สหรัฐฯ ห้ามอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นเครื่อง
สหรัฐฯ ประกาศห้ามอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ขึ้นเครื่องบิน ในเที่ยวบินที่มาจาก 8 ประเทศในตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือและยุโรป
โดยระเบิดอาจถูกซ่อนอยู่ในแล็ปท็อป แท็บเล็ต กล้อง เครื่องเล่นดีวีดีและเกมอิเล็กทรอนิกส์ อ้างอิงจากคำประกาศของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐฯ
มาตรการนี้จะส่งผลกระทบกับ 9 สายการบินที่มีการดำเนินการอยู่ใน 10 สนามบิน โดยโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ยกเว้นในคำสั่งห้ามนี้
รัฐบาลของสหราชอาณาจักรเองก็กำลังบังคับใช้มาตรการห้ามนี้กับแล็ปท็อปเช่นเดียวกัน โดยทางสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ผู้โดยสารเครื่องบินจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำแล็ปท็อปขึ้นเครื่องบินในเที่ยวบินขาเข้าที่บินตรงมาจากตุรกี เลบานอน จอร์แดน อียิปต์ ตูนิเซีย และซาอุดิอาระเบีย
ทั้งนี้ รัฐบาลประเทศตุรกีโวยวายว่า คำสั่งห้ามของสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่ผิดและควรมีการทบทวนคำสั่ง
ผู้โดยสาร 50 เที่ยวบินต่อวันที่เดินทางมาจากฮับของสนามบินที่วุ่นวายที่สุดในตะวันออกกลาง ตุรกี และแอฟริกาเหนือจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งนี้อย่างเคร่งครัด
โดย 9 สายการบินที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งห้ามของสหรัฐฯ คือ รอยัล จอร์แดนเนียน, อียิปต์แอร์ ,เตอร์กิชแอร์ไลน์ ,ซาอุดิอาระเบียนแอร์ไลน์ ,คูเวตแอร์ไลน์ , รอยัลแอร์มาร็อก, กาตาร์แอร์ไลน์ ,เอมิเรตส์และเอทิฮาดแอร์เวย์
ทางการสหรัฐฯ รายงานว่า คำสั่งนี้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 21 มี.ค.เวลา 7.00 น. โดยห้ามไม่ให้มีการพกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟนขึ้นเครื่องบิน และเสริมว่าคำสั่งนี้ยังไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด
สนามบินที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งแบนในครั้งนี้คือ
- สนามบินนานาชาติโมฮัมเหม็ด เมืองคาซาบลังกา ประเทศโมร็อกโก
- สนามบินอตาเติร์ก กรุงอีสตันบูล ประเทศตุรกี
- สนามบินนานาชาติไคโร ประเทศอียิปต์
- สนามบินนานาชาติควีน อเลีย เมืองอัมมาน ประเทศจอร์แดน
- สนามบินนานาชาติคิงอับดุลลาซิซ กรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย
- สนามบินนานาชาติคูเวต
- สนามบินนานาชาติฮามาด เมืองโดฮา ประเทศการ์ตา
- สนามบินนานาชาติอาบู ดาบี ประเทศสหรัฐฯอาหรับเอมิเรตส์
- สนามบินนานาชาติดูไบ ประเทศสหรัฐฯ อาหรับเอมิเรตส์
อย่างไรก็ตาม โฆษกสายการบินเอมิเรตส์กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ทางสายการบินเข้าใจว่า คำสั่งห้ามนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 มี.ค.และคำสั่งจะคงอยู่ไปจนถึงวันที่ 14 ต.ค.ปี 2560 นี้.