สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 ก.ย. 66
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนล่างมีฝนฟ้าคะนอง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนล่างมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ กรุงเทพมหานคร (154) จ.กระบี่ (144) จ.อุตรดิตถ์ (117) จ.จันทบุรี (109) จ.ราชบุรี (84) และ จ.อุบลราชธานี (69)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 50,390 ล้าน ลบ.ม. (61%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 45,112 ล้าน ลบ.ม. (63%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงวันที่ 22-26 ก.ย. 66 คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ จ.นครสวรรค์ (C.2) 900–1,200 ลบ.ม./วินาที และมีน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังไหลมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยา 90-120 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเจ้าพระยา 990–1,320 ลบ.ม./วินาที ดังนั้น จึงมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้นอยู่ในเกณฑ์ 700–1,000 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด อ.ผักไห่ ต.ท่าดินแดง จ.พระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.60–0.80 ม.
สทนช. ลงพื้นที่นครศรีธรรมราชติดตามการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 66 นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อติดตามการบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคใต้ และความก้าวหน้าผลการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน โดยพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน มีพื้นที่ประมาณ 29,600 ตร.กม. มักประสบปัญหาด้านอุทกภัยเป็นประจำเนื่องจากปริมาณฝนตกหนักในพื้นที่ รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุนสูงในบางครั้ง สาเหตุจากการไหลของน้ำที่ผ่านเส้นทางน้ำหลากถูกเปลี่ยนทิศทางหรือมีสิ่งกีดขวางจากการก่อสร้างต่าง ๆ เป็นผลมาจากการขยายตัวของชุมชนและการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสม ขาดการควบคุม และไม่คำนึงถึงทางระบายน้ำตามธรรมชาติ ทำให้มีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในเกณฑ์สูงประมาณ 1,440 ตร.กม. โดยพื้นที่ที่มักประสบภัยน้ำท่วมเป็นประจำ ได้แก่ บริเวณ อ.ขนอม อ.ท่าศาลา อ.เมืองนครศรีธรรมราช อ.เชียรใหญ่ อ.ปากพนัง อ.หัวไทร อ.เฉลิมพระเกียรติ และ อ.พระพรหม
นอกจากนี้ สทนช. ได้ติดตามความก้าวหน้าโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 6 ตำบล ของ 2 อำเภอ ได้แก่ ต.ไชยมนตรี ต.ท่าเรือ ต.บางจาก อ.เมืองนครศรีธรรมราช และ ต.นาสาร ต.ช้างซ้าย ต.นาพรุ อ.พระพรหม โดยลักษณะของโครงการฯ เป็นการก่อสร้างคลองผันน้ำที่ไหลมาจากเขาหลวงก่อนเข้าสู่ตัวเมืองไปลงทะเล เป็นการดำเนินการงานขุดคลองระบายน้ำสายใหม่ 3 สาย ความยาวรวม 18.64 กม.งานปรับปรุงคลองวังวัว ความยาว 590 ม. และงานปรับปรุงคลองหัวตรุด ความยาว 1,190 ม. นอกจากนี้ จะดำเนินการงานก่อสร้างประตูระบายน้ำ เพื่อควบคุมปริมาณน้ำอีก 7 แห่ง เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะมีพื้นที่รับประโยชน์สองฝั่งคลอง 17,400 ไร่ สามารถบรรเทาอุทกภัยในเขตเมืองนครศรีธรรมราช ช่วยลดพื้นที่น้ำท่วมครอบคลุมพื้นที่ 12 ตำบล ประชาชนได้รับประโยชน์ 32,200 ครัวเรือน รวมทั้งเป็นแหล่งกักเก็บน้ำต้นทุนไว้ใช้ในการอุปโภค-บริโภคและการเกษตรในฤดูแล้งได้5.50 ล้าน ลบ.ม.
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 22 กันยายน 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 19/2566 ลงวันที่ 20 กันยายน 2566 แจ้งเฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงวันที่ 22 – 26 กันยายน 2566 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามสถานการณ์น้ำ พบว่ามีฝนตกหนักและตกสะสมในภาคเหนือ และภาคกลาง คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) อยู่ในเกณฑ์ 900 – 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมีน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังและลำน้ำสาขาไหลมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณ 90 – 120 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเจ้าพระยา อยู่ในเกณฑ์ 990 – 1,320 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ดังนั้นจึงมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น อยู่ในเกณฑ์ 700 – 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.60 – 0.80 เมตร
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมชลประทาน ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง ติดตั้งบริเวณบ้านนาแบก ตำบลเวียงคำอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอันเกิดจากปริมาณน้ำที่ท่วมขังเนื่องจากสถานการณ์ฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อติดตามการบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคใต้และความก้าวหน้าผลการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน รวมทั้งโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยรองเลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า พื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน มักประสบ ปัญหาด้านอุทกภัยเป็นประจำเนื่องจากปริมาณฝนตกหนักในพื้นที่ รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุนสูงในบางครั้ง สาเหตุจากการไหลของน้ำที่ผ่านเส้นทางน้ำหลากถูกเปลี่ยนทิศทางหรือมีสิ่งกีดขวางจากการก่อสร้างต่าง ๆ เป็นผลมาจากการขยายตัวของชุมชนและการใช้ป ระโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสม ขาดการควบคุมและไม่คำนึงถึงทางระบายน้ำตามธรรมซาติ ทำให้มีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในเกณฑ์สูง สทนช. ได้เดินหน้าขับเคลื่อนการจัดทำผังน้ำให้ครบ 22 ลุ่มน้ำครอบคลุมทั่วประเทศ ปัจจุบัน ดำเนินการไปแล้ว 8 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำแม่กลองลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำซี ลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำสะแกกรัง ลุ่มน้ำปาสัก ลุ่มน้ำท่าจีน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และอยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาจัดทำผังน้ำ 14 ลุ่มน้ำ ซึ่งผังน้ำจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสนับสนุนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วมและภาวะน้ำแล้ง เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการพิจารณาความเหมาะสมการพัฒนาที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรมสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมทั้งการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน กำหนดพื้นที่ซึ่งควรสงวนไว้ให้เป็นทางน้ำหลากเพื่อไม่ให้เกิดการกีดขวางการไหลของน้ำ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สำหรับผลการดำเนินงานการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก อยู่ระหว่างการแก้ไขรายงานฉบับสุดท้าย เพื่อเตรียมนำเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(กนช.) ให้ความเห็นชอบ และประกาศใช้ต่อไป