ครม.อนุมัติร่าง พ.ร.บ.เวนคืน 4 ฉบับ ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
ครม. มีมติอนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน จำนวน 4 ฉบับ
วันที่ 6 ส.ค.67 นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า มีมติอนุมัติหลักการตามที่ กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
- ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง – บางแค ในท้องที่เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ….
- ร่างพระราชบัญญัติกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง – บางแค ในท้องที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ….
- ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ….
- ร่างพระราชบัญญัติกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางชื่อ – ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด และเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. …..
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ รวม 4 ฉบับ สรุปได้ดังนี้
- ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง – บางแค ในท้องที่เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร พ.ศ. …. มีสาระสำคัญเป็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง – บางแค ในท้องที่เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร โดยให้ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ และให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนภายในระยะเวลา 4 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
- ร่างพระราชบัญญัติกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง – บางแค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. … มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง – บางแค ในท้องที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ภาระในอสังหาริมทรัพย์มีการแสดงสิทธิในที่ดินให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายต้องยอมรับภาระว่าไม่สามารถใช้สอยอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ตามปกติ แต่ไม่ได้สร้างภาระจนถึงขนาดที่ รฟม. จะต้องดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น
- ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. … มีสาระสำคัญเป็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางชื่อ – ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยให้ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ และให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ภายในระยะเวลา 4 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
- ร่างพระราชบัญญัติกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางชื่อ – ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด และเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. … มีสาระสำคัญเป็นกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด และเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ภาระในอสังหาริมทรัพย์มีการแสดงสิทธิในที่ดินให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายต้องยอมรับภาระว่าไม่สามารถใช้สอยอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ ตามปกติแต่ไม่ได้สร้างภาระจนถึงขนาด ที่ รฟม. จะต้องดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น
โดยร่างพระราชบัญญัติรวม 4 ฉบับ สืบเนื่องจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการจัดการกรรมสิทธ์ที่ดินในโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ แบ่งออกเป็น 2 กรณี
(1) กรณีเวนคืนเป็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง – บางแค ในท้องที่เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยให้ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ และให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนภายในระยะเวลา 4 ปี ทั้งนี้ แม้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ส่งมอบที่ดินที่ถูกเขตทางทั้งหมดในโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล เพื่อใช้ในการก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว แต่มีเจ้าของที่ดินช่วงหัวลำโพง – บางแคฯ จำนวน 23 แปลง (จาก 374 แปลง) และช่วงบางชื่อ – ท่าพระฯ จำนวน 24 แปลง (จาก 298 แปลง) ไม่ตกลงซื้อขายการรถไฟฟ้ามวลชนแห่งประเทศไทย จึงวางเงินทดแทนให้กับเจ้าของที่ดินดังกล่าวแต่กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ยังเป็นของเจ้าของที่ดิน โดยจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฟ้ามวลชนแห่งประเทศไทยก็ต่อเมื่อได้มีการตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และพระราชบัญญัติมีผลใช้บังคับ การรถไฟฟ้ามวลชนแห่งประเทศไทย จึงมีความจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 รวม 2 ฉบับ เพื่อให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของการรถไฟฟ้ามวลชนแห่งประเทศไทยโดยเร็วต่อไป
(2) กรณีกำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้ภาระในอสังหาริมทรัพย์มีการแสดงสิทธิ์ในที่ดินให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายต้องยอมรับภาระว่าไม่สามารถใช้สอยอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ตามปกติแต่ไม่ได้สร้างภาระจนถึงขนาดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยจะต้องดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น เช่น ทางวิ่งรถไฟฟ้าในอุโมงค์ (ใต้ดิน) ทางวิ่งของรถไฟฟ้าพาดผ่านบริเวณเหนือที่ดิน เป็นต้น ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยยังไม่ได้จดทะเบียนกำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์ ในโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง – บางแค ในท้องที่เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร และช่วงบางชื่อ – ท่าพระ ในท้องที่เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกกำหนดลักษณะภาระนั้นจะตกอยู่ภายใต้ภาระอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ แม้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้วางเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินดังกล่าว แต่เจ้าของที่ดินไม่มาตกลงทำสัญญากำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์ ช่วงหัวลำโพง – บางแคฯ จำนวน 114 แปลง (จาก 329 แปลง) และช่วงบางชื่อ – ท่าพระฯ จำนวน 37 แปลง (จาก 170 แปลง) ดังนั้น เพื่อให้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกกำหนดลักษณะภาระนั้นจะตกอยู่ภายใต้ภาระอสังหาริมทรัพย์ก็ต่อเมื่อได้มีตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชนและพระราชบัญญัติมีผลใช้บังคับ การรถไฟฟ้ามวลชนแห่งประเทศไทย จึงมีความจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 รวม 2 ฉบับ เพื่อกำหนดภาระอสังหาริมทรัพย์ให้อยู่ภายใต้ภาระอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชนในการดำเนินกิจการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่เสนอในครั้งนี้เป็นการดำเนินการตามมาตรา 28 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนและการได้มาอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 มาตรา 35 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 และมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ควรให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเร่งเจรจากับเจ้าของที่ดินได้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการรถไฟฟ้าดังกล่าว ให้ได้ยุติภายในกรอบระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวต่อไป