บสย.ค้ำประกันเอสเอ็มอีสูงสุดทุบสถิติ
“ดร.รักษ์” ดันบสย.ค้ำประกันเอสเอ็มอีทะลุ 1.4 แสนล้านบาท สนองนโยบายรัฐบาลอุ้มเอสเอ็มอีทั้งระบบฝ่าวิกฤติโควิด-19 พร้อมมั่นใจกว้าขึ้นชิงตำแหน่งเอ็มดีเอ็กซิมแบงก์
“ผมได้ลงสมัครชิงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เอ็กซิมแบงก์ หรือ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ต่อจากพี่พิศิษฐ์ (พิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา) ที่จะหมดวาระต้นปีหน้า” ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการ บรรษัทประ กันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวกับสำนักข่าว AEC 10 NEWS
การทำงานในช่วงที่ผ่านมา ของ ดร.รักษ์ ก่อนที่จะกว้าขึ้นเป็นผู้บริหารสูงสุดของ บสย.นั้น ได้เคยนั่งในตำแหน่งรองผู้จัด การธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือไอแบงก์ และย้ายมานั่งในตำแหน่งรองผู้จัดการของเอ็กซิมแบงก์ ก่อนจะเข้าชิงชัยเป็นกรรมการผู้จัดการและผู้จัดการของ บสย.
ดร.รักษ์ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่อยู่กับ บสย.ผมได้พัฒนาธนาคารแห่งนี้ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของประชาชน และกระทรวงการคลังทั้งในเรื่องของผลการดำเนินงาน การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และผู้ที่มีรายได้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำได้
ผลดำเนินงานของ บสย.ตั้งแต่เดือนม.ค.จนถึงเดือนพ.ย.2563 (11เดือน) มียอดค้ำประกันสินเชื่อพุ่งแตะ 140,000 ล้านบาท ช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย ที่เป็นเอสเอ็มอีรายใหม่ได้ถึง 130,000 ราย แต่หากนำผลดำเนินงานปี2563 เปรียบ เทียบกับปี2562 ในช่วงเดือนม.ค.ถึงเดือนต.ค. พบว่า ยอดการอนุมัติการค้ำประกันสินเชื่อปี2563 เพิ่มขึ้น 112% ช่วยผู้ ประกอบการเอสเอ็มอีได้เพิ่มขึ้น 167% และที่สำคัญคือ การอนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อ หรือแอลจี เพิ่มขึ้นถึง 174%
หมายความว่า เราทำงานแข่งขันกับเวลาได้ถึง 2-3 เท่า จากเดิมที่เราอนุมัติแอลจี ได้วันละ 200 ฉบับ ล่าสุดเราได้พัฒนาความรวดเร็วถึงขั้นอนุมัติได้สูงถึงวันละ 2,000 ฉบับ ภายใต้การระบบการตรวจสอบอย่างดี และแม่นยำ ตามมาตรฐานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
“ผมต้องของกราบขอบคุณผู้บริหารและพนักงานทุกที่คนทำงานหามรุ่งหามค่ำ ในช่วงที่ผ่านมา เพราะหากบสย.ช่วยเหลือผู้ประกอบการล่าช้า ปัญหาสภาพคล่องขาดมือก็เท่ากับเพิ่มภาระให้แก่ผู้ประกอบการในช่วงที่โควิด-19 แพร่ระบาดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา”
ดังนั้น ผลงานที่โดดเด่นของ บสย.เกือบทั้งหมดจะเน้นไปที่เอสเอ็มอี และประชาชนกลุ่มเปราะบาง ได้แก่
1.โครงการค้ำประ กันสินเชื่อ PGS8 เตรียมวงเงิน 100,000 ล้านบาท ช่วยผ่านโครงการพลิกฟื้นท่องเที่ยว ดีแน่นอน บัญชีเดียว ชีวิตใหม่ บรรลุเป้าหมาย 99% วงเงิน 99,000 ล้านบาท
