สหรัฐฯขู่เก็บภาษีสินค้าอียูจากการอุดหนุนแอร์บัส
สหรัฐฯขู่จะจัดเก็บภาษีกับสินค้าจากสหภาพยุโรปมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ โดยเน้นย้ำถึงข้อพิพาทที่มีมายาวนานเรื่องเงินอุดหนุนเครื่องบิน
เมื่อวันที่ 9 เม.ย. ผู้แทนการค้าสหรัฐฯเสนอมาตรการจัดเก็บภาษีกับสินค้าส่งออกจากสหภาพยุโรปหลายร้อยชนิด เพื่อเป็นการตอบโต้สหภาพยุโรปที่ให้เงินอุดหนุนบริษัทผู้ผลิตเครืองบินแอร์บัส โดยสินค้าที่จะถูกเก็บภาษีมีตั้งแต่เครื่องบินแอร์บัส และสินค้าสำคัญอย่างไวน์ ชีส และปลาแช่แข็ง
โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าของอียูอยู่ที่ 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯทุกปี ประเมินคร่าวๆเท่ากับมูลค่าความเสียหายที่สหรัฐฯเชื่อว่าเงินอุดหนุนบริษัทแอร์บัสของอียูส่งผลกระทบกับบริษัทโบอิ้งและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
มาตรการภาษีที่เสนอจะต้องผ่านการปรึกษาหารือสาธารณะในสหรัฐฯและอนุญาโตตุลาการที่องค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งคาดการณ์ว่าจะฟังผลได้ในช่วงฤดูร้อน
ข้อพิพาทนี้ย้อนหลังไปถึงปี 2547 เมื่อรัฐบาลอียูระบุว่า โบอิ้งได้รับเงินอุดหนุนที่ไม่เป็นธรรมจำนวน 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯจากรัฐบาลกลางสหรัฐฯและรัฐบาลท้องถิ่นในช่วงปี 2532 – 2549 ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯยื่นคำร้องในคำอ้างเดียวกันเกี่ยวกับเงินอุดหนุนที่อียูให้กับแอร์บัส
ทาง WTO ให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย โดยเน้นถึงความซับซ้อนของข้อพิพาท ขณะที่องค์กรเฝ้าระวังทางการค้าระบุในเดือนมี.ค. ว่า สหรัฐฯ ล้มเหลวในการหยุดให้เงินอุดหนุนภาษีผิดกฎหมายกับโบอิ้งในวอชิงตัน แต่เคลียร์จากคำกล่าวหาอื่น
ทั้งนี้ คำขู่เก็บภาษีจากสหรัฐฯมีความเสี่ยงที่จะทำให้ความตึงเครียดยกระดับขึ้น
“ เป้าหมายสูงสุดของเราคือการบรรลุข้อตกลงกับทางอียูเพื่อยุติเงินอุดหนุนที่ให้กับเครื่องบินพลเรือน” Robert Lighthizer ผู้แทนการค้าสรัฐฯระบุ
เมื่อวันที่ 9 เม.ย.โฆษกของคณะกรรมาธิการยุโรประบุว่า ทางอียูจะตอบโต้เช่นเดียวกันกับกรณีของโบอิ้ง “ อียูยังคงเปิดกว้างให้มีการปรึกษากับสหรัฐฯ และหวังให้มีผลลัพธ์ที่ยุติธรรม”
สหรัฐฯขู่จะเก็บภาษีกับสินค้าอียู หลังจากมีความตึงเครียดทางการค้าเพิ่มขึ้นระหว่างอียู กับทำเนียบขาวของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยทรัมป์กำลังพิจารณาใช้มาตรการภาษี 25% กับรถยนต์นำเข้าจากยุโรป ซึ่งเป็นคำขู่ที่เขย่าประสาทบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ในประเทศยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมอย่างเยอรมนี
โดยสหรัฐฯมีมาตรการภาษีกับเหล็กและอลูมิเนียมที่ส่งออกจากยุโรปไปแล้ว ทำให้อียูโต้ตอบด้วยภาษีมูลค่ากว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กับสินค้าส่งออกจากสหรัฐฯในเดือนมิ.ย. 61 โดยมาตรการภาษีนี้ส่งผลกระทบกับผลิตภัณฑ์อย่างรถจักรยานยนต์ น้ำส้ม ลูกอม เนยถั่ว บุหรี่และผ้าเดนิม
ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสองฝ่ายมีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี แต่การส่งออกจากยุโรปมีสินค้าไปที่สหรัฐฯมากกว่าอีกฝ่าย
ทั้งนี้ เศรษฐกิจของอียูกำลังเผชิญกับแรงกดดัน และมาตรการภาษีใหม่จากสหรัฐฯ อาจกระทบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรปหั่นตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของอียูในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 1.5% โดยเน้นถึง “ ความผันผวนที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายการค้า” ว่าเป็นเหตุผลหนึ่งในการปรับลดตัวเลข.