนวน 345,502,200 บาท และ 2.แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านความมั่นคง จำนวน 47,528,100 บาท งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปี 2563 รวม 1,780,159,600 บาท ประกอบด้วย งบประมาณรายจ่ายบุคลากร วงเงิน 1,442,894,700 บาท และงบประมาณรายจ่ายของหน่วยงาน ตามแผนงานพื้นฐานด้านความมั่นคง 337,264,900 บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปี 2562 รวม 1,673,716,000 บาท ประกอบด้วย งบประมาณรายจ่ายบุคลากร วงเงิน 1,668,089,900 บาท และงบประมาณรายจ่ายของหน่วยงาน ตามแผนงานพื้นฐานด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ วงเงิน 6,554,693,600 บาท ยังมีงบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตประพฤติมิชอบ 5,626,100 บาท
ท่ามกลางการตั้งคำถามต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกกต.ชุดปัจจุบัน กลายเป็น “วิกฤตศรัทธา” เสี่ยงผู้ชน-กองเชียร์ ลงสนามประท้วง เพราะคลางแคลงใจต่อ “กรรมการ” ในการตัดสินการเลือกตั้งที่จะมาถึงอีกไม่ถึง 1 เดือนเท่านั้น