สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 8 มี.ค. 67
1. สภาพอากาศวันนี้ : ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อน ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศร้อนจัดกับมีฟ้าหลัว ในตอนกลางวัน ในขณะที่มวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น
คาดการณ์ : ในช่วงวันที่ 9 – 12 มี.ค. 67 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 63% ของความจุเก็บกัก (52,171 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 48% (27,965 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่งภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จุฬาภรณ์ ภาคตะวันออก: คลองสียัด ภาคกลาง : กระเสียว (ต้องเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง)
3.คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. สรุปประชุมสถานการณ์น้ำ : สภาวะเอลนีโญมีแนวโน้มเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงฤดูฝนนี้ ส่งผลให้มีปริมาณฝนค่อนข้างมาก ซึ่งขณะนี้ สทนช. ได้เตรียมพร้อม (ร่าง) มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 และจะเสนอต่อคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ในวันที่ 27 มี.ค. 67 สำหรับสถานการณ์แหล่งน้ำทั่วประเทศ สทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมการจัดสรรน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยาอย่างใกล้ชิด ในส่วนของสถานการณ์ลุ่มน้ำแม่กลอง ขณะนี้มีผลการจัดสรรน้ำใกล้เคียงกับแผนที่วางไว้และมีปริมาณน้ำเพียงพอ สำหรับสถานการณ์ความเค็มในแม่น้ำสายหลัก สามารถควบคุมค่าความเค็มได้ตามแผนที่วางไว้ แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเค็มรุกล้ำในช่วงวันที่ 7 – 13 มี.ค. 67