เศรษฐกิจอังกฤษปีที่แล้วโตเหลือเชื่อ
ตัวเลขเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในปี 2559 ที่ผ่านมา ดูจะจบลงได้อย่างสวยงามจากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
อ้างอิงจากการสำรวจล่าสุดของนักของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ซึ่งทำนายว่า สหราชอาณาจักรจะมีตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 0.5% ในไตรมาส 4 ตามหลังการขยายตัว 0.6% จากทั้งไตรมาส 2 และไตรมาส 3 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติจะมีการเผยแพร่ข้อมูลอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 ม.ค.ในกรุงลอนดอน
ขณะที่ผลสำรวจทางธุรกิจล่าสุดชี้ให้เห็นถึง ภาวะซบเซาจากเบร็กซิท หรือการลงประชามติโหวตให้สหราชอาณาจักรแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป และยังมีความเสี่ยงให้เห็น โดยยอดการค้าปลีกลดลงในเดือนธ.ค.และเร่งให้ตัวเลขเงินเฟ้อในปี 2560 นี้บีบคั้นผู้บริโภค ไตรมาส 4 ของปีที่แล้วอาจเป็นตัวเลขสุดท้ายที่มีการขยายตัวก่อนจะชะลอตัว อ้างอิงจากความเห็นของลิซ มาร์ตินส์ นักเศรษฐศาสตร์ของ HSBC Holdings Plc ประจำกรุงลอนดอน
“ ไตรมาส 4 อาจชี้ให้เห็นว่า เรากำลังก้าวไปอย่างแข็งแกร่งเกินกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ แต่จากทั้งหมดแล้วเชื่อว่าไตรมาสแรกของปีนี้จะชะลอตัวลง เพราะตัวเลขเงินเฟ้อและค่าแรงที่แท้จริง ที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาของความแข็งแกร่งที่น่าเหลิอเชื่อ และคุณจะไม่สามารถกลับไปสู่ตัวเลขเดิมได้อีกตลอดไป ”
คณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จะมีการประชุมในสัปดาห์นี้เพื่อเตรียมพร้อมก่อนการประชุมเพื่อตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยในวันที่ 2 ก.พ.โดยควบคู่ไปกับการประกาศดอกเบี้ยนโยบาย จะมีการเผยแพร่ตัวเลขคาดการณ์ทางเศรษฐกิจประจำไตรมาสแรกนี้ด้วย
โดยนายมาร์ค คาร์นีย์ ผู้ว่าการ BOE ส่งสัญญาณเมื่อช่วงต้นเดือนม.ค.ว่า ธนาคารอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 หลังจากเบร็กซิท อย่างไรก็ตาม เขายังได้เตือนว่า ผู้บริโภคจะเผชิญกับแรงปะทะล่าสุดในปี 2560 ซึ่งมีแนวโน้มจะควบคุมการขยายตัว ข้อมูลล่าสุดในสัปดาห์นี้แสดงว่า เงินเฟ้อขยับขึ้นในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นตัวเลขที่เติบโตมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา
ขณะที่ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจดีขึ้น รายงานผลผลิตประจำเดือนสำหรับแต่ละภาคส่วนดูจะเป็นภาพที่ไม่สมดุล ผลผลิตการก่อสร้างและและอุตสาหกรรมซบเซาลง แต่ภาคบริการยังคงเพิ่มขึ้น
แนวโน้มของเศรษฐกิจดูจะขึ้นอยู่กับว่า รัฐบาลจะสามารถเจรจาด้านการค้ากับทั่วโลกอย่างไร ซึ่งรวมถึงการที่สหราชอาณาจักรจะออกจากตลาดเดียวอย่างสหภาพยุโรปด้วย ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญที่อาจฉุดการลงทุนทางธุรกิจและการจ้างงานให้ลดลง.