สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 7 เม.ย. 67
1. สภาพอากาศวันนี้ : ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ และลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
คาดการณ์ : วันที่ 8 – 11 เม.ย. 67 ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามา ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในระยะแรก ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก ฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 58% ของความจุเก็บกัก (47,648 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 40% (23,455 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่งภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จุฬาภรณ์ ภาคตะวันออก: คลองสียัด ภาคกลาง : กระเสียว (ต้องเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง)
3. คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา เกินเกณฑ์มาตรฐาน (ค่าความเค็ม 2.28 กรัม/ลิตร)
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. สทนช. ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์ความเสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคและปัญหาคุณภาพน้ำ ในฤดูแล้งปี 2567 ในพื้นที่ จ.บึงกาฬ เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 67 สทนช. ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์ความเสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และปัญหาคุณภาพน้ำในฤดูแล้งปี 2567 ในพื้นที่ ต.บ้านต้อง และ ต.โสกก่าม อ.เซกา จ.บึงกาฬ พบสภาพปัญหาน้ำเค็ม แหล่งน้ำมีความตื้นเขิน และมีพื้นที่ที่มีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง โดยได้มีแนวทางแก้ไขปัญหาทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว เช่น ขุดบ่อบาดาลเพิ่มเติม ขุดลอกเพิ่มความจุ จัดหาระบบประปา พัฒนาระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ อ.เซกา จ.บึงกาฬ สทนช. ได้ประสานแจ้งให้หน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่เตรียมความพร้อมเสนอขอแผนงานโครงการในระบบ Thai Water Plan เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับประชาชนต่อไป