สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 ก.ย. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.ตาก (72 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.อุดรธานี (98 มม.) ภาคกลาง : จ.สิงห์บุรี (49 มม.) ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (67 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (12 มม.) ภาคใต้ : จ.พังงา (85 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ ภาคตะวันออก และอ่าวไทยทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้
คาดการณ์ :.ช่วงวันที่ 6-7 ก.ย. 67 ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ ภาคตะวันออก และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง
พายุไต้ฝุ่น “ยางิ” (YAGI) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน และขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 6 – 7 ก.ย. 67 หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 63% ของความจุเก็บกัก (50,626 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 46% (26,4 ล้าน ลบ.ม.)
3. สทนช.ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 13/2567 ลงวันที่.1 ก.ย. 67 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 3 – 9 ก.ย. 67 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
3.1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จ.ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสตูล
3.2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80
3.3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ แม่น้ำยม แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำตราด แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ คลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และแม่น้ำน้อย ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา
4. สถานการณ์น้ำ : วานนี้ (4 ก.ย. 67) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่น “ยางิ” ที่จะส่งผลให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทย ทำให้จะมีฝนตกหนักเพิ่มขึ้นหลายพื้นที่ในช่วง 7 วันข้างหน้านี้ สทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการเตรียมพื้นที่รองรับน้ำในเขื่อน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ฝน รวมถึงจะมีการใช้พื้นที่หน่วงน้ำ ก่อนที่ปริมาณน้ำจะไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งในช่วงวันที่ 9–10 ก.ย. 67 อาจจะต้องระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอยู่ในอัตราประมาณ 2,000 ลบ.ม. ต่อวินาที และคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำทำให้เกิดน้ำท่วมเพิ่มเติมในบริเวณพื้นที่ริมแม่น้ำ พื้นที่ลุ่มต่ำ และพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ จ.ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนนทบุรี ทั้งนี้ ในวันนี้ (5 ก.ย. 67) สทนช. จะประชุมหน่วยบริหารจัดการน้ำร่วมกับหน่วยงานด้านน้ำและทุกจังหวัดท้ายเขื่อนเจ้าพระยา รวมถึงจะพิจารณาจัดตั้งศูนย์พักพิงและเตรียมถุงยังชีพ เพื่อเป็นการดูแลและสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่
5. สถานการณ์อุทกภัย : วันที่ 4 ก.ย. 67 ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เทิง ขุนตาล และพญาเม็งราย) จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ศรีสำโรง ศรีนคร คีรีมาศ และกงไกรลาศ) จ.พิษณุโลก (อ.เมืองฯ พรหมพิราม บางระกำ บางกระทุ่ม และชาติตระการ) จ.อ่างทอง (อ.วิเศษชัยชาญ) จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.พระนครศรีอยุธยา เสนา บางบาล ผักไห่ บางไทร และบางปะอิน) จ.หนองคาย (อ.สังคม ท่าบ่อ และรัตนวาปี) และ จ.นครพนม (อ.เมืองฯ และศรีสงคราม)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 ก.ย. 67