สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 18 ส.ค. 67
![สรุปสถานการณ์น้ำ](https://aec10news.com/wp-content/uploads/2024/08/image-236-1024x768.png)
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.เชียงราย (120 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.สกลนคร (156 มม.) ภาคกลาง : จ.ปทุมธานี (65 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ระยอง (59 มม.) ภาคตะวันตก : จ.เพชรบุรี (51 มม.) ภาคใต้ : จ. สงขลา (158 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย และมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 20 – 22 ส.ค. 67 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือ2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 57% ของความจุเก็บกัก (46,181 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 35% (22,019 ล้าน ลบ.ม.)
3. สทนช. 1. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 10/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 16 – 22 ส.ค. 67 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มและบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำบริเวณ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภูบึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ ลำน้ำงาว ลำน้ำปาย แม่น้ำลาว แม่น้ำน่าน แม่น้ำยม แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก ลำน้ำก่ำ และแม่น้ำตราด
2. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 17 –.24 ส.ค. 67 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำ แม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราว ในพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
4. การบริหารจัดการน้ำ : เมื่อวันที่ 16 ส.ค.67 นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ตรวจราชการ การดำเนินงานตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช โดยติดตามแผนการดำเนินการรวมถึงแผนการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ ประจำพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย พื้นที่เศรษฐกิจสำคัญใน จ.นครศรีธรรมราช ให้มีความพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง ได้มีเสนอแนะให้จัดทำแผนการติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ ให้ประชาชนรับทราบและสามารถเข้าถึงข้อมูลการติดตามสถานการณ์น้ำได้อย่างใกล้ชิด และได้มอบหมายให้ สทนช. กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง บูรณาการเครื่องจักร เครื่องมือ ในการแก้ไขปัญหาผักตบชวาในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ให้แล้วเสร็จก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูฝน
5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 17 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.แม่สาย ขุนตาล ป่าแดด และพญาเม็งราย) จ.แม่ฮ่องสอน (อ. เมือง และขุนยวม) จ.น่าน (อ.ทุ่งช้าง) จ.เชียงใหม่ (อ.แม่อาย และเวียงแหง) จ.ระยอง (อ.เมือง) จ.ชลบุรี (อ.บางละมุง) และ จ.ภูเก็ต (อ.ถลาง และกะทู้)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 17 ส.ค. 67