2.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS8 บสย. SMEs สร้างไทย วงเงิน 50,000 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มเปราะบาง และกลุ่มที่มีการปรับโครงสร้างหนี้ ค้ำประกันเต็มวงเงินร้อยเปอร์เซ็นต์ และ 3.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro entrepreneur ระยะ 3 วงเงิน 15,000 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีฐานรากและอาชีพอิสระ ค้ำประกันเต็มวงเงินร้อยเปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ บสย.ยังเชื่อมโยงการค้ำประกันสินเชื่อในโครงการสินเชื่อ Soft Loan ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต่อเนื่อง ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Soft Loan พลัส (Soft Loan+) วงเงิน 57,000 ล้านบาท รวมถึงความร่วมมือกับธนาคารออมสินในโครงการค้ำประกันสินเชื่อในโครงการสินเชื่อ Soft Loan วงเงิน 10,000 บาท นับว่าเป็นโครงการที่โดดเด่นมากในปีนี้ ด้วยการจัดตั้งศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs (บสย. F. A. Center) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ ชั้น 1 อาคารธนาคาร SME D Bank หวังยกระดับการให้บริการผู้ประกอบการ SMEs มากกว่าบทบาทการค้ำประกันสินเชื่อ “จากนายประกันสู่ที่ปรึกษาทางการเงิน
ส่วนแผนการดำเนินงาน บสย.ในปี 2564 ได้มุ่งเน้น 5 ยุทธศาสตร์ เพื่อยกระดับองค์กร สู่ New Business Model ได้แก่
1. การผลักดันการเข้าถึงแหล่งทุนด้วยการเป็น Credit accelerator
2. การสร้างองค์ความรู้และโอกาสทางธุรกิจให้ SMEs และรายย่อยด้วยการเป็นเพื่อนคู่คิด (SMEs Growth Companion)
3. การเป็นตัวกลางเชื่อมโยง SMEs และรายย่อยสู่แหล่งทุนที่หลากหลาย (Funding Gateway)
4.การให้สินเชื่อแบบเฉพาะกลุ่ม ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ (Finance the unfinanced)
และ 5.จัดตั้งศูนย์บริการข้อมูล เพื่อสร้างฐานข้อมูล SMEs (SMEs data bank) โดยความร่วมมือกับพันธมิตรในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน
โดยตั้งเป้าหมายการค้ำประกันสินเชื่อในปี 2564 ประมาณ 100,000 ล้านบาท ภายใต้แผนการพัฒนานวัตกรรมผลิต ภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อที่หลากหลาย ตอบโจทย์ เอสเอ็มอีทุกกลุ่ม ภายใต้กลยุทธ์การทำตลาด Segmentation และการพัฒนา Product เจาะกลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าไม่ถึงแหล่งทุน รวมถึงการขยายช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านช่องทาง Non bank เพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่เข้าไม่ถึงแหล่งทุนจากสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ บสย.ยังเตรียมความพร้อมรองรับการอนุมัติโครงการค้ำประกันสินเชื่อใหม่ 2 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS-9 วงเงิน 150,000 ล้านบาท เพื่อให้สถาบันเงิน มั่นใจในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น รวมถึงช่วยเหลือลูกค้า SMEs ที่มีปัญหา ภายใต้โครงการค้ประกันสินเชื่อ บสย.SMEs สร้างไทย เฟส 2 และ 2.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro 4 วงเงิน 25,000 ล้านบาท ซึ่งมีวงเงินเพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญในการช่วยผู้ประกอบการ SMEs ฐานราก กลุ่มอาชีพอิสระ โดยให้ บสย.พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เพื่อตอบโจทย์เยียวยาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งทั้ง 2 โครงการกำลังอยู่ระหว่าง นำเสนอที่ประชุม ครม.ต้นเดือนธ.ค.นี้ พิจารณาเห็นชอบ เพื่อมอบโครงการนี้ให้เป็นของขวัญปีใหม่แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี