สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 13 พ.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และสภาพอากาศวันนี้ : ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ คาดว่าวันนี้จะมีปริมาณฝนตกปานกลางถึงหนัก บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลาง และภาคตะวันออก
คาดการณ์ : วันที่ 14 – 15 พ.ค. 67 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับภาคใต้ ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง
สรุปสถานการณ์น้ำ
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 52% ของความจุเก็บกัก (42,188 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 31% (18,032 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 5 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จุฬาภรณ์ ภาคกลาง : กระเสียว ภาคตะวันออก: คลองสียัด ภาคตะวันตก: ศรีนครินทร์
3.คุณภาพน้ำ : คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล เกินเกณฑ์มาตรฐาน (ค่าความเค็ม 0.17–1.06 กรัม/ลิตร) น้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา เกินเกณฑ์มาตรฐาน (ค่าความเค็ม 0.61–3.29 กรัม/ลิตร)
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
ทั้งนี้ สทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริหารจัดการทรัพยากรน้ำส่งผลให้ไม่มีผลกระทบต่อการใช้น้ำด้านอุปโภค – บริโภค และการเกษตร
4.แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : การประปาส่วนภูมิภาค เร่งเดินหน้าโครงการสร้างความมั่นคงด้านน้ำอุปโภค-บริโภค สำหรับเมืองท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน จากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น ประกอบกับการขยายตัวในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและโครงการที่อยู่อาศัยที่มีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมีปริมาณสูงขึ้น จึงได้เร่งแก้ปัญหาภัยแล้งและเตรียมพร้อมน้ำดิบเพื่อรองรับการผลิตน้ำประปาให้บริการประชาชนในอนาคต เป็น 3 ระยะ ได้แก่
4.1 ระยะเร่งด่วน สำหรับช่วงฤดูแล้ง ปี 2567 ซื้อน้ำดิบจากขุมน้ำเอกชนในพื้นที่ พร้อมทั้งดำเนินการเช่าระบบผลิตแบบเคลื่อนที่
4.2 ระยะกลาง ดำเนินโครงการปรับปรุงขยาย กปภ.สาขาพังงา-ภูเก็ต
4.3 ระยะยาว จะดำเนินโครงการผลิตน้ำประปาโดยใช้น้ำดิบจากเขื่อนรัชชประภา ส่งไป จ.ภูเก็ต พังงา และกระบี่ รวมทั้ง กปภ.จะบูรณาการความร่วมมือ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีปริมาณน้ำดิบเพียงพอต่อการผลิตน้ำประปา สามารถรองรับความต้องการใช้น้ำที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต อย่างเพียงพอและยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 12 พ.ค. 67