สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 31 ต.ค. 66
สภาพอากาศวันนี้ : ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์: ในช่วง 31 ต.ค.-1 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นฝนจะลดลง ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 30 ต.ค. 66 น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 5,346 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้
ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 63,050 ล้าน ลบ.ม. (77%) ปริมาณน้ำใช้การ 38,883 ล้าน ลบ.ม. (67%)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่
เฝ้าระวังน้ำมาก 10 แห่ง ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม กิ่วคอหมา แม่มอก และบึงบอระเพ็ด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : หนองหาร อุบลรัตน์ และลำปาว ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์
ขอให้หน่วยงานพิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อน และคำนึงถึงการเก็บกักน้ำสำหรับฤดูแล้งนี้ด้วย
เฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ และทับเสลา ภาคตะวันออก : คลองสียัด ภาคตะวันตก : ปราณบุรี
โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ 1. วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด 2. ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและ
ขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และ 3) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่+ น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในช่วง 1-3 วัน บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ตาก และเพชรบูรณ์ ภาคกลาง จ.อุทัยธานี ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ภาคใต้ จ.นราธิวาส
น้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
สถานการณ์อุทกภัย
ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 จังหวัด (กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี) รวม 12 อำเภอ 62 ตำบล 111 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 449 ครัวเรือน ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
วานนี้ (30 ต.ค. 2566) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมเวทีให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจ โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี สปป.ลาว โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน ภาคประชาชน เข้าร่วมประชุม ณ โรงแรมเชียงคาน ริเวอร์เมาท์เทน รีสอร์ท จังหวัดเลย และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
โดยที่ประชุมได้นำเสนอผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี สปป.ลาว ประกอบด้วย
1. ผลการดำเนินงานตามกระบวนการ PNPCA โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี โดย นายธีรวัฒน์ สัมภวมานะ ผู้อำนวยการกองแผนงาน (MRCS)
2. รายงานโครงการนำร่องการติดตามเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อม (JEM) โดย ดร. ปิณิดา ลีลพนัง กำแพงทอง หัวหน้าด้านวิชาการ กองจัดการสิ่งแวดล้อม (MRCS)
3. ท่านลำพอน ดีมะนีวง หัวหน้าแผนกบริหารจัดการน้ำ กรมนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ สปป.ลาว นำเสนอภาพรวมของการดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี ได้แก่ โครงสร้างทางวิศวกรรม (ทางระบายน้ำล้น โรงไฟฟ้า ทางเรือผ่าน ทางผ่านปลา) ระเบียบการปฏิบัติงาน การบำรุงรักษาและการแจ้งเตือน และผลการดำเนินการของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี เรื่อง เส้นทางปลาผ่าน และการติดตามการอพยพของปลา รวมทั้งนำเสนอผลการดำเนินการของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ
เขื่อนไซยะบุรี เรื่อง ระบบติดตามข้อมูลด้านอุทกวิทยา การติดตามการเคลื่อนตัวของตะกอนและการสำรวจท้องน้ำ พร้อมเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่บ้านศิลาเลข หมู่ที่ 6 ตำบลโพนสา อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เพื่อเร่งซ่อมแซมระบบประปาบาดาล ซ่อมเปลี่ยนเครื่องสูบน้ำ ตู้ควบคุม ท่อเมน พร้อมทั้งแนะนำวิธีการบำรุงรักษาให้กับผู้ดูแลระบบ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีน้ำใช้อย่างทั่วถึง