งบประมาณเยอรมนีเกินดุลสูงสุด
จำนวนงบประมาณของเยอรมนีทำสถิติสูงสุดเกือบ 24,000 ล้านยูโรในปี 2559 โดยได้แรงหนุนจากการจัดเก็บภาษีที่สูงขึ้นและการจ้างงานที่เพิ่มจำนวนขึ้น
นับเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันที่รายรับของรัฐบาลเยอรมนีแซงหน้าการใช้จ่ายงบประมาณ
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นในด้านการจัดหาที่พักและการดูแลผู้ลี้ภัย ภายใต้กฎหมายงบประมาณ เงินที่เกินดุลงบประมาณจะถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนการดูแลผู้ลี้ภัย
ในรายงานที่แยกออกมาอีกส่วนหนึ่ง ตัวเลขที่เป็นทางการยืนยันว่า เศรษฐกิจเยอรมนีเติบโตขึ้น 1.9% ในปี 2559 สาเหตุสำคัญคือ การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคและรัฐบาล
โดยตัวเลขงบประมาณ ที่เผยแพร่จากสำนักงานสถิติกลางของเยอรมนีมาจากจำนวนการจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น ทั้งภาษีรายได้และภาษีทรัพย์สิน รวมทั้งสถานการณ์การจ้างงานที่ดี ซึ่งนำไปสู่การเติบโตของการมีร่วมทางสังคม
ในแง่ของการใช้จ่าย ปัจจัยสำคัญของการใช้จ่ายที่สูงขึ้นของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นอยู่ที่การจัดหาที่พักให้ผู้ลี้ภัย รวมถึงการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้ลี้ภัยด้วย ที่ผ่านมา เยอรมนีรับผู้อพยพเข้าประเทศมากกว่า 1 ล้านคนในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มาจากแอฟริกาและตะวันออกกลาง
โดยตัวเลขงบประมาณที่เกินดุลมูลค่า 23,700 ล้านยูโร คิดเป็น 0.8% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพี ส่วนงบประมาณที่ที่เกินดุลจะเป็นของรัฐบาลกลาง 7,700 ล้านยูโร โดยส่วนนี้ทั้งหมดจะนำเข้ากองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัย
นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลลดจำนวนการรับผู้ลี้ภัยใหม่ลง “ ถ้าคุณมองที่รัฐบาลกลางอย่างเดียว จะเห็นว่าจำนวนที่เกินดุลมันน้อยมาก ”
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีแมร์เคิลกล่าวว่า รัฐบาลจะเพิ่มงบประมาณให้กับกระทรวงกลาโหมรวมทั้งความมั่นคงในประเทศและการปรับปรุงทางสังคม “ ขณะเดียวกัน เราไม่ต้องการที่จะสร้างหนี้ใหม่ จึงมีความจำกัดในด้านกลยุทธ์การใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ” ผู้นำหญิงแกร่งของเยอรมนีกล่าว
ตัวเลขจีดีพีแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีเติบโต 0.4% ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2559 โดยแรงขับเคลื่อนสำคัญตือ ดีมานด์ในประเทศ รวมทั้งการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น และการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลกลาง รัฐบาลรัฐ และรัฐบาลท้องถิ่น
ที่ผ่านมา ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจเยอรมนีมาจากการส่งออก แต่ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว การพัฒนาการค้ากับต่างประเทศมีปัจจัยลบที่กระทบการเติบโต อ้างอิงจากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
ทั้งนี้ ขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.3% จากปี 2558 แต่การนำเข้ามีการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 4.5%.
หมายเหตุ 1 ยูโร = 37.57 บาท / 24 ก.พ. 2560