สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 2 พ.ย. 66
สภาพอากาศวันนี้ : ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นแผ่ลงมา ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
คาดการณ์: ในช่วง 2–5 พ.ย. 66 ความกดอากาศสูงหรือมวล อากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง
ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 31 ต.ค. 66 น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 5,153 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้
ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 63,213 ล้าน ลบ.ม. (77%) ปริมาณน้ำใช้การ 39,045 ล้าน ลบ.ม. (67%)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่
เฝ้าระวังน้ำมาก 10 แห่ง ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม กิ่วคอหมา แม่มอก และบึงบอระเพ็ด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : หนองหาร อุบลรัตน์ และลำปาว ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์
ขอให้หน่วยงานพิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อน และคำนึงถึงการเก็บกักน้ำสำหรับฤดูแล้งนี้ด้วย
เฝ้าระวังน้ำน้อย 3 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ และทับเสลา ภาคตะวันออก : คลองสียัด
โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ 1. วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด 2. ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและ
ขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และ 3) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่+ น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในช่วง 1-3 วัน บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ตาก และกำแพงเพชร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา ภาคใต้ จ.สงขลา และนราธิวาส
น้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
สถานการณ์อุทกภัย
ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 จังหวัด (กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี) รวม 12 อำเภอ 62 ตำบล 107 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 395 ครัวเรือน ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
รองนายกรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ได้หารือความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกับนายสาโรจ คุมาร์ จาร์ ผู้อำนวยการใหญ่ด้านภารกิจทรัพยากรน้ำของธนาคารโลก และนายฟาบริซิโอ ซาร์โคเน ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย พร้อมคณะ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ซึ่งธนาคารโลกจะได้ศึกษาประเด็น เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพิ่มเติม ทั้งเรื่องน้ำแล้งน้ำท่วม น้ำเค็มรุกล้ำ การกัดเซาะตลิ่ง –ชายฝั่ง โดยได้หารือร่วมกันในประเด็น ความร่วมมือที่สำคัญ ดังนี้
การบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำโขง เพื่อศึกษาเพิ่มเติมและแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและน้ำแล้งในแม่น้ำโขงเป็นปัญหา ที่เกี่ยวข้องกับหลายประเทศ และกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
การก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาและสะพานเชื่อม เกาะลันตา ร่วมกันดำเนินการ การพัฒนาและการก่อสร้าง ต้องคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้วย โดยเฉพาะผลกระทบต่อโลมาอิรวดี
การบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แผนบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างที่ธนาคารโลกและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายจากอุทกภัย ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การป้องกันการรุกตัวของน้ำทะเลและการกัดเซาะชายฝั่ง ขอให้ธนาคารโลกประสานกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และกรมเจ้าท่าเพื่อหารือในรายละเอียดเพิ่มเติมถึงแนวทางในการป้องกันการรุกตัวของ น้ำทะเลและการกัดเซาะชายฝั่ง
กรมชลประทาน ดำเนินการนำเรือนวัตกรรมเข้าปฏิบัติการจัดเก็บวัชพืช และสิ่งกีดขวางทางน้ำบริเวณคลองญี่ปุ่นใต้ ตำบลนิลเพชร อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