สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 1 ก.ย. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.เชียงใหม่ (144 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ศรีสะเกษ (55 มม.) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (17 มม.) ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (48 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (60 มม.) ภาคใต้ : จ.สงขลา (147 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 2-6 ก.ย. 67 ร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ ภาคตะวันออก และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 62% ของความจุเก็บกัก (49,713 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 44% (25,532 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แจ้งเตือนเฝ้าระวัง!!! น้ำทะเลหนุนสูงช่วงวันที่ 30 ส.ค. – 5 ก.ย. 67 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : วานนี้ (31 ส.ค. 67) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจและติดตามสถานการณ์อุทกภัยลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่ จ.สุโขทัย นครสวรรค์ และชัยนาท โดยเป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัยลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อรับฟังสรุปสถานการณ์น้ำและรายงานแผนการเร่งระบายน้ำท่วมขังในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน รวมถึงแผนการเตรียมความพร้อมรับมือฝนในช่วงถัดไป ก่อนพบปะให้กำลังใจประชาชน พร้อมมอบถุงยังชีพ จากนั้นได้ลงพื้นที่ตรวจและติดตามสถานการณ์น้ำบริเวณประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ และประตูระบายน้ำคลองหกบาท ต.ป่ากุมเกาะ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย แล้วเดินทางไปเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท เพื่อรับฟังบรรยายและติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้มอบนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยในลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยปัจจุบันสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ของภาคเหนือมีแนวโน้มใกล้เข้าสู่สภาวะปกติ จึงให้ความสำคัญในการเร่งสำรวจความเสียหายและฟื้นฟูเยียวยาประชาชนโดยเร็วที่สุด พร้อมกันนี้ มอบหมายให้ สทนช. เป็นหน่วยงานบูรณาการในการติดตามสถานการณ์น้ำและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องบูรณาการการดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมรับมือมวลน้ำของพื้นที่ภาคเหนือซึ่งจะไหลมารวมกันที่แม่น้ำเจ้าพระยาและผ่านเขื่อนเจ้าพระยา รวมทั้งเตรียมพร้อมรับมือหากมีพายุจรพัดผ่านเข้ามาในประเทศไทยในช่วงหลังจากนี้ด้วย
5. สถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 31 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.แม่จัน เทิง ขุนตาล เชียงของ พญาเม็งราย และเมืองฯ) จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ สวรรคโลก ศรีสำโรง ศรีนคร กงไกรลาศ และศรีสัชนาลัย) จ.พิษณุโลก (อ.บางระกำ และพรหมพิราม) และ จ.หนองคาย (อ.สังคม รัตนวาปี ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ และเมืองฯ)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 31 ส.ค. 67