สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 ธ.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และสภาพอากาศวันนี้ : มวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคประเทศไทยตอนบนและ ภาคใต้ตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลงกับมีลมแรง ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
คาดการณ์ : ในวันที่ 30 ธ.ค. 67 – 3 ม.ค. 68 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลงเป็นกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 78% ของความจุเก็บกัก (63,194 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 67% (38,980 ล้าน ลบ.ม.)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุดหรือมีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% 3 แห่ง ดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ สิรินธร และลำตะคอง
3. คุณภาพน้ำ : แม่น้ำสายหลัก 4 สาย (เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. สถานการณ์เพาะปลูกพืช : แผนและผลการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ปี 2567/68 ทั้งประเทศ แผนการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ทั้งในและนอกเขตชลประทาน 15.38 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 7.62 ล้านไร่ (50%) ซึ่งอยู่ในแผนฯ จำแนกได้ดังนี้
แผนปลูกข้าวนาปรังทั้งประเทศ 12.73 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 6.86 ล้านไร่ (54%)
แผนการเพาะปลูกพืชไร่ พืชผักทั้งประเทศ 2.65 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 0.76 ล้านไร่ (29%)
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แผนการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ทั้งในและนอกเขตชลประทาน 8.81 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 5.71 ล้านไร่ (65%) ซึ่งอยู่ในแผนฯ จำแนกได้ดังนี้
แผนปลูกข้าวนาปรัง 8.05 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 5.40ล้านไร่ (67%)
แผนการเพาะปลูกพืชไร่ พืชผัก 0.76 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 0.31 ล้านไร่ (41%)
ลุ่มน้ำแม่กลอง แผนการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ทั้งในและนอกเขตชลประทาน 1.12 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 0.07 ล้านไร่ (6%) ซึ่งอยู่ในแผนฯ จำแนกได้ดังนี้
แผนปลูกข้าวนาปรัง 0.86 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 0.05 ล้านไร่ (6%)
แผนการเพาะปลูกพืชไร่ พืชผัก 0.26 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 0.02 ล้านไร่ (8%) ข้อมูล ณ วันที่ 25 ธ.ค. 67
5. แจ้งเตือน : ประกาศ เฝ้าระวัง น้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเค็มรุกล้ำช่วงวันที่ 29 ธ.ค. 67 – 8 ม.ค. 68
1. จากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นและอาจไหลเข้าท่วมบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง รวมถึงชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ)
2. เฝ้าระวังน้ำเค็มรุกล้ำส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร จึงขอให้เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเค็มรุกล้ำในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร นครปฐม และสมุทรสงคราม
6. สถานการณ์อุทกภัย : พื้นที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ณ วันที่ 29 ธ.ค. 67 จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จ.สุราษฎร์ธานี (อ.ท่าชนะ วิภาวดี และเกาะพะงัน) จ.นครศรีธรรมราช (อ.พระพรหม ปากพนัง เฉลิมพระเกียรติ เชียรใหญ่ และชะอวด) ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,314 ครัวเรือน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 28 ธ.ค. 67