สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 พ.ย. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และสภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณช่องแคบมะละกาและประเทศมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
คาดการณ์ : ในช่วงวันที่ 1–4 ธ.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ มีกำลังอ่อนลงเป็นกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนกลางและตอนล่างมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 82% ของความจุเก็บกัก (65,931 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 72% (41,717 ล้าน ลบ.ม.) เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุดหรือมีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% 2 แห่ง ดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ และลำตะคอง
3. คุณภาพน้ำ : แม่น้ำสายหลัก 4 สาย (เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. ประกาศ : ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 20/2567 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงวันที่ 27 พ.ย.-4 ธ.ค. 67 ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากดินโคลนถล่ม น้ำท่วมขังในเขตชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรัง สตูล นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.สุราษฎร์ธานี สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดยเฉพาะเขื่อนบางลาง จ.ยะลา ให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ คลองชุมพร แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตาปี แม่น้ำตรัง คลองชะอวด คลองลำ คลองท่าแนะ แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำโก-ลก และคลองตันหยงมัส
5. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ: วานนี้ (28 พ.ย. 67) นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ ครั้งที่ 7/2567 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมโครงการชลประทานนครศรีธรรมราชจ.นครศรีธรรมราช โดยที่ประชุมได้รายงานสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำ การคาดการณ์ และแนวทางการเตรียมความพร้อมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที้ ทั้งนี้ประธานฯ ได้เน้นย้ำ การให้ความช่วยเหลือ และอพยพประชาชนในพื้นที่น้ำท่วม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
6.สถานการณ์อุทกภัย : วันที่ 29 พ.ย. 67 ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จ.นครศรีธรรมราช (อ.ชะอวด เฉลิมพระเกียรติ พระพรหม เมืองฯ ร่อนพิบูลย์ จุฬาภรณ์ ปากพนัง พรหมคีรี นบพิตำ หัวไทร และทุ่งสง) จ.พัทลุง (อ.เมืองฯ ศรีบรรพต ควนขนุน ปากพะยูน และบางแก้ว ) จ.สตูล (อ.ควนโดน เมืองฯ และท่าแพ ) จ.สงขลา (อ.ระโนด สะเดา หาดใหญ่ สิงหนคร เทพา บางกล่ำ สะบ้าย้อย นาทวี จะนะ รัตภูมิ เมืองฯ นาหม่อม กระแสสินธุ์ ควนเนียง คลองหอยโข่ง และสทิงพระ) จ.ปัตตานี (อ.มายอ ทุ่งยางแดง หนองจิก แม่ลาน ไม้แก่น โคกโพธิ์ ยะรัง ยะหริ่ง เมืองฯ สายบุรี กะพ้อ และปะนาเระ ) จ.ยะลา (อ.บันนังสตา เมืองฯ ยะหา รามัน เบตง ธารโต กรงปินัง และกาบัง) จ.นราธิวาส (อ.บาเจาะ แว้ง รือเสาะ เจาะไอร้อง สุคิริน ยี่งอ ระแงะ ตากใบ จะแนะ ศรีสาคร สุไหงโก-ลก สุไหงปาดี และเมืองฯ )
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 28 พ.ย. 67