เศรษฐกิจจีนปี 2562 น่าจะขยายตัวได้สูงสุด
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองเศรษฐกิจจีนปี 2562 น่าจะขยายตัวได้สูงสุดในไตรมาสแรกที่เติบโตร้อยละ 6.4 YoY และจะชะลอลงเล็กน้อยในช่วงที่เหลือของปีนี้
เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 6.4 (YoY) ในไตรมาส 1 ปี 2562 ทรงตัวจากไตรมาสสุดท้ายของ ปี 2561 โดยแม้ว่าการส่งออกของจีนจะชะลอตัวลงอย่างมีนัยสาคัญในช่วงไตรมาสท่ีผ่านมาจาก อุปสงค์โลกท่ีอ่อนแรง อย่างไรก็ดี นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐเร่ิมเห็นผล อีกทัง้ ความ คืบหน้าของการเจรจาทางการค้ากับสหรัฐฯ ส่งผลให้ความเช่ือม่ันดีขึน้ ปัจจัยเหล่านีช้่วยประคอง โมเมนตัมทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงปลายไตรมาส 1
เศรษฐกิจจีนไตรมาส 1/2562 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 (YoY) โดยถูกฉุดรั้งด้วยการส่งออกที่ชะลอตัวลงจากอุปสงค์โลกที่อ่อนแรงเป็นหลัก ซึ่งการส่งออกจีนในไตรมาส 1/2562 ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 (YoY) เมื่อเทียบกับการขยายตัวที่ร้อยละ 9.9 ในปี 2561 อย่างไรก็ดี การส่งออกจีนพลิกกลับมาขยายตัวถึงร้อยละ 14.2 ในเดือนมีนาคม 2562 เมื่อเทียบกับการหดตัวที่ร้อยละ (-)20.7 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562
โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ความผันผวนของการส่งออกนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ซึ่งการส่งออกจีนในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้หดตัวหลังจากผู้ประกอบการจีนได้มีการเร่งส่งออก (Front-loading) ในช่วงปลายปีที่แล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการขึ้นภาษี ในขณะที่การส่งออกจีนกลับมาขยายตัวในเดือนมีนาคมหลังจากที่สหรัฐฯ ตกลงที่จะเลื่อนการขึ้นภาษีสินค้าจีนเพิ่มเติมออกไปก่อน จากกำหนดเดิมที่ 1 มีนาคม 2562 ส่งผลให้ผู้ประกอบการจีนเร่งส่งออก (Front-loading) อีกครั้ง
สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของภาคการผลิตจีนในเดือนมีนาคมยังเร่งตัวสูงขึ้นกลับมาเป็นทิศทางขยายตัวที่ 50.8 หลังจากที่ชะลอตัวลงใน 2 เดือนแรกของปีนี้ ดังนั้น การเร่งตัวขึ้นของการส่งออกจีนในเดือนมีนาคมนั้นไม่ได้แสดงถึงโมเมนตัมที่แข็งแกร่ง หากแต่ถูกขับเคลื่อนด้วยการเร่งส่งออกเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบของสงครามการค้า ทั้งนี้ ด้วยอุปสงค์โลกมีแนวโน้มที่จะอ่อนแรงลง คงส่งผลให้การส่งออกของจีนในปีนี้ไม่สามารถเป็นแรงขับเคลื่อนหลักทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2562 ได้ อย่างไรก็ดี นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐมีส่วนช่วยประคองโมเมนตัมทางเศรษฐกิจของจีนไม่ให้ชะลอลงไปมากกว่านี้
โดยรัฐบาลจีนเห็นชอบให้มีการลงทุนภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ถึง 16 โครงการ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 โดยมีวงเงินสูงถึง 1.1 ล้านล้านหยวน (1.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ส่งผลให้การลงทุน (Fixed asset investment) ในไตรมาส 1/2562 เติบโตในอัตราเร่งขึ้นที่ร้อยละ 6.3 (YoY) เมื่อเทียบกับร้อยละ 5.9 (YoY) ในปี 2561 ในขณะที่ความคืบหน้าในการเจรจาทางการค้ากับสหรัฐฯ ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นและช่วยกระตุ้นภาคการผลิตและภาคการลงทุนให้ขยายตัวยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การบริโภคของจีนนั้นเริ่มฟื้นตัวจากอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลดภาษีเงินได้ ภาษีนำเข้า รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันจะเริ่มมีผลในไตรมาส 2 ปี 2562 มีส่วนช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของครัวเรือน ส่งผลให้การค้าปลีกในเดือนมีนาคม 2562 เติบโตเร่งขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือนที่ร้อยละ 8.7 (YoY)
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกไทยไปจีนจะหดตัวในกรอบร้อยละ (-)0.5-3.0 ในปี 2562 หลังจากที่การส่งออกไทยไปจีนหดตัวถึงร้อยละ (-)9.2 (YoY) ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ โดยการส่งออกไทยไปจีนมีแนวโน้มที่จะหดตัวน้อยลงในช่วงที่เหลือของปีนี้ จากข้อพิพาททางการค้าที่เริ่มคลี่คลาย และมาตรการกระตุ้นการเศรษฐกิจของทางการจีน การส่งออกไทยไปจีนในช่วง 2 เดือนแรกหดตัวในเกือบทุกสินค้าหลัก ซึ่งส่วนมากเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) เช่น ยางพารา และเม็ดพลาสติก ทำให้การส่งออกไทยไปจีนจะยังคงเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยทางด้านราคาที่มีแนวโน้มจะยังอ่อนค่าต่อไป
นอกจากนี้ ไทยมีความเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานกับจีนค่อนข้างมากในหลากหลายอุตสาหกรรม ส่งผลให้การส่งออกชิ้นส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีแนวโน้มที่จะยังชะลอตัว จากการส่งออกจีนที่จะยังคงอ่อนแรงตามอุปสงค์โลก อย่างไรก็ดี การบริโภคของจีนที่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ น่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ของไทย เช่น ผลไม้สด และเครื่องสำอาง นอกจากนี้ มาตรการลดภาษีนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคของจีนน่าจะช่วยกระตุ้นให้การส่งออกไทยในสินค้าเหล่านี้ขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง และจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยประคองการส่งออกไทยไปจีนในปี 2562 นี้